โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เปิดประวัติ คังคุไบ ราชินีมาเฟียแห่งมุมไบตัวจริง

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 16 พ.ค. 2565 เวลา 21.40 น. • เผยแพร่ 13 พ.ค. 2565 เวลา 06.49 น.
คังคุไบ

รู้จัก “คังคุไบ” ตัวจริง จากเรื่อง “Gangubai Kathiawadi” หนังอินเดียสะท้อนชีวิตโสเภณีที่กำลังเป็นกระแสในขณะนี้

ภาพยนตร์อินเดียเรื่อง “Gangubai Kathiawadi” ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ นำแสดงโดย อาเลีย บาตต์ (Alia Bhatt) นางเอกเบอร์ต้นของบอลลีวูด แท้จริงแล้วเนื้อหาอิงมาจากชีวิตจริงของ “Gangubai Harjeevandas” หรือเป็นที่รู้จักในนาม “ราชินีมาเฟีย คังคุไบ”

คังคุไบ เกิดเมื่อปี 1939 เธอเกิดในตระกูลทนาย และมีฐานะดี ในเมืองกาเฐียวาร แคว้นคุชราต ประเทศอินเดีย ในวัยเด็กคังคุไบมีความฝันอยากเป็นนักแสดงบอลลีวูด จากนั้นเมื่อเธออายุ 16 ปี ก็ได้ตกหลุมรักกับ “รามนิก” (Ramnik Lal) พนักงานบัญชีของพ่อ จากนั้นรามนิกก็พาคังคุไบหนีไปยังมุมไบ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกัน

แต่แล้วชายผู้เป็นที่รักกลับหลอกเธอมาขายให้กับซ่องในราคา 1,000 รูปี ทำให้เธอต้องเป็นโสเภณีในเขตกามธิปุระ ของนครมุมไบเมื่อปี 1960 ตั้งแต่อายุยังน้อยต่อมาช่วงปี 1960 คังคุไบถูกลูกน้องมาเฟียใหญ่ คาริม ลาลา (Karim Lala) ข่มขืนและทำร้ายร่างกาย เธอจึงไปขอเข้าพบคาริม เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ซึ่งเขาก็ได้ให้การช่วยเหลือคังคุไบ และทั้งสองก็ได้เริ่มต้นความสัมพันธ์ในฐานะพี่น้อง จากนั้นคังคุไบก็เริ่มเป็นที่รู้จักในนาม “ราชินีมาเฟีย”

ขณะเดียวกัน มาเฟียใหญ่คาริม คอยสนับสนุนคังคุไบอยู่ห่าง ๆ ในการขยายอำนาจขึ้นมาปกครองย่านโสเภณี คังคุไบดูแลโสเภณีทุกคนอย่างดี ไม่มีการบังคับหรือข่มขู่ให้ขายตัวแต่อย่างใด เธอไม่เคยแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กสาวและสตรี อีกทั้งเธอยังต่อสู้กับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เพื่อให้โสเภณีได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ คังคุไบยังต่อสู้ในเรื่องการย้ายซ่องออกจากกามธิปุระ ทำให้ชาวเมืองกามธิปุระระลึกถึงเธอเสมอมา มีการทำรูปปั้นขนาดใหญ่ และติดรูปของเธอในซ่องโสเภณี

กระทั่งมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตโสเภณีในอินเดีย เมื่อคังคุไบมีโอกาสเข้าพบนายกรัฐมนตรีชวาหะร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่โสเภณีต้องเผชิญ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้รับปากจะช่วยเหลือและดูแลโสเภณีตามที่คังคุไบต้องการ

ด้วยเหตุนี้คังคุไบจึงถูกจดจำในฐานะนักเคลื่อนไหวทางสังคม ส่งผลให้เธอกลายเป็นที่จดจำของคนทั่วประเทศ และได้รับการยกย่องมาจนถึงปัจจุบัน คังคุไบเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 69 ปี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 1977

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น