ทั้งแรงกดอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในห้องโดยสาร และการบินข้ามไทม์โซน แน่นอนว่าการขึ้นเครื่องบินแต่ละครั้ง นั่งไฟลท์ยาวๆ ก็ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยและหมดพลังไปได้แล้ว ยิ่งคนที่ต้องเดินทางถี่ๆ ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเราในระยะยาวได้ แต่รู้หรือไม่ว่าอันตรายจากเครื่องบินมีมากกว่านั้น!
ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากองค์การ NASA บอกว่าการโดยสารเครื่องบินนั้นส่งผลอันตรายยิ่งกว่าการนั่งอยู่ใกล้ๆ กับแผงนิวเคลียร์เสียอีก อ้างอิงจากเว็บไซต์ New York Post “เวลาที่เครื่องบินๆ อยู่ในอากาศ นั่นคือช่วงเวลาที่เราจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และนั่นหมายถึงความเสี่ยงที่ร่างกายของเราจะได้รับรังสีคอสมิก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง และสารกัมมันตภาพรังสีก็มีมากยิ่งขึ้นเช่นกัน” จากหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ยิ่งสูงจากพื้นโลกมากขึ้นเท่าไร ชั้นบรรยากาศจะมีความเบาบางมากขึ้นเท่านั้น ถ้าเปรียบเทียบด้วยปริมาณของแก๊ซที่ลอยอยู่ในอากาศด้วยพื้นที่ขนาดเดียวกันแล้ว บนความสูง 35,000 ฟุตที่เครื่องบินส่วนใหญ่มักใช้สัญจร จะมีโมเลกุลของพวกแก๊ซต่างๆ น้อยกว่า และเหตุนี้ทำให้รังสีจากดวงอาทิตย์สามารถฉายทะลุลงมาได้อย่างง่ายดายโดยที่ตัวโครงสร้างของเครื่องบินก็ไม่สามารถป้องกันรังสีเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
หากเทียบกับพนักงานในโรงงานนิวเคลียร์และนักบินอวกาศ กลุ่มคนที่ถูกจัดอยู่ในประเภทเสี่ยงต่อการได้รับกัมมัตภาพรังสีในระดับที่มากกว่าก็คือนักธุรกิจที่ต้องเดินทางข้ามประเทศบ่อยๆ และที่มากไปกว่านั้นคือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บทความจาก Business Insider บอกว่าในโรงงานไฟฟ้าที่ใช้นิวเคลียร์ส่วนใหญ่ มีมาตรการที่เคร่งครัดมากขึ้นและเปลี่ยนจากคนเป็นการใช้หุ่นยนต์ในการทำงาน ส่วนองค์การ NASA มีการจัดการและควบคุมเรื่องนี้ โดยออกกฎไม่ให้นักบินอวกาศใช้เวลาอยู่นอกโลกเกินกว่า 1 ปี แต่สำหรับอาชีพแอร์โฮสเตสยังไม่มีการตั้งลิมิต ซึ่งถ้าเปรียบเทียบด้วยหน่วยวัดปริมาณรังสีสมมูลหรือมิลลิซีเวิร์ตแล้ว กลุ่มลูกเรือจะได้รับรังสีมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า
ผลที่ตามมาอาจจะไม่ได้แสดงในระยะเวลาสั้นๆ แต่ความเสี่ยงนี้อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การก่อตัวของมะเร็งได้ในอนาคต วิธีการหลีกเลี่ยงอาจจะเป็นไปได้ยากสำหรับคนที่จำเป็นต้องเดินทาง แต่หากเป็นไปได้ลองเลือกเที่ยวบินช่วงกลางคืนและงดการโดยสารเครื่องบินช่วงระหว่างตั้งครรภ์
อ้างอิง
https://nypost.com/2017/12/28/flying-in-a-plane-is-like-standing-next-to-a-nuclear-reactor-but-worse
http://uk.businessinsider.com/flying-airplane-cancer-radiation-risk-2017-12?r=US&IR=T
ความเห็น 15
จตุรภุช (Yong)
วิจัย ให้ได้ข้อสรุป อีกนะ ไอ้หนู ว่าจะเอาเท่าไร่เกิน ลิมิต
อาชีพ แอร์ นี้มีมานาน จำนวนตัวอย่างมากพอ
เอาย่อๆ คนกลัวพอดี
03 ม.ค. 2561 เวลา 08.28 น.
Tarurotte
35,000 feet มั๊ง ก็สูงกว่าพื้นประมาณ 10 กิโลเมตร (1 foot = 30.48 cm) ซึ่งก็อยู่ประมาณ stratosphere ชั้นเมฆสูง
03 ม.ค. 2561 เวลา 12.05 น.
KONGKITPILOT
บินสูงกว่าสถานีอวกาศ?
03 ม.ค. 2561 เวลา 10.26 น.
Thanakit Sports99
เอามาจากไหน35,000ไมล์ บ้ารึเปล่า ข่าวเขาก็เขียนตัวใหญ่อยู่ว่า **ฟุต** สงสัยตาเข๋นะเธอ
03 ม.ค. 2561 เวลา 22.18 น.
pui pui
นักบินน่าจะไปก่อนเพราะนั่งหน้ารับรังสีเต็มๆ แอร์ยังเดินหลบแสงบ้าง
04 ม.ค. 2561 เวลา 12.40 น.
ดูทั้งหมด