โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

LINE

รู้จักกับ Rapid Antigen Test ชุดตรวจโควิด ตรวจเร็ว รู้ไว รักษาได้ทัน!

LINE ประเทศไทย

เผยแพร่ 18 ก.ค. 2564 เวลา 20.03 น.

Highlight:

- Rapid Antigen Test คือ ชุดตรวจหาไวรัสที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างจากทางจมูกลึกไปถึงลำคอ หรือเก็บจากลำคอ หรือที่เรียกกันติดปากว่าการ Swab

- การตรวจหาเชื้อ COVID-19 ต้องใช้ชุดตรวจ Rapid Antigen Test (ชุดตรวจหาเชื้อ) ไม่ใช่ Rapid Antibody Test (ชุดตรวจหาภูมิคุ้มกัน)

- Rapid Antigen Test เป็นแค่การตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น

- หากตรวจด้วย Rapid Antigen Test แล้วผลออกมาเป็นบวก ต้องตรวจด้วยวิธี RT-PCR กับโรงพยาบาลอีกครั้งเพื่อยืนยันการติดเชื้อ และรับเข้ารักษาในลำดับต่อไป

Rapid Antigen Test คืออะไร? ใช้งานอย่างไร? แล้วถ้าหากตรวจเจอว่าติดเชื้อ COVID-19 แล้วต้องทำอย่างไรต่อ?

เชื่อว่าตอนนี้หลายคนคงมีคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวการใช้ Rapid Antigen Test กันอยู่ หลังจากที่ศูนย์บริการสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้อนุญาตให้ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit จำหน่วยแก่ประชาชนทั่วไปนอกเหนือจาการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ที่สถานพยาบาลใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยในการตรวจครอบคลุมมากที่สุด และสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็วที่สุดอีกด้วย

บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Rapid Antigen Test ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการใช้งานชุดตรวจได้อย่างถูกต้องและได้ผลการตรวจที่แม่นยำ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักกับ Rapid Antigen Test กันได้เลย

Rapid Test คืออะไร?

Rapid Test หรือ ชุดตรวจเร็ว คือ ชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกันอย่างง่ายและได้ผลรวดเร็วก่อนที่จะเข้ากระบวนการตรวจชนิดยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการ (RT-PCR) อีกครั้ง โดยการตรวจแต่ละครั้งของ Rapid Test จะใช้เวลาประมาณ 10-30 นาที

Rapid Test มีกี่ประเภท?

ข้อมูจจากกรมวิทยาศาตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า Rapid Test มีด้วยกัน 2 ประเภท ซึ่งมีการใช้งานและการแสดงผลที่ต่างกัน ดังนี้

Rapid Antigen Test (ชุดตรวจหาเชื้อ) คือ ชุดตรวจองค์ประกอบของไวรัสที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างจากทางจมูกลึกไปถึงลำคอ หรือเก็บจากลำคอ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าการ Swab

ข้อสังเกตRapid Antigen Test จะแสดงผลได้แม่นยำหากทำการตรวจในระยะแรกของการติดเชื้อ (วันแรกๆ ของการติดเชื้อ)

Antigen Test Kit คือ ชุดตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่จำหน่ายให้กับประชาชนเพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อโดยสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาที่มีเภสัชกรเท่านั้น

Rapid Antibody Test (ชุดตรวจหาภูมิคุ้มกัน) คือ ชุดตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมีต่อเชื้อ COVID-19 โดยการ “ตรวจเลือด” การตรวจด้วยชุดนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าเราติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่แสดงผลนั้นจะเกิดจากติดเชื้อแล้วหรือเกิดจากการฉีดวัคซีนก็ได้

ข้อสังเกต Rapid Antibody Test จะแสดงผลได้แม่นยำหากทำการตรวจหลังจากได้รับเชื้อมานานแล้ว (มากกว่า 1 สัปดาห์) หรือได้รับวัคซีนมาในระยะหนึ่ง ที่สำคัญ! ชุดตรวจ Rapid Antibody Test ทาง อย. ไม่อนุญาตให้จำหน่ายผ่านออนไลน์

อุปกรณ์ Antigen Test Kit 1 ชุดประกอบไปด้วย

1. ไม้พันสำลีสำหรับการ Swob

2. หลอดน้ำยา

3. ฝาหยดหลอด

4. ตลับทดสอบ Antigen

5. เอกสารกำกับการใช้งาน Antigen Test Kit

วิธีการใช้งาน Antigen Test Kit มีดังนี้

1. ใช้ไม้พันสำลีสอดเข้าไปในจมูกโดยพยายามให้ถึงโพรงหลังจมูก หากเก็บตัวอย่างจากคอให้ใช้ไม้พันสำลีสอดลึกจนถึงลำคอ แล้วหมุนวนอย่างน้อย 5 รอบ ทั้งนี้ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละชุดตรวจอย่างเคร่งครัด

2. จุ่มไม้พันสำลีลงในหลอดใส่น้ำยา หมุนและบีบอย่างน้อย 5 รอบ แล้วจึงนำไม้ออก ปิดฝาหลอดหยด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที

3. บีบหลอดน้ำยาลงตรงเครื่องตรวจให้ตรงจุดที่กำหนด

4. ปิดแผงตรวจให้เข้าที่ จากนั้นรอประมาณ 15 นาทีเพื่อให้ผลตรวจแสดงออกมา

วิธีอ่านผลตรวจ Antigen Test Kit

หากตรงตัวอักษร C ขึ้นขีดเดียว แปลว่า ผลตรวจเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ)

หากตรงตัวอักษร C และ T ขึ้น 2 ขีด แปลว่า ผลตรวจเป็นบวก (พบเชื้อ)

หากไม่มีขีดที่ตัว C และ T หรือปรากฎแค่ตรง T แปลว่า ตลับทดสอบเสียต้องทำการตรวจใหม่

ข้อแนะนำในการใช้ Antigen Test Kit (ATK) สำหรับตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยตนเอง

1. ชุดทดสอบถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ชุดทดสอบกำหนดก่อนนำมาใช้งาน

2. ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดทดสอบ

3. เตรียมพื้นที่สำหรับใช้ทดสอบให้สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน

4. อย่าเปิดหรือฉีกซองที่บรรจุตลับทดสอบ จนกว่าจะเริ่มทำการทดสอบ

5. อ่านผลตามเวลาที่ชุดทดสอบกำหนด (การอ่านผลเร็วหรือช้าเกินไปอาจเกิดความผิดพลาดได้)

6. ไม่นำอุปกรณ์หรือตลับทดสอบอันเดิมมาใช้ซ้ำ

7. นำชุดทดสอบที่ทดสอบแล้วพร้อมอุปกรณ์ของชุดทดสอบที่เหลือจากการใช้งานแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ และแยกใส่ถุงปิดให้มิดชิด และทิ้งให้เหมา

8. ล้างมือให้สะอาดภายหลังทำการทดสอบ

ข้อปฏิบัติหลังทราบผลตรวจว่าติดเชื้อ COVID-19

1. แจ้งหน่วยบริการใกล้บ้าน หรือโทรหาสายด่วน สปสช. 1330 ต่อ 14

2. แยกตัวออกจากคนใกล้ชิด แยกการใช้ห้อง ของใช้ส่วนตัว ไม่สัมผัสสัตว์เลี้ยง สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

3. วัดอุณหภูมิวันละ 2 ครั้ง สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการหายใจลำบากให้ติดต่อโรงพยาบาลทันที

4. หากไม่ติดเชื้อ แต่เป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ควรทดสอบอีกครั้งใน 3-5 วัน ระหว่างนั้นพยายามแยกห่างจากผู้อื่น และถ้ามีอาการของ COVID-19 ให้ทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง

วิธีทิ้งและทำลายชุดตรวจ

1. ควรใส่ถุงแยกจากขยะอื่นๆ

2. ปิดถุงขยะให้มิดชิด ไม่ให้ขยะหลุดรอดออกมาได้

3. ใส่ขยะในถุงสีแดง เพราะใช้สำหรับใส่ขยะติดเชื้อ หรืออาจแปะป้าย/ทำสัญลักษณ์ให้รู้ว่า ‘ระวัง! เป็นขยะทางการแพทย์’ โดยต้องทำให้สังเกตเห็นได้ชัดๆ

อ้างอิงข้อมูลจากกรมการแพทย์ สำหรับผู้ป่วย COVID-19 กลุ่มสีเขียว สามารถแยกกักตัวด้วยวิธี Home Isolation ได้ โดยจะได้รับการดูแลเหมือนกับอยู่โรงพยาบาล มีอุปกรณ์สำหรับรักษาเบื้องต้น และมีแพทย์วิดีโอคอล (Telemedicine) มาตลอดระยะเวลาการรักษา ศึกษาข้อปฏิบัติของ Home Isolation เพิ่มเติม คลิก

อ้างอิง:

กรมวิทย์ฯ แนะแนวทางการใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจการติดเชื้อโควิด 19 โดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0