ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวที่เป็นกระแสสุดร้อนแรงและสะเทือนขวัญต่อวงการสงฆ์ เมื่ออดีตพระใน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู ฆ่าตัวตาย โดยใช้เครื่องตัดคอ ‘กิโยติน’ ที่ตัดคอตัวเองเสียชีวิต ซึ่งเครื่องกิโยตินที่ใช้ในครั้งนี้ผู้เสียชีวิตได้ลงมือประกอบอุปกรณ์ด้วยตัวเอง การปลิดชีพตัวเองในครั้งนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่า ‘ถวายเป็นพุทธบูชา’ ท่ามกลางลูกศิษย์ที่ทราบเรื่อง ก่อนชำแหละเครื่อง ชะล้างสถานที่ประหนึ่งไม่เคยเกิดเรื่องดังกล่าว จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเชื่อดังกล่าว
จากเหตุการณ์สยองขวัญดังกล่าว #เสาร์นี้ในอดีต จะพาไปรู้จักเครื่องประหารชีวิตสุดสยอง อย่าง ‘กิโยติน’ โดยจุดกำเนิดเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสและเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1792 คนแรกที่ถูกประหารด้วยกิโยตินคือ นายนีกอลา ฌัก แปลตีแย (Nicolas J. Pelletier) ซึ่งเป็นโจรปล้นสัญจร
เจาะลึกเครื่อง ‘กิโยติน’
‘กิโยติน’ เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อใช้ตัดคอนักโทษ โดยโครงสร้างประกอบไปด้วยไม้ ส่วนด้านบนจะมีใบมีดขนาดใหญ่ที่ถูกเชือกดึงไว้ด้านบน ส่วนด้านล่างจะมีแท่นให้ผู้ถูกประหารวางศีรษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลงใบมีดดังกล่าวจะตัดศีรษะผู้ถูกประหารทันที
ผู้ริเริ่มและคิดค้นการทำงานของเครื่องคือ นายแพทย์อ็องตวน หลุยส์ สมาชิกสมาคมศัลยศาสตร์ โดยเครื่องกิโยตินตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า หลุยซอง (Louison) หรือ หลุยเซท (Louisette) แต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กิโยติน" ตามชื่อของ ดร.โฌเซฟ-อินแนซ กิโยแตง (Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ ภายหลัง ดร.กิโยติน ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุล เป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต
ซึ่งเครื่องประหารสุดหลอนชิ้นนี้ก็ต้องถูกเก็บเข้ากรุในช่วงวันที่ 10 กันยายน 1977 (พ.ศ.2520) ผู้ที่โดนประหารรายสุดท้ายได้ก่อคดีข่มขืนและฆ่า
ความเจ็บปวด!!
ในการตัดคอมีหลายครั้งที่ตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรก ทำให้เกิดความทรมานต่อผู้ถูกประหารชีวิต การใช้กิโยตินจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สมัยนั้นได้พยายามบันทึกระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ หลังจากถูกตัดหัว และมีรายงานหลายครั้งว่า ศีรษะที่ถูกตัดออกมานั้นยังคงมาสามารถกระพริบตา และขยับปาก คล้ายกับการพยายามพูดหรือกรีดร้องได้อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีการคำนวณว่า สมองของเราจะมีออกซิเจนที่สะสมอยู่มากพอที่จะทำคำสั่งง่ายๆ อย่างเช่น ขยับลูกตาหรือปากได้ประมาณ 7 วินาที และในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนอย่างน้อย 20,000 คน
จากประโยคที่ว่า ‘กิโยตินจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด’ จนนำไปสู่การตั้งคำถามในโลกออนไลน์เมื่อ ปี พ.ศ.2557 ที่ว่า “คนที่โดนตัดหัว ในทางวิทยาศาสตร์ รู้สึกเจ็บปวดทันไหม..” นั้น ได้มีผู้เข้ามาตอบกระทู้นี้เช่นกันพร้อมระบุว่า
“ถ้าหากเราโดนตัดหัวก้านสมองจะยังไม่เสียหายในตอนที่คมมีดลงไปที่คอจนคอขาดและความดันเลือดในสมองก็ยังไม่ตกลงจนหมดสติไป ดังนั้น จะสามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้
แต่มีการวิเคราะห์กันว่าการถูกตัดด้วยดาบ แบบฟันฉับเดียวขนาดในเสี้ยววินาที กรณีแบบนี้จะไม่เจ็บปวดมากนักเพราะเซลล์และ receptor ถูกทำลายไม่มาก คือขาดไปเลยในทันทีแต่การสังหารโดยวิธี เฉือน จะเจ็บปวดมาก”
รวมถึงการประหารชีวิตด้วยกิโยตินเรื่องระยะเวลาก็เป็นส่วนสำคัญ ซึ่งในกระทู้ดังกล่าวได้เผยว่า “ใน 5 วิ แรงดันเลือดในสมองจะลดฮวบ ระยะเวลานี้จะรู้สึกเจ็บ แต่ถ้าภายใน 10 วิ แรงดันจะใกล้ 0 เซลล์สมองส่วนที่รับรู้ความเจ็บปวดจะขาด ออกซิเจนและกลูโคส แปลความเจ็บไม่ได้ คือไม่เจ็บสรุป น่าจะเจ็บไม่กี่เพียงวินาที”
ขณะที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ ted.com ได้ระบุถึงการตอบสนองความเจ็บปวดของสมองว่า ความเจ็บปวดมีระดับความรุนแรงโดยสามารถวัดเป็นระดับได้ จาก 0 ซึ่งไม่เจ็บปวด จนถึง 10 เจ็บปวดที่เกินกว่าจะจินตนาการ เมื่อเราได้รับบาดเจ็บ เนื้อเยื่อเซล์ประสาทที่รับรู้ความเสียหายในเนื้อเยื่อ ที่เรียกว่าโนซิเซ็ปเตอร์ จะรับรู้และส่งสัญญานความเสียหาย ไปยังไขสันหลัง แล้วตรงต่อไปยังสมองนั้นเอง
ขอบคุณข้อมูล wikipedia.org , theparisreview, pantip.com,universescif
ความเห็น 84
สุจินต์ กิตติบงกช
BEST
งมงายมาก ควรทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา ไม่ใช่ฆ่าตัวตาย
24 เม.ย. 2564 เวลา 00.01 น.
Sung
BEST
เค้าไม่ให้เสนอข่าวแบบนี้ อ่านข่าวกันบ้างนะ
24 เม.ย. 2564 เวลา 00.46 น.
oah
BEST
บูดชอบฝรั่งเศส....น่าจะใช้กะบูดได้
24 เม.ย. 2564 เวลา 00.04 น.
Marc marquez
เมื่อวานนี้กรมสุขภาพจิตพึ่งแจ้งเตือนสื่อให้ควรหยุดเสนอข่าวประเภทนี้ ซ้ำๆวนไปวนมา ซึ่งก็อย่างที่เห็นไม่มีผลอะไรกับสื่อยุคนี้จริงๆ
24 เม.ย. 2564 เวลา 00.37 น.
Kristt Pentan
สื่อประเภทไหนวะ ไร้สำนึก จริง ๆ
24 เม.ย. 2564 เวลา 03.21 น.
ดูทั้งหมด