โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

“โคราช” มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต เทคโนโลยีช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต

เดลินิวส์

อัพเดต 08 ธ.ค. 2567 เวลา 11.31 น. • เผยแพร่ 08 ธ.ค. 2567 เวลา 04.31 น. • เดลินิวส์
“โคราช” มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต เทคโนโลยีช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต
หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ 1 ก.ค.67 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม( ดีอี) ได้จัดโครงการ “Digital Korat: The Future Starts now - โคราช มหานคร…

หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ 1 ก.ค.67 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม( ดีอี) ได้จัดโครงการ “Digital Korat: The Future Starts now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต”

ระยะเวลาผ่านมา 4 เดือนกว่า ทางผู้บริหารกระทรวงได้พาสื่อมวลชยลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนโคราช

หนึ่งในนั้น คือ วิสาหกิจชุมชน @View Share Farm ที่ได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมิ่ง หรือฟาร์มอัจริยะ จาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ที่ได้นำ เทคโนโลยี IoT มาช่วยสร้างรายได้ และความมั่นคงให้ผู้พิการ และหวังให้เป็นต้นแบบ ขยายสู่วิสาหกิจชุมชนอื่นทั่วประเทศ

“พงษ์เทพ อริยเดช” ประธานวิสาหกิจชุมชน @View Share Farm บอกว่า การก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรรมแห่งนี้ เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด "คนพิการสามารถทำได้มากกว่าที่คนทั่วไปคาดหวัง" โดยเริ่มต้นเมื่อปี 2558 ที่ได้รวมกลุ่มผู้พิการในตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ขึ้น และได้พัฒนาพื้นที่ 20 ไร่ในวังน้ำเขียว สู่ฟาร์มอัจฉริยะที่สร้างรายได้และความมั่นคงให้ผู้พิการในชื่อ “@View Share Farm”

“ จังหวัดนครราชสีมา มีประชากรกว่า 3 ล้านคน และในนั้นมีผู้พิการถึง 98,000 คน ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด 50 คน ถือเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับชุมชนอื่นๆ เพราะปัจจุบันคนพิการต้องประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ หารายได้เลี้ยงครอบครัว ลำพังการพึ่งพาเบี้ยคนพิการที่ได้รับจากรัฐเพียงเดือนละ 800 บาทไม่ใช่คำตอบสำหรับชีวิตที่ยั่งยืน แต่การหาอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคงผ่านการทำงานที่เหมาะสมน่าจะเป็นทางออกที่ดี โดยเฉพาะ การรวมกลุ่มและทำอาชีพเกษตรกรรมร่วมกัน ซึ่งปัจจุบัน ทางกลุ่มสามารถทำงานมีรายได้ตามค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 330 บาทต่อวัน หลัวจาก บริษัทได้เข้ามาสนับสนุนโครงการหรือการประกอบอาชีพของคนพิการได้ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550”

“พงษ์เทพ อริยเดช” บอกต่อว่า ในช่วงแรกทางกลุ่มได้ทำการเกษตร ปลูกข่าเหลืองเป็น จนนำมาสู่ การใช้ต้นข่ามาเป็นสัญลักษณ์ โดยทำ โลโก้ของกลุ่มเป็นรูปต้นข่า และใช้ชื่อ View Share Farm ที่พ้องเสียงกัลคำว่า "วิลแชร์" รถนั่งของคนพิการ หลังจากนั้นต่อมาในปี 2564 ทางวิสาหกิจชุมชนก็ได้รับการสนับสนุนจาก ดีป้า จำนวน 100,000 บาท และได้ใช้ลงทุนของกลุ่มอีก 100,000 บาท เพื่อทำสมาร์ทฟาร์มมิ่ง สร้างโรงเรือนขนาด 6x12 เมตร จำนวน 2 โรงเรือน เพื่อขยายการเพาะปลูกพืชชนิดอิ่น คือ เมล่อนสายพันธุ์ Golden Pink ที่ให้ผลผลิตลูกใหญ่และมีคุณภาพดี

โดย สามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละสองครั้ง ซึ่งการปลูกจะได้ผลผลิตรวมไม่น้อยกว่า 175 ลูกต่อรอบการปลูก และนำไป ขายได้ราคากิโลกรัมละ 90 บาท ช่วยสร้าง รายได้กับสมาชิกในกลุ่มเพิ่มขึ้น และการได้รับสนับสนุนเทคโนโลยีจากดีป้า ช่วยให้ได้นำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี มาช่วยยกระดับการเกษตร จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว สู่การเกษตรแบบผสมผสาน

ซึ่งโรงเรือนอัจฉริยะที่ ก่อสร้างขึ้นได้ ใช้ระบบ IoT และพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตเอง เพื่อใช้ไภายในฟาร์มเช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงาน ค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน ทำให้กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย โดยระบบโรงเรือนอัจฉริยะและตู้ควบคุมระบบน้ำ ช่วยลดการสูญเสียผลผลิตถึง 70% ขณะที่พลังงานจากโซล่ารูฟท็อปยังช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานได้อีก และปัจจุบัน ทางกลุ่ม ได้ขยายธุรกิจ เพิ่มในส่วนที่พัก การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ การศึกษาดูงานเพิ่มขึ้นด้วย ราคาเริ่มต้นคืนละ 1,700 บาท พร้อมทั้งผลิตน้ำดื่ม RO เพื่อใช้และจำหน่ายในชุมชนด้วย

ด้าน “พรชัย หอมชื่น” ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า บอกว่า ดีป้า ได้มีโครการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี จากกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้มาขึ้นทะเบียนกับดีป้า ซึ่งมีเทคโนโลยีและโซลูชั่นด้านต่างๆ โดย ไอโอที และสมาร์ทฟาร์มิ่ง ก็เป็นหนึ่งในนั้น นอกจากนี้ ดีป้ายังสนับสนุนแพลตฟอร์มจัดการระบบโฮมสเตย์ ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการจองและชำระเงิน ทำให้การจัดการธุรกิจของกลุ่มมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“วิสาหกิจชุมชน @View Share Farm ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้ใช้เทคโนโลยีของสตาร์ทอัพ โดยได้รับการสนับสนุนจากดีป้า เพื่อยกระดับการใช้ชีวิต ในอนาคตก็มีแผนจะให้ทางวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้เป็นต้นแบบให้กับกลุ่มอื่นๆต่อไป โดยเฉพาะในกลุ่มผพิการ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการได้ ซึ่งก็ต้องมีการหารือกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่น คงของมนุษย์ (พม.) ต่อไป”

อย่างไรก็ตาม ในการสะท้อนปัญหานั้น ทาง ประธานวิสาหกิจชุมชน บอกว่า ในพื้นที่ยังมีปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทาง “วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ” ปลัดกระทรวงดีอี บอกว่าจะช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อผลักดัน “โคราช มหานครดิจิทัลฯ” ทาง “ประเสริฐ จันทรรวงทอง” รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ดีอี ได้ผลักดัน ระบบการทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) ให้ประชาชนและหน่วยงานราชการภายในท้องถิ่น โดบชู “ปากช่อง สมาร์ทซิตี้” ยกระดับงานบริการ ด้วย e-Document

“ประเสริฐ จันทรรวงทอง” บอกว่า กระทรวงดีอี ได้ดำเนิน โครงการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ระบบงานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ผ่านระบบคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Management) ในหน่วยงานรัฐทั่วประเทศ โดยมอบหมายให้สถิติจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดดำเนินการ ส่งเสริมการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) ขับเคลื่อนการใช้งานระบบ e-Office ภายใต้งานบริการคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) (โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน) ให้กับส่วนราชการต่าง ๆ ทุกกระทรวง และทุกจังหวัด เพื่อตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) และผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของแต่ละหน่วยงานด้วย

สำหรับ จ.นครราชสีมา มีหน่วยงานในจังหวัดให้ความสนใจและแจ้งความต้องการขอใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในระยะที่ 1 จำนวน 341 หน่วยงาน ได้แก่ ส่วนราชการ 50 หน่วยงาน (จาก 231 หน่วยงาน) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 291 แห่ง (จาก 334 แห่ง) และมี จำนวนผู้ใช้งาน 15,219 บัญชีผู้ใช้งาน (users) ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 1,775 CA (Certification Authority) โดยเริ่มใช้งานระบบจริง จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองปากช่อง พร้อมเร่งผลักดันให้เริ่มใช้งาน ครบทุกหน่วยงานในสิ้นปี 67 นี้

ทั้งหมดเพื่อส่งเสริมให้เกิด “โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต” อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป.

จิราวัฒน์ จารุพันธ์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น