โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ (Antepartum depression) คืออะไร?

HonestDocs

อัพเดต 07 ต.ค. 2562 เวลา 19.14 น. • เผยแพร่ 07 ต.ค. 2562 เวลา 19.14 น. • HonestDocs
โรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ (Antepartum depression)
โรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ คืออะไร? เกิดขึ้นจากอะไร? มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง? โรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่? มีภาวะแทรกซ้อน อะไรบ้าง? อ่านได้ที่นี่

การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและตื้นตันใจสำหรับผู้หญิง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ว่าที่คุณแม่หลายๆ คนเป็นกังวล สับสน เครียด และซึมเศร้าได้ โดยพบว่าประมาณ 1 ใน 4 ของหญิงที่ตั้งครรภ์ ประสบกับโรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ (Antepartum depression)

โรคซึมเศร้าเป็นอาการป่วยทางจิตที่พบได้ทั่วไป ส่งผลให้คุณมีความรู้สึกด้านลบที่รุนแรง มีอารมณ์เศร้า สูญเสียความมั่นใจ หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า ซึ่งอาการเหล่านี้รบกวนชีวิตความเป็นอยู่และการทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันเป็นระยะเวลานาน

บ่อยครั้งโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์มักไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะฮอร์โมนผิดปกติที่พบได้ทั่วไปในคนท้อง ซึ่งโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายต่อทั้งตัวคุณแม่เองและเด็กในท้องได้ 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

โดยทั่วไปแล้ว โรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์มักเกิดจากภาวะสุขภาพจิตและการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอื่นๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น สภาพร่างกาย การนอนหลับ และการรับประทานอาหารก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของโรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ มีดังนี้

  • เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน 
  • ขาดคู่ชีวิตหรือการดูแลจากคนรอบข้างระหว่างการตั้งครรภ์
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์
  • เคยถูกทารุณกรรมหรือเคยได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง
  • มีประสบการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด
  • มีปัญหาทางการเงิน ขัดสนเรื่องค่าใช้จ่าย
  • มีพฤติกรรมติดสารเสพติด
  • รู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
  • เคยสูญเสียลูกมาก่อนหน้านี้หรือแท้งลูก
  • วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตัวทารก เช่น ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากการตั้งครรภ์
  • ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม

อาการของโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

อาการของโรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์นั้นคล้ายคลึงกับอาการโรคซึมเศร้าทั่วๆ ไป คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้ติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์

  • รู้สึกเศร้าไม่หายและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • ไม่มีสมาธิ มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำหรือการตัดสินใจ
  • รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า และรู้สึกผิด
  • หมดความสนใจ ไม่รู้สึกสนุกในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยชอบ
  • อ่อนเพลีย
  • นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
  • ฉุนเฉียวง่าย
  • มีความคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย
  • การรับรู้รสชาติอาหารเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน กินมากหรือน้อยจนเกินไป หรืออาจเบื่ออาหาร
  • มีพฤติกรรมเสี่ยง ประมาทในการใช้ชีวิต

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง และมีภาวะครรภ์เป็นพิษเนื่องจากความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นโรคซึมเศร้า

นอกจากนี้ ผู้หญิงที่เป็นโรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิด[โรคซึมเศร้าหลังคลอด](https://www.honestdocs.co/what-is-postpartum-depression)สูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยโรคนี้มีโอกาสเกิดขึ้นในผู้หญิงประมาณ 15% ที่เพิ่งผ่านการคลอดบุตร 

จากรายงานของสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ หากไม่ได้รับการรักษา โรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์โดยเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะต่อไปนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตร
  • เด็กที่คลอดออกมามีน้ำหนักตัวน้อย
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ความบกพร่องด้านการเรียนรู้ของทารก

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์อาจเป็นเรื่องยาก บางครั้งตัวคุณเองและคนรอบข้างอาจไม่สังเกตเห็นความผิดปกติเลยก็ได้ เพราะอาการคล้ายคลึงกับอาการที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ทั่วไป เช่น มีปัญหาด้านการนอนหลับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ความต้องการทางเพศลดน้อยลง เป็นต้น ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ หากไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์หรือโรคซึมเศร้ากันแน่ 

การรักษาโรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์

โรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้โดยมีหลักการรักษาเหมือนโรคซึมเศร้าทั่วไป การรักษาต่างๆ มีแนวทางดังนี้

  • การให้คำปรึกษาหรือการใช้เทคนิคเฉพาะทางเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น เช่น การบำบัดด้านความคิดและพฤติกรรม (CBT) การบำบัดด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นต้น
  • การเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนต่างๆ
  • การบำบัดด้วยการกระตุ้นสมอง เช่น การกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy) ซึ่งเป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าชนิดอ่อนเข้าสู่สมอง
  • การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่วิธีนี้มีความเสี่ยงต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ จึงต้องคำนึงถึงประโยชน์และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียจากการใช้ยานี้อย่างถี่ถ้วน

นอกจากนี้ การรักษาแบบธรรมชาติบำบัด เช่น การเล่นโยคะ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน และการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ก็มีส่วนช่วยรักษาโรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ได้

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น