ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด19 สร้างเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับการศึกษาไทย ทำให้ ‘การเรียนออนไลน์’ เป็นกระแสพูดถึงอย่างมากในบ้านเรา ทางด้าน ‘ครู’ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ ต้องเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เตรียมเนื้อหาการสอนในรูปแบบใหม่ ให้เข้ากับเด็กยุคนี้อย่างดีที่สุด ด้าน 'ครอบครัว' เอง ก็ต้องเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับการเป็น'ครูในบ้าน' ที่จะต้องทำความเข้าใจกับเด็กในวัยเรียนไปด้วย
ซีนนี้มา เกิดคำถามนึงขึ้นมาว่า เราคิดถึงครูคนไหนในชีวิต?ที่เคยเป็นเหมือน ‘ครูต้นแบบ’สอนทั้งวิชาการที่ดูน่าเบื่อ ให้เราสนุกและเข้าใจมาจนถึงปัจจุบัน หรือมีครูท่านใดที่พาเราออกไปเผชิญกับ ‘วิชาชีวิต’ สะสมเป็นอาวุธ เพื่อสู้รบกับโลกจริงในตอนนี้อยู่บ้าง? บางทีหนังที่เลือกมาในอาทิตย์นี้ อาจทำให้นึกถึง ครูคนนั้น ขึ้นมาก็เป็นได้
โหมโรง (2004)
‘ได้ครูดีสอน วันนึงเราจะกลายเป็น ครูทีดีเช่นกัน’
เรื่องราวที่ดัดแปลงมาจากชีวิตของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ที่เกิดมาในครอบครัวดนตรีไทย และครูคนแรกก็คือ พ่อของเขา ศรจึงได้รับพรสวรรค์ด้านดนตรีเป็นอย่างมาก เขาอยู่ในยุคเฟื่องฟูของดนตรีไทย และก็ต้องเผชิญกับยุคที่เริ่มมีวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
ในเรื่อง เล่าตั้งแต่ศรมีพ่อที่นำพาเขา เข้าสู่การจับเครื่องดนตรีไทย จนกระทั่งโตขึ้น ก็ได้แรงสนับสนุนจากครอบครัวทำให้เขามุ่งมั่นเล่นระนาดให้เก่งกาจ ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ศัตรูที่ชื่อ 'ขุนอิน' ก็เป็นหนึ่งในครู ที่ช่วยผลักดันความสามารถที่แท้จริงของศรออกมา จนเขาเองได้กลายเป็น ‘ท่านครู’ ที่ถ่ายทอดระนาดไปยังรุ่นสู่รุ่น
‘ฉากในตำนาน การดวลระนาดของศรและขุนอิน’
นับว่า ครอบครัว คือ ครูคนแรก ที่จะบ่มเพาะความเป็น ตัวตน ให้ออกไปในสังคม คำสอนแรกมาจากพ่อแม่ เป็นหลักในการดำเนินชีวิตต่อไป และศัตรูถือเป็นบททดสอบชั้นดี ที่จะทำให้เราหมั่นฝึกฝนจนแตกฉาน
มหาลัยเหมืองแร่ (2005)
‘เหมืองแร่ เปรียบเหมือนมหาลัย ส่วนคนในเหมืองก็คือ ครู’
เรื่องที่ดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของ คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ ผู้ที่เคยเป็นนิสิต คณะวิศวกรรมแต่ถูกรีไทร์ออกจากมหาลัย และตัดสินใจลงใต้ไปทำงานเหมือง สิ่งที่เขาเรียนรู้ไม่ใช่ทฤษฎีความรู้จากหนังสือ แต่เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ไม่สามารถเรียนแทนกันได้ นอกจากประสบด้วยตนเอง
เป็นหนังที่เสมือนนั่งอ่านบันทึกการใช้ชีวิตของใครคนนึง ที่มีทั้งสุข เศร้า รุมเร้าด้วยปัญหา ชีวิตที่ไม่เป็นอย่างหวัง แต่ก็นำพาสิ่งที่ดีกว่ามาในตอนท้าย
‘กินอย่าอาย ตายอย่ากลัว ยากช่างหัว ตายปลด’
บทเรียนชีวิต คือ ครูชั้นดี ที่ไม่ว่าเราจะเติบโตถึงช่วงวัยไหน ชีวิตในเหมืองยังคงเป็น ‘ครูต้นแบบ’ ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คนได้เช่นกัน
สามชุก (2009)
‘ชีวิตของครูหนึ่งคน… ที่มีลูกศิษย์ติดยามากที่สุด’
เรื่องราวจากเหตุการณ์จริงที่โรงเรียน สามชุกรัตนโภคาราม ในยุคที่ยาเสพติดระบาดหนัก จนมีเด็กนักเรียนในชั้นของ ‘ครูพินิจ’ เข้าไปพัวพัน ในฐานะครู นอกจากมีใจในการสอนแล้ว ยังคงต้องมีจิตวิญญาณที่จะพาเด็กนักเรียนให้เติบโตต่อไปอย่างถูกต้องด้วย
ชีวิตของครูในชนบท ที่ทำให้เห็นว่า ครู ไม่ได้หน้าที่แค่ในสถานศึกษา แต่ยังร่วมเป็นหูเป็นตา ให้กับผู้ปกครองเพื่อดูแลเด็ก ๆ ในชุมชนที่อาศัยด้วย หนังเรื่องนี้อาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดครูแบบ ‘ครูพินิจ’ ขึ้นมาเพิ่มอีกซักคนก็เป็นได้
/
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ ‘ครูต้นแบบ’ ที่เคยผ่านตามาในหนังไทย ที่ทั้งตั้งใจสอนวิชาการในห้องเรียน และบางครั้งเราเองต้องออกเดินทางตามหา เพราะเป็นวิชาที่ไม่มีสอนออนไลน์ ยังมีครูจากหนังเรื่องไหนบ้าง? ที่ชาว LINE TODAY คิดถึงกันบ้าง เล่าให้ฟังกันบ้างสิ : )
อ้างอิง
- Pantip
- Pantip
ความเห็น 72
Chain
BEST
ผมดูโหมโรง และ มหาลัยเหมืองแร่ หนังดีทั้งคู่เลยครับ สามชุก เดี๋ยวต้องหาดู
23 พ.ค. 2563 เวลา 01.44 น.
liquid paper
BEST
เรียนออนไลน์ มันทดแทน ความผูกพัน ของ ครูนักเรียนไม่ได้...
ซึ่งความผูกพันนี้ สำคัญมาก และจะเป็นกำลังใจให้นักเรียนในอนาคต.
ไม่งั้น พ่อแม่ ก็เลี้ยงลูกออนไลน์ได้เช่นกัน
ขอให้หมดโรคระบาด เพื่อ ครูนักเรียนทั้งมวล.
23 พ.ค. 2563 เวลา 13.26 น.
ไม่มีเน็ต ร.ร. ก็แจกหนังสือให้แล้ว เรียนจากหนังสือไปก่อนก็ได้ หัดช่วยตัวเองให้ได้ ระบบการเรียนแบบไหนก็ไม่ใช่ปัญหา เดี๋ยวเปิดเทอมแล้ว
23 พ.ค. 2563 เวลา 12.07 น.
อิสระ ธนะบรรณ์
น่าดูดีนะครับให้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในประจำวัน.. เราค่อยหาเวลาดูนะครับยังไม่ได้ดูเลย.. ขอบคุณนะครับที่ทำหนังดีๆมาให้ดูกันะครับ
23 พ.ค. 2563 เวลา 05.11 น.
Chinna Ozone
เคยดูแต่โหมโรง ทุกวันนี้ยังเปิดเพลง คำหวาน ให้ลูกฟังก่อนนอนอยู่เลย
23 พ.ค. 2563 เวลา 01.59 น.
ดูทั้งหมด