โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คำสารภาพของ (อดีต) นักศึกษา “สลิ่ม” ในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

The Momentum

อัพเดต 27 ก.พ. 2563 เวลา 10.41 น. • เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 14.49 น. • THE MOMENTUM TEAM

หลังการชุมนุมของนักเรียน และศิษย์เก่าสตรีวิทยาที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา กลุ่มผู้ชุมนุมมีการเคลื่อนขบวนไปสมทบกับการชุมนุมของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ ซึ่งวันนี้มีการนัดรวมตัวเช่นเดียวกัน ภายใต้แฮชแท็ก #วังท่าพระไม่สายลมแสงแดด

ทางฝั่งมหาวิทยาลัยศิลปากรท่าพระ มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก พร้อมชูป้ายจำนวนหนึ่ง อาทิ Dance Against Dictatorship , ธีสิสก็ต้องทำ คนระยำก็ต้องไล่ , ซึ่งผู้นำกิจกรรมกล่าวว่าผู้ที่มาเข้าร่วมเกินกว่าที่คาดหมายไว้มาก โดยกลุ่มนักศึกษาที่ร่วมชุมนุมเสนอ #แก้รัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ

  •  ให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
  • ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
  • ให้ประชาชนลงประชามติ

หนึ่งในนักศึกษาที่ขึ้นปราศรัย กล่าวว่าในอดีตตนเองเคยเป็นสลิ่มมาก่อน ทั้งยังกล่าวว่า

“จุดเปลี่ยนการเป็นสลิ่มของผมคือ ตอนเด็กการเสพสื่อ เราเสพแค่ด้านเดียวมาตลอด เราชอบที่จะเสพอะไรที่เข้ากับอารมณ์ตัวเอง แต่จุดที่ทำให้ผมเปลี่ยนก็คือ ความจริง ที่ปรากฏกับสังคม การรัฐประหารมันไม่ได้ทำให้สังคมมันดีขึ้นอย่างที่พูด นี่คือจุดเปลี่ยน เราไม่อายที่จะพูดว่าเราเป็นสลิ่ม เพราะทุกคนเคยมีอดีตที่ผิดพลาดกันหมด ไม่ใช่ว่าตราบาปมันจะปั๊มตราบาปให้ติดตัวคุณจนวันตาย “

นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงกรณีการชุมนุมของนักเรียนสตรีวิทยาว่า “ผมรู้สึกดีใจมากๆ เพราะตอนที่เราเป็นเด็กมัธยมเราไม่ได้รู้สึกอะไรกับการเมืองมาก แต่พอมาตรงนี้เรารู้สึกว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไป เด็กมัธยมกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นกล้าที่จะแสดงความเห็นถึงความอยุติธรรม ในสังคม ผมรู้สึกว่านี่คือพลังที่ทรงพลังมากๆ”

ในขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งที่มาร่วมชุมนุมในครั้งนี้กล่าวถึงการออกมาเคลื่อนไหวของศิลปากรครั้งนี้ว่า

“รู้สึกดีใจมากๆ ที่ศิลปากรออกมาเคลื่อนไหว เพราะคนข้างนอกจะชอบมองว่า มหาวิทยาลัยศิลปะ คนที่เรียนศิลปะไม่ได้สนใจการเมือง ชีวิตเขามีแค่ศิลปะแต่จริงๆ แล้วศิลปะเชื่อมโยงกับคน เชื่อมโยงกับคุณค่าของคน “

“การเมืองเป็นเรื่องของทุกคนเป็นเรื่องที่อยู่กับเราตั้งแต่เกิดจนถึงโตอย่างเรื่องการศึกษา ระบบขนส่งสาธารณะ เรื่องต่างๆ รอบตัวเราอยู่แล้วค่ะ เราจะไม่สนใจไม่ได้ เราไม่ได้อินการเมืองเกินไปแต่ผู้ใหญ่ต่างหากที่เพิกเฉยเกินไป”

นักศึกษาที่ขึ้นกล่าวปราศรัยอีกคนกล่าวว่า “จริงๆ เราคาดหวังว่าคนจะน้อยกว่านี้ด้วย ด้วยธรรมชาติของมหาวิทยาลัยเรา เราไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นจริงจัง คนจะคุ้นเคยว่าศิลปากรแสดงออกผ่านศิลปะ แสดงออกผ่านพู่กัน เราไม่ค่อยมารวมตัวกันมากนัก นี่เป็นครั้งแรก รู้สึกดีใจ”

“ประวัติศาสตร์การเมืองที่ผ่านมา หรือ movement การเมืองที่นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมไม่ค่อยมีชื่อศิลปากรมาก่อน นี่เป็นครั้งแรก อย่างที่เรากล่าวบนเวทีไปแล้วว่า อยากให้คนที่อยู่ตรงนี้ภูมิใจว่าเรายืนอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเรามีบทบาทบ้าง อยากให้ทุกคนภาคภูมิใจกับการที่มาอยู่ตรงนี้ วันนี้เป็นประวัติศาสตร์ เป็นก้าวแรกๆ ก้าวเล็กๆ ที่เราไม่ยอมและออกมาต่อสู้”

“ปัญหาคือในประเทศไทย เราโตมากับแนวคิดที่ว่าการเมืองคือความขัดแย้ง คือความไม่สงบ ถ้าต่อสู้ก็ต้องสูญเสีย การเมืองเลยเป็นภาพที่น่ากลัว การเมืองเป็นเรื่องสกปรก ถ้ามีคนบอกว่าเด็กรุ่นใหม่อินการเมืองมากเกินไป ให้ถือว่าเป็นคำชม มันแปลว่าเราใส่ใจปัญหาบ้านเมือง เรามีการเคลื่อนไหว เรารู้ว่าเราถูกปกครองด้วยอะไรอยู่”

“ตอนนี้เรามีแฟลชม็อบเกือบทุกมหาวิทยาลัย มีการเคลื่อนไหวในระยะที่ใกล้เคียงกันถือว่าหายากมากเลยนะ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่านี่คือการเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้นอย่าให้มันเป็นพลุที่จุดครั้งเดียวแล้วจบ”

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 79

  • ูแทนที่จะมาดูที่ข้อหา ว่าเขาตัดสินแบบไหน วิจารณ์ เสวนา ถกเถียงในข้อมูล แต่เรียกร้องให้ทำตามใจตัวแล้วอ้าง 6 ล้านเสียง แล้วเสียงส่วนใหญ่ไม่เคารพ ไหนบอกสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่ใจพวกคุณต่างหากเผด็จการ อยากให้ได้ดั่งใจ ตอบคำถาม #กู้ผิดไหม ครอบงำไหม? #นายทุนคือเจ้าของพรรค? #กู้เอง ให้ดอกเบี้ยกันเอง? #ฟอกเงินใช่ไหม ใครๆก็ทำได้? #ถ้าทุกพรรคกู้ ไม่ระดมทุน? #ถ้าเจ้าสัวA ให้พรรคB กู้พันล้าน? #จ่ายคืนภายใน2เดือนรวมดอก? #ตกลงศาลไม่ยุติธรรม #พรรคนั้นบริหารผิดพลาด แต่ยืมปากประชาชนมาต่อรอง? #สู้เพื่อใคร ในเมื
    26 ก.พ. 2563 เวลา 16.03 น.
  • pop
    พ่อกับแม่เครียดมาก เห็นลูกทําแบบนี้ ฉันส่งให้เรียน ไม่ได้ให้มาชุมนุมประท้วงคนที่เขาชนะเลือกตั้ง
    26 ก.พ. 2563 เวลา 16.09 น.
  • DR.NENG
    ธนาธรร่วมม็อบเผากรุงเทพ นักศึกษาตอนนั้นยังเด็ก ยังไม่รู้ใครเผากรุงเทพ ส่วน ช่อ ธนาธร ปิยบุตร มีความเห็นยังไงกับสถาบันกษัตริย์ กดgoogle ดูสิมีเต็มไปหมด ทั้งหมิ่น ลบหลู่ ตาสว่างเสียที เลิกหลงผิดได้แล้ว แล้วก็ไปตั้งใจเรียนหนังสือให้จบก่อนเถอะ
    26 ก.พ. 2563 เวลา 16.17 น.
  • Fon
    ผู้พิพากษา ก็จบจากมหาวิทยาลัยน้องๆหนูๆ ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีแล้ว เสพข่าวหลายๆอย่าง ฟังคำพิพากษาอ่านๆ วิเคราะห์เจาะลึกด้วย. ธนาธร ปิยบุตร ช่อ ทำพลาดเอง ตายเพราะปาก อย่าไปเป็นเหยื่อเขา รักชอบในอุดมการณ์แบบมีสติ _ทีสำคัญพี่ห่วงกลัวหนูๆจะติดเชื่อโรค_ ตามป้ายนักการเมือง เขาไม่กลัวหรอก ไม่เป็นผลกลับ คุณออกถนนเมื่อไหร่เขาก็จับ ชุมนุมในมหาวิทยาลัย ไม่มีเจ็บ ตายหรือเหตุการณ์ร้ายเขาคงปล่อยให้เขาไป ถ่ายรูป อัพเดท ออนไลน์ กันขำขำ ละ เขาคงปล่อย เขารอจับคนชวนน้องๆมากกว่า จะโดน อาญาด้วย
    26 ก.พ. 2563 เวลา 15.15 น.
  • คนรุ่นใหม่ สุ้ๆ
    26 ก.พ. 2563 เวลา 15.14 น.
ดูทั้งหมด