โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘wiribed’ แก้วิกฤตเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ฝีมือเยาวชนอายุ 16 ปี ได้แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

TODAY

อัพเดต 11 ส.ค. 2564 เวลา 17.21 น. • เผยแพร่ 11 ส.ค. 2564 เวลา 17.21 น. • workpointTODAY
‘wiribed’ แก้วิกฤตเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ฝีมือเยาวชนอายุ 16 ปี ได้แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

จากจุดเริ่มต้นที่หวังอยากจะช่วยเพื่อน กลายเป็นการผลิตเพื่อแจกจ่ายแก้วิกฤตขาดแคลนเตียงในโรงพยาบาลสนาม workpointTODAY ได้สัมภาษณ์ นายปกกฤษณ์ จีระภัทร์ ผู้ออกแบบ 'wiribed' ที่กำลังช่วยแก้วิกฤตเตียง สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 

(นายปกกฤษณ์ จีระภัทร์ ผู้ออกแบบ wiribed)

ปกกฤษณ์ หรือ ปุณญ์ อายุ 16 ปี นักเรียนเกรด 11 ที่กำลังศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างเดินทางกลับมาเมืองไทย ได้รู้ข่าวจากเพื่อนคนหนึ่งว่าไม่มีเงินซื้อเตียงให้กับคุณพ่อที่กำลังป่วย เพราะ hospital bed ราคาสูงมาก ตนจึงไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตว่าเตียงสำหรับผู้ป่วยเป็นอย่างไร และมีไอเดียอยากทำให้เตียงที่มีฟังก์ชั่นเดียวกับ hospital bed แต่ที่ราคาถูกลงมา

"ตอนแรกผมตั้งใจจะทำใช้ในบ้าน แต่เพราะโควิด เลยทำให้ wiribed ถูกใช้ในโรงพยาบาลสนามด้วย"

ปุณญ์ บอกถึงแรงบันดาลใจในการทำเตียง wiribed ว่า มาจากศิลปะพับกระดาษ 'โอริกามิ' ของญี่ปุ่น ที่ใช้กระดาษแผ่นเดียว โดยปุนสเก็ตช์แบบเตียงขึ้นมา แล้วส่งให้ดีไซนเนอร์ที่โรงงานของคุณพ่อช่วยทำให้เป็นภาพ 3D จากนั้นก็ลงมือทำตามแบบ

โดยเตียง wiribed ใช้ไม้กันชื้น  HRM Board ความหนา 15 มิลลิเมตร เพียง 2 แผ่น ประกอบด้วยการเข้าสลักไม่ใช้น็อต รับน้ำหนักได้มากกว่า 150 กิโลกรัม มีความแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย

ปุณญ์  เล่าด้วยว่า โรงพยาบาลสนามแห่งแรกที่ได้นำ wiribed เข้าไปใช้ คือที่ จ.ระยอง โดยทางโมเดอร์นฟอร์มได้ซื้อแบบไปผลิตเพื่อบริจาคให้กับทางโรงพยาบาลสนาม จากนั้นก็มีเพื่อนของคุณแม่ ซึ่งทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลปทุมธานี ได้เห็นว่า เราเปิดเฟซบุ๊กทำเตียงเพื่อผู้ป่วยโควิด-19 จึงติดต่อเข้ามาแจ้งว่าทางโรงพยาบาลปทุมธานีต้องการเตียงที่จะใช้ในโรงพยาบาลสนาม เราจึงทำเตียงไปบริจาค ซึ่งตอนนี้ก็มีหลายๆ โรงงานเข้ามาช่วยกันผลิตเตียงด้วย

(ชิ้นส่วนประกอบเป็น wiribed)

สำหรับข้อดีของเตียงกระดาษเบากว่า ขนย้ายง่ายกว่า แต่อยู่ได้แค่ 3 เดือนและห้ามโดนน้ำ แต่ wiribed ถูกดีไซน์ให้ใช้ได้นานๆ เพราะจุดเริ่มต้นคือการใช้ในบ้าน wiribed แข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักผู้ป่วยได้มากกว่าเตียงกระดาษ และยังมีฟังก์ชั่นที่สามารถยกตัว ยกขา ทำให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอิริยาบท ระหว่างนอนรักษาตัวไม่ต้องนอนราบอย่างเดียว

wiribed ผลิตแล้ว 182 เตียง ค่าใช้จ่ายในการผลิตเตียงละ 1,550 บาท ได้ยื่นจดสิทธิบัตรด้านการออกแบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแชร์แบบและวิธีการผลิตให้กับผู้ที่สนใจนำไปผลิตต่อเพื่อบริจาคและทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมห้ามจำหน่าย หากโรงงานไหน หรือผู้ที่มีกำลังผลิต ต้องการแบบเตียง สามารถติดต่อเข้ามาทางเฟซบุ๊ก Wiribed ได้ยินดีแชร์แบบให้

"จากที่เห็นในข่าวที่คนไม่มีเตียง ไปรักษาไม่ได้ บางคนก็นอนตาย ก็เลยคิดว่าต้องรีบบริจาคแล้ว" เด็กหนุ่มวัย 16 ปี เจ้าของสิ่งประดิษฐ์หวังใจว่า wiribed จะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยได้ไม่มากก็น้อย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 2

  • เก่งมาก
    12 ส.ค. 2564 เวลา 03.55 น.
  • R.Mawz.ʕ=•ᴥ•ʔ ʕᵔᴥᵔ=ʔ
    น่ารัมากๆๆ อนุโมทนาสาธุค่ะน้อง ขอให้ปลอดภัย เจริญรุ่งเรืองในชีวิตนะคะ
    12 ส.ค. 2564 เวลา 03.08 น.
ดูทั้งหมด