ทุกวันที่ 19 พฤศจิกายน ของทุกปี สหประชาชาติ (UN) ได้บัญญัติให้เป็น “วันส้วมโลก” ซึ่งสาเหตุที่บัญญัติเป็นวันนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า ปัจจุบันผู้คนมากกว่า 4 พันล้านคนบนโลกไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงสุขาภิบาลที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด และปลอดภัย เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้บัญญัติวันนี้ขึ้นเพื่อที่เป็นกระบอกเสียง และร่วมแก้ไขพัฒนาชีวิตของทุกคนบนโลกให้ดีขึ้น
เนื่องในโอกาสนี้ #ลัดเลาะรอบโลก เลยขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับ “ส้วม” หรือ “ห้องน้ำ” จากหลากหลายมุมโลกมาเล่าว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพราะว่าอย่างที่ทราบกันว่าในทุก ๆ ประเทศนั้นมีวัฒนธรรม หรือแนวคิดที่แตกต่างกันในเรื่องของห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาด กระดาษชำระ หรือการมีน้ำในห้องน้ำ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะรับมือกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง ห้องน้ำถูกสร้างขึ้นโดยผู้คนเพื่อสนองความต้องการของพวกเขา รวมไปถึงแล้วแต่ด้วยว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน ทั้งรูปร่างและรูปแบบการใช้งานของห้องน้ำก็จะแตกต่างกันไปทั่วโลกเช่นเดียวกัน จะมีความแตกต่างกันอย่างไร ตามไปดูกันเลย!
ห้องน้ำในแถบยุโรป
ห้องน้ำในแถบยุโรปนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายกับอเมริกา หรือเรียกว่า ตะวันตกสไตล์ ห้องน้ำของยุโรปจะมีสิ่งที่ถูกติดตั้ง ซึ่งนั่นก็คือ “ชักโครก” ในยุคปัจจุบันสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติของห้องน้ำในบ้านของยุโรป ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ อิตาลี, ฝรั่งเศส, สเปน และโปรตุเกส
ห้องน้ำในอเมริกาใต้
ระบบของห้องน้ำในอเมริกาใต้ หรือละตินอเมริกานั้น ไม่อนุญาตให้ทิ้งกระดาษชำระลงโถส้วม เพราะระบบน้ำประปาในเมืองเหล่านี้ไม่สามารถที่จะจัดการกระดาษชำระได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีถังขยะอยู่ข้าง ๆ โถส้วมเพื่อที่จะทิ้งกระดาษชำระนั่นเอง
ห้องน้ำในแอฟริกา
ในทางตอนเหนือของแอฟริกา ห้องน้ำจะเป็นแบบตะวันตก ก็คือเป็นโถส้วมในลักษณะนั่ง แต่ในอีกด้านหนึ่ง ในประเทศแอฟริกันนั้น เป็นส้วมที่มีลักษณะต้องนั่งยอง ๆ เวลาใช้ (สคอวชนั่นเอง) และในอีกหลาย ๆ พื้นที่ ก็ไม่มีสุขาภิบาลแบบปิดใช้ ต้องออกไปทำธุระส่วนตัวกลางแจ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุของประเด็นเรื่องสุขาภิบาลมากมาย
ห้องน้ำในญี่ปุ่น
ห้องน้ำในประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 แบบ ก็คือแบบดั้งเดิม นั้นก็คือการนั่งยอง ๆ ในการเข้าห้องน้ำ และอีกแบบก็คือแบบสมัยใหม่ที่มีโถส้วม ส้วมแบบเก่านั้นถูกใช้ในสถานอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนแบบโถส้วมนั้น ก็จะรู้จักกันในนามของ washlet ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แต่เป็นชื่อของบริษัทที่ผลิตสุขภัณฑ์ และถูกใช้อย่างแพร่หลาย เหมือนที่เราเรียกยี่ห้อของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือผงซักฟอกแทนสิ่งเล่านั้นนั่นเอง และสำหรับ washlet ของญี่ปุ่นนั้นก็ขึ้นชื่อเรื่องความสบาย ไม่ว่าจะเป็นระบบน้ำอัตโนมัติ ที่นั่งที่อุ่น หรือการกำจัดกลิ่นก็ตาม
ห้องน้ำในจีน
น่าจะเป็นสถานที่ที่ทุกคนได้รับเสียงลือเสียงเล่าอ้างมาบ่อยมากที่สุด หลาย ๆ คนคงจะจินตนาการว่าห้องน้ำในประเทศจีนเป็นอะไรที่น่าสยดสยอง แต่ทุกวันนี้ห้องน้ำดีขึ้นแล้ว ไม่ใช่ต้องทำธุระในหลุมอย่างแน่นอน และแม้ว่าส้วมแบบนั่งยองจะเป็นสัดส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่มันก็เข้ากับความจำเป็นของมนุษย์แล้ว แต่ตอนนี้ในเมืองใหญ่ ๆ ก็เป็นโถส้วมแบบตะวันตกหมดแล้ว โดยเฉพาะในภัตตาคาร และห้างสรรพสินค้า
ในขณะที่โลกมีวัฒนธรรมของห้องน้ำที่แตกต่างออกไปมากมาย ด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลายที่ถูกใช้สร้างนวัตกรรมของส้วมได้อย่างมากมายและแสนล้ำ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจ เป้าหมาย และความต้องการ แต่ตอนนี้ก็ยังมีคนมากกว่าล้านคนที่ยังขับถ่ายบนถนนอยู่ทั้ง ๆ ที่นวัตกรรมของส้วมนั้นถูกพัฒนาไปไกลแล้ว นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำไมต้องมีวันส้วมโลก ก็เพื่อที่จะตระหนักถึงความเข้าไม่ถึงสุขาภิบาลที่ดีของคนบางกลุ่มบนโลกนั่นเอง
ความเห็น 41
PRASIT
ดาวอังคารมีสุขาใหม
14 ก.ย 2565 เวลา 06.10 น.
Poj Kt
สายชำระมีที่ไทย ประเทศอื่นไม่มี
22 ส.ค. 2565 เวลา 02.36 น.
ห้องน้ำห้องส้วมของยุโรป-อเมริกาจะแยกต่างหากในเอเชียจะอยู่ห้องเดียวกันในแอฟริกาแย่ที่สุดในเรื่องสุขลักษณะ
19 ส.ค. 2565 เวลา 12.22 น.
ภัทร 35
ห้างบ้านเราต้องยกให้โฮมโปร นะ สี่ดาวครึ่งเลย อาจจะเป็นเพราะคนเข้าห้างน้อย ห้างสรรพสินค้าบ้านเราเมื่อไหร่จะพัฒนาเครื่องเป่ามือแบบลมแรงๆเหมือนเมืองนอกซักที นี่แทบจะไม่รู้สึก
18 มิ.ย. 2565 เวลา 13.53 น.
:))
เดินหลังตึกในยุโรป จมูกโล่ง
ปั้มในเมกา ห้องมีนิดเดียว
มาเล ส้วมมีท่อต่อไปเมืองบาดาลมั้ง...โทสับตกไปคงไม่ต้องล้วง
อินโด...ต้องเปิดคู่มือในเนตก่อน เอาท่าไหนดี55
ไทย...หลายรูปแบบแล้วแต่โชค
09 มิ.ย. 2565 เวลา 13.36 น.
ดูทั้งหมด