โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มหิดลประสบความสำเร็จ สร้าง “ThalPred” AI ช่วยตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย มอบเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

The Structure

อัพเดต 20 พ.ย. 2565 เวลา 00.55 น. • เผยแพร่ 19 พ.ย. 2565 เวลา 17.53 น. • The Structure
มหิดลประสบความสำเร็จ สร้าง “ThalPred” AI ช่วยตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย มอบเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ม.มหิดล คิดค้นโปรแกรม “ThalPred” ช่วยวินิจฉัย “ธาลัสซีเมีย” ด้วย AI

มหาวิทยาลัยมหิดล ประสบความสำเร็จในการสร้างโปรแกรม “ThalPred” (Thalassemia Prediction) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใหม่ ช่วยตรวจคัดกรองโรคเลือดจากพันธุกรรม “ธาลัสซีเมีย” พร้อมมอบให้เป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการเข้าถึงการคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและส่งผลกระทบเชิงลึกต่อสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ ธาลัสซีเมียเป็นภัยเงียบที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยอาจไม่แสดงอาการใน “ผู้ที่เป็นพาหะ หรือมียีนแฝง” และไม่อาจทราบได้หากไม่ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ในปัจจุบันพบคนไทยเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ประมาณร้อยละ 30 – 40 หรือประมาณ 20 ล้านคน และมีผู้ป่วยกว่า 5 แสนรายดร.พรลดา นุชน้อย ศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรม ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้สร้างสรรค์ และพัฒนาโปรแกรม “ThalPred” ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี AI ที่ใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรคเลือดจากพันธุกรรม “ธาลัสซีเมีย” ว่าเป็นการใช้ “Machine Learning” หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ จดจำรูปแบบข้อมูลของผู้ป่วย คำนวณวิเคราะห์ สร้างอัลกอริธึม (algorithm) ที่เหมาะสม เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจได้เหมือน หรือดีกว่ามนุษย์ ซึ่งการตรวจดูความสมบูรณ์ของเลือด เพื่อบ่งชี้ “ภาวะซีด” เรียกว่า “การตรวจ CBC” (Complete Blood Count) เป็นการตรวจพื้นฐานที่บรรจุอยู่ในโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีทั่วไป โดยจะประกอบไปด้วยการตรวจเพื่อดูพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น จำนวนและรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit: Hct) ปริมาณฮีโมโกลบิน(Hemoglobin:Hb) ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยค้นหาสัญญาณความผิดปกติของร่างกายเพื่อการป้องกันและรักษาโรค“ค่าพารามิเตอร์” ที่ได้จากการตรวจ CBC สามารถนำไปกรอกในโปรแกรม “ThalPred” โดยจะใช้พารามิเตอร์ดังต่อไปนี้ 1.จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง (RBC) 2.ปริมาณฮีโมโกลบิน (Hb) 3.ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hct) 4.ค่าเฉลี่ยขนาดของเม็ดเลือดแดง (MCV) 5.ค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCH) และ 6.ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCHC)เบื้องต้นโปรแกรม “ThalPred” ช่วยวินิจฉัยโรคเลือดจากพันธุกรรม “ธาลัสซีเมีย” ด้วย AI ได้จดลิขสิทธิ์ในนาม “มหาวิทยาลัยมหิดล” และเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติแล้ว และกำลังพัฒนาเวอร์ชันถัดไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งานให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษาโปรแกรม “ThalPred” ช่วยวินิจฉัยโรคเลือดจากพันธุกรรม “ธาลัสซีเมีย” ด้วย AI โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ http://codes.bio/thalpred/

#TheStructureNews

#ThalPred #ธาลัสซีเมีย #มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง :

link
link

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น