ร้อนกว่าอากาศก็ข่าวบ้านเมืองประเทศเรานี่แหละ!
และท่ามกลางประเด็นเดือดทั้งหลาย หนึ่งในหัวข้อเกี่ยวกับปากท้องผู้บริโภคและร้านค้าต่าง ๆ คงหนีไม่พ้นเรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ฉบับใหม่มาตรา 32 ที่หลายคนยังคาใจว่าสรุปแบบไหนผิด? แล้วค่าปรับกรณีโพสต์รูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีราคาสูงถึง 500,000 บาทนั้น หรือจำคุก 1 ปีนั้น กระทบสิทธิของประชาชนอย่างเราด้วยรึเปล่า?
มาดูกันหน่อยว่ากฎหมายเจ้าปัญหาดังกล่าวมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปราฏภาพของสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกระทรวง บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร
อ่านข้างบนแล้วงง มามุงตรงนี้
ข้อกฎหมายดังกล่าวสรุปง่าย ๆ ดังนี้ (อ้างอิงจากเพจผู้บริโภค)
- ห้ามโพสต์รูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงขวด
- ห้ามโพสต์สรรพคุณ ห้ามชม ห้ามชวนลอง
- ห้ามโพสต์แก้วเบียร์มียี่ห้อ
- ห้ามเขียนรีวิวแอลกอฮอล์ หรือเขียนเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าจะผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
- โพสต์เก่าแค่ไหนก็มีความผิดได้
ซึ่งวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊กผู้บริโภค ได้ออกมาเล่าประสบการณ์เชิงตักเตือนแฟนเพจ ว่าตนเพิ่งได้รับผลกระทบจากมาตรา 32 นี้ด้วย โดยโดนปรับไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ด้วยข้อหาข้างต้น งานนี้เรียกคอมเมนต์จากชาวเน็ตได้ 2 กระแส แต่เสียงข้างมากเห็นว่าข้อบังคับดังกล่าวออกจะ "เกินไป" สำหรับข้อหา หลายคนถกเถียงกันถึงเคสอื่น ๆ เช่น ถ้าไปเที่ยวต่างประเทศก็โดนเหรอ? ถ้าลงไว้นานแล้วจะเป็นคดีได้เหรอ?
ถือว่าเป็นการเล่าให้ฟังละกันนะ 😊 . ไหนๆก็มีกระแสเรื่องการจับการโพสต์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กัน พี่งัวก็ขอพูดซะหน่อย…
โพสต์โดย ผู้บริโภค เมื่อ วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2020
ในกรณีนี้ นพ.นิพนธ์ ชนานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวกับMATICHON ONLINE ว่าส่วนใหญ่การรับแจ้งมาจากประชาชน ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาส่วนมากเป็นเพจเฟซบุ๊ก อินฟลูเอนเซอร์ หรือเน็ตไอดอล โดยขั้นตอนการดำเนินคดีเมื่อได้รับแจ้งคือ เรียกเจ้าตัวเข้ามาสอบสวน หากผู้ถูกกล่าวหายืนยันได้ว่าไม่มีเจตนาโฆษณาเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็ไม่มีความผิด แต่หากมีความผิด ก็จะถูกตำรวจเรียกปรับ
ทั้งนี้หากผู้ถูกกล่าวหาคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนเข้ามาที่กรมควบคุมโรคได้
อย่างไรก็ตามหากประชาชนโพสต์รูปหรือข้อความลงกลุ่มเพื่อน ซึ่งมีสมาชิกไม่กี่คน และไม่มีเจตนาในการโฆษณาก็ไม่มีความผิด ส่วนโฆษณาที่มีความผิดส่วนใหญ่จะเป็นการเชิญชวนไปซื้อตาม เช่น การรีวิว ที่โดนเต็ม ๆ แน่นอน
แล้วประเทศอื่นเขาใช้วิธีไหนกันบ้าง?
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าที่แต่ละประเทศมีกฎหมายควบคุมแตกต่างกันไป ทั้งในการดื่มกิน และการโฆษณา บางประเทศแบนการโฆษณาแอลกอฮอล์ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะในทีวี วิทยุ จนถึงโซเชียลมีเดีย ด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรมและศาสนา
สำหรับประเทศที่การพูดถึงแอลกอฮอล์ทุกช่องทาง ได้แก่ :
นอร์เวย์ ลิทัวเนีย รัสเซีย อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ อียิปต์ แกมเบีย คูเวต ลิเบีย ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน
นอกเหนือจากนี้ยังมีเรื่องข้อกำหนดของอายุขั้นต่ำในการดื่ม ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ใช้กฎนี้ โดยจะกำหนดอายุกลุ่มคนที่จะทำการตลาดด้วย อย่างประเทศไทยก็ใช้เกณฑ์อายุเกิน 20 ปี เป็นต้น
คำถามสำคัญที่ชาวเน็ตกำลังสงสัย คือกฎหมายดังกล่าวมีความ "เป็นกลาง" ต่อประชาชนอย่างพวกเรามากน้อยเพียงใด กฎเกณฑ์หรือดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ว่าโพสต์ของเราเข้าข่ายไหม กรุ๊ปเพื่อนของเรามีขนาดใหญ่หรือเล็กนั้นมีมาตรฐานในการวัดอย่างไร ประเด็นเหล่านี้ดูเหมือนจะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ที่รู้ ๆ คือ ห้ามโพสต์รูปเบียร์ ไม่งั้นโดนปรับ!
แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไรกับมาตรา 32?
--
อ้างอิง
ความเห็น 398
BooM
BEST
เป็นคนไม่ดื่มแอลกอฮลล์ทุกชนิด ไม่มีอะไรให้โพสต์ขัดกฏหมายนี้หรอก แต่ก็นึกไม่ออกว่าสังคมจะได้ประโยชน์อะไรจากกฏหมายนี้? สมมติไม่มีใครโพสต์ผิดกฏหมายเลยแต่จำนวนผู้ดื่มก็เหมือนเดิม แล้วไงต่อ?
11 มิ.ย. 2563 เวลา 00.19 น.
ดุษฎี ผ่องโสภณ
BEST
เลิกผลิตเลิกนำเข้าไปเลยครับ
11 มิ.ย. 2563 เวลา 00.20 น.
BEST
ละเมิดสิทธิปชช.มากไปบ้าไปกันใหญ่แล้ว
11 มิ.ย. 2563 เวลา 00.11 น.
Oak Mans
แรง ไป...ไปงานเลี้ยง สังสรร
ถ่ายรูป สรวลสรร เฮ ฮา ย่อมต่องถ่ายติดรูป
เครื่องดื่ม เป็น ธรรมดา บนโต๊ะ
11 มิ.ย. 2563 เวลา 00.25 น.
Tao_Dec
ปัญญาอ่อนมาก ละเมิดสิทธิเกิน คณะกรรมการควบคุมฯและสสส.กลับไปพิจารณาตัวเองเหอะ ปิดกั้นทุกวิถีทางขนาดนี้%การดื่ม ที่อ้างว่าไม่ลดเนี่ยมันผิดทางหรืออ้างไปยังงั้นเผื่อของบเพิ่มในการรณรงค์ แล้วไอ้เรื่องพรบ.สุรา,ภาษีเหล้าหรือการกีดกันเรื่องคราฟท์เบียร์เนี่ยมันเอื้อกับรายใหญ่ที่ผลิตในบ้านเราป่ะ แทนที่จะได้ผลิตภัณฑ์ดีๆออกมาสร้างรายได้ให้ประเทศ คนดื่มก็ได้ดื่มของมีคุณภาพไม่ทำร้ายตัวเองมากอย่างเหล้าขาว ดูอย่างสาเกญี่ปุ่น หรือไวน์จากหลายประเทศ
11 มิ.ย. 2563 เวลา 00.31 น.
ดูทั้งหมด