โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

"ระฆังพระเจ้าจิงกูจา" ระฆังคู่บ้านคู่เมืองพม่า อังกฤษพยายามขนกลับประเทศแต่ไม่สำเร็จ!?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 12 ธ.ค. เวลา 03.10 น. • เผยแพร่ 12 ธ.ค. เวลา 00.21 น.
Cover photo BU02
ภาพบริเวณลานกว้างรอบเจดีย์ชเวดากองของพม่า ระฆังพม่าในภาพคาดว่าเป็น “ระฆังพระเจ้าจิงกูจา” ภาพวาดสีน้ำฝีมือของ ร.ท. โจเซฟ มัวร์ แห่งกองร้อยที่ 89 กองทัพอังกฤษ

“ระฆังพระเจ้าจิงกูจา” ระฆังคู่บ้านคู่เมืองพม่า อังกฤษพยายามขนกลับประเทศแต่ไม่สำเร็จ!?

ภาพวาดสีน้ำชิ้นนี้เป็นฝีมือของ ร.ท. โจเซฟ มัวร์ (Lieutenant Joseph Moore) แห่งกองร้อยที่ 89 กองทัพอังกฤษ เป็นหนึ่งในภาพชุดของมัวร์ที่ถูกนำออกเผยแพร่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1825-1826 เป็นภาพชุดจากหลายสถานที่ ช่วงที่เกิดสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1824-1826) เพื่อแย่งชิงอำนาจในการครอบครองดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งพม่าต้องเสียเมืองย่างกุ้งให้กับอังกฤษไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1824

ภาพนี้เป็นภาพบริเวณลานกว้างรอบเจดีย์ชเวดากองของพม่า ซึ่งจะเห็น “ระฆังพม่า” อย่างชัดเจน จากคำบรรยายภาพ ระฆังทางขวามือหล่อขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1779 หนัก 23.1 ตัน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4 เมตร สูงจากพื้น 0.46 เมตร ตรงกับลักษณะของ ระฆังพระเจ้าจิงกูจา (Singu Min’s Bell) หนึ่งในระฆังคู่บ้านคู่เมืองของชาวพม่า ที่อังกฤษพยายามขนกลับประเทศหลังยึดย่างกุ้งได้สำเร็จ

อังกฤษได้เคลื่อนระฆังขึ้นแพ เพื่อต่อไปยังเรือที่จอดรออยู่ แต่ระฆังเกิดพลัดตกลงแม่น้ำ กองทัพอังกฤษพยายามกู้ระฆังเป็นเวลากว่า 7 วัน แต่ก็ไม่สำเร็จ

ภายหลัง แกนนำพระสงฆ์ชาวพม่ารายหนึ่ง ด้รับอนุญาตจากอังกฤษให้กู้ระฆังใบนี้ได้ และชาวพม่าก็ทำได้สำเร็จด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการผูกระฆังกับเสาเรือในช่วงน้ำลง เมื่อน้ำขึ้นกระแสน้ำก็ช่วยดึงให้ระฆังหลุดจากโคลนได้ ระฆังใบนี้จึงถูกนำมาติดตั้งไว้ที่เจดีย์ชเวดากองตามเดิม

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

Burma Press Summary from The Working People’s Daily Vol. II, No. 2, February 1988.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “ระฆังพระเจ้าจิงกูจา” ระฆังคู่บ้านคู่เมืองพม่า อังกฤษพยายามขนกลับประเทศแต่ไม่สำเร็จ!?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 11

  • Yoyo
    ประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นปล้นสะดมทุกอย่างที่ทำได้
    20 ก.ค. 2563 เวลา 01.37 น.
  • 🍌•~SAYM~•🐒
    ถ้าเราเป็นเมืองขึ้นพวกมัน..นึกไม่ออกเลยว่าจะสูญเสียอะไรบ้าง
    12 ธ.ค. เวลา 04.34 น.
  • แก้ว มาลูน
    * บุกรุกดินแดนยึดครองเป็นอาณานิคม ปล้นชิงทรัพยากรชนชาติอื่นทั่วโลก เรียก"ผู้ดี" ใครต่อสู้ขัดขืน "ผู้ก่อการร้าย".
    12 ธ.ค. เวลา 04.55 น.
  • thepee
    อายุเก่าแก่ และน่าจะสูง 4.6 เมตร (นับห่วงด้วย) ถ้ากว้างกว่า3เมตรแล้วสูง0.46 เมตร รูปทรงน่าจะเป็นฝาชีแทนระฆัง
    15 มิ.ย. เวลา 06.59 น.
  • Libb
    ประเทศไหนของหาย ไปตามหาได้ที่อังกฤษ หัวหน้าโจรโลกตัวจริง
    12 ธ.ค. เวลา 10.28 น.
ดูทั้งหมด