วันเสาร์ที่ผ่านมาเพิ่งมี “แฟลชม็อบ” ที่บริเวณสกายวอล์ก ปทุมวัน นำโดยนายธนาธร จุ้งรุ่งเรืองกิจ เอ้ย! จึงรุ่งเรืองกิจ แห่งพรรคอนาคตใหม่ ที่เชิญชวนคนไทยออกมารวมตัวกัน แม้แฟลชม็อบของธนาธรจะเกิดขึ้นละจบลงในเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็เรียกได้ว่าสามารถเขย่าสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังร้อนระอุให้ยิ่งเดือดดาล
แต่แฟลชม็อบคืออะไร แล้วคนไทย (ที่ไม่ได้ไป) ต้องกังวลไหม? เรามาย้อนรอยประวัติศาสตร์แฟลชม็อบให้หายสงสัยกันดีกว่า
แฟลชม็อบ (คำนาม) หรือ Flash Mob (n.) แปลว่า กลุ่มคนที่นัดหมายมารวมตัวกันในพื้นที่สาธารณะเพื่อแสดงออกบางอย่าง ก่อนแยกย้ายกันไปในเวลาสั้น ๆ
แฟลชม็อบครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นในปี 2003 ที่ห้าง Macy’s ในนิวยอร์กซิตี้ วันนั้นกลุ่มคนประมาณ 130 คนมารวมตัวกันที่ชั้น 9 ของห้างซึ่งเป็นแผนกพรม เมื่อคนขายเห็นกลุ่มมนุษย์น่าสงสัยจำนวนมากจึงเข้าไปสอบถามและได้คำตอบว่าพวกเขากำลังเลือกซื้อพรมแห่งรัก (Love Rug) ก่อนแยกย้ายกันไปและปล่อยให้พนักงานขายยืนงงอยู่อย่างนั้น
ต้นคิด “แฟลชม็อบ” คือบิลล์ เวสิค (Bill Wasik) บ.ก.อาวุโสของนิตยสาร Harper’s Magazine ที่เคยนัดแนะแฟลชม็อบมาแล้วครั้งนึง แต่พังเพราะตำรวจมาสลายการชุมนุมเสียก่อน แฟลชม็อบครั้งที่ 2 ของบิลล์ที่ห้าง Macy’s จึงถือเป็นต้นกำเนิดแฟลชม็อบอย่างเป็นทางการ และจุดประกายการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนทำนองนี้ ซึ่งบิลล์ให้เหตุผลว่าทำไปเพื่อให้เกิดปรากฎการณ์ทางอินเทอร์เน็ตสนุก ๆ เท่านั้นเอง
แฟลชม็อบเจ๋ง ๆ ที่เราถูกใจ
1
2
3
การรวมตัวกันทำแฟลชม็อบไม่ใช่เรื่องผิด แต่ในบางประเทศก็มีการออกกฎหมายเคร่งครัด เช่น ที่เมืองบรันสวิก เยอรมนี ต้องได้รับอนุญาตใช้สถานที่ชุมนุมก่อนถึงจะจัดแฟลชม็อบได้ หรือที่อังกฤษ ที่ทางการสั่งห้ามเพราะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย จึงขอความร่วมมือไม่ให้รวมตัวกันบริเวณสถานีรถไฟ
แม้ดั้งเดิมแฟลชม็อบจะไม่มีความข้องเกี่ยวกับการเมือง
แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน ผู้คนเริ่มนำแฟลชม็อบมาเป็นเชื้อเพลิงทางการเมืองมากขึ้น ด้วยสเกลที่เล็กกว่าการชุมนุมใหญ่ บรรยากาศที่ดูไม่ตึงเครียดเท่า และระยะเวลาที่รับประกันได้ว่าสั้นกว่าแน่นอน
ซึ่งล่าสุดแม้กระทั่งการประท้วงที่ฮ่องกง ก็ยังปรับรูปแบบมาเป็นเชิงแฟลชม็อบ ที่เน้นการกระจายตัวของผู้ประท้วง เป็นไปในแบบที่กลุ่มเล็กลง เกิดขึ้นหลายที่ในเวลาเดียวกัน และแยกย้ายกันไวขึ้นเพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย ในขณะเดียวกันก็สร้างความรับรู้ (Awareness) ได้ในวงกว้าง
แฟลชม็อบที่สกายวอล์ก “ผิดกฎหมาย” ?
แม้แฟลชม็อบที่สกายวอล์กจะดำเนินไปด้วยความสงบ มีการเก็บขยะหลังชุมนุม และแยกย้ายกันภายในเวลา 1 ทุ่ม แต่แฟลชม็อบสกายวอล์กของพรรคอนาคตใหม่ก็ถูกเอาผิดจนได้ เนื่องจากอาจมีความผิด พ.ร.บ.ชุมนุมในที่สาธารณะ ๒๕๕๘ โดยไม่ได้ขออนุญาต อีกทั้งยังจัดชุมนุมใกล้เขตพระราชฐาน
น่าจับตามองว่าในอนาคต วิวัฒนาการการประท้วงในประเทศไทยจะดำเนินไปในทิศทางใด ในเมื่อแฟลชม็อบยัง “ผิดกฎหมาย” แล้วประชาชนไทยจะสามารถแสดงออกทางการเมืองอย่างไรได้บ้าง?
—
อ้างอิง :
ความเห็น 220
wiwat
BEST
ให้ตั้งชื่อเป็นเต้นลีลาศ
แต่การกระทำคือการชุมนุมทางการเมือง
มันก็คือการชุมนุมทางการเมือง
ให้ตั้งชื่อว่า วิ่งไล่ลุง
แต่การกระทำคือการชุมนุมทางการเมืองด้วยการเคลื่อนตัวไปบนถนน
มันก็คือการชุมนุมทางการเมืองบนถนน
ให้ชวนเพื่อนไปเล่นเกมส์ที่ห้อง แต่จริงๆแล้วไปเสพย์ยา
มันก็คือการเสพย์ยา
จริงมั๊ย!
18 ธ.ค. 2562 เวลา 22.23 น.
BEST
ทำทุกวิถีทางเพื่ออยากจะมีอำนาจ อยากเป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา ทำผิดไม่ยอมรับผิดตะแบงเอาข้อสอบงเข้าถู ยิ่งกว่าเศษขยะอีก สถุล ประชาธิปไตยกองขยะ
18 ธ.ค. 2562 เวลา 23.47 น.
pongpipat
BEST
แฟลชม๊อบก็คือ มาเร็วเคลมเร็ว แต่จ่ายตังช้า
19 ธ.ค. 2562 เวลา 00.00 น.
Prs
มันอยู่ที่จุดประสงค์ว่าทำการเพื่ออะไร เพื่อใคร...
19 ธ.ค. 2562 เวลา 00.56 น.
ParyBoeing
เอาชนะกันด้วยผลงานดีกว่า
สู้กันด้วยกึ๋น ดีกว่า ใช้ ม็อบ
บ้านเมืองไม่สงบ ต่างชาติไม่มาเที่ยว การลงทุนชะงัก
เสียหายมากกว่า
19 ธ.ค. 2562 เวลา 00.27 น.
ดูทั้งหมด