ครู กรุงเทพคริสเตียน ถอดกระบวนการเรียนรู้ ‘ชุดไปรเวต’ ทำให้รู้จักน.ร.มากขึ้น ตอบคำถามถ้ามีเด็กปีนรั้วเข้าร.ร. จะทำยังไง
“เครื่องแบบ” ชุดนักเรียน กับระบบการศึกษา นั้นเคียงคู่อยู่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมมาโดยตลอด
ล่าสุด คุณครูโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน เจ้าของเฟซบุ๊ก Kosum Runglaksameesee ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใส่ชุดไปรเวทมาเรียน ในมุมมองของผู้สอนที่ได้สัมผัสกับนักเรียน โดยปราศจากเรื่องการเมือง ว่า
“ข้อความยาวนะคะ และขอความกรุณาไม่ดราม่าใดๆ นะคะ ไม่เกี่ยวกับการเมืองค่ะ
จากภาพนี้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เห็นอะไรกันบ้างคะ
– เห็นเสื้อผ้าแบรนด์เนม
– เห็นคนนอนหลับอยู่ที่พื้น 2 คน
– เห็นคนยืนหันหลัง 11 คน
– เห็นเด็กใส่ชุดนักเรียน 1 คน
– เห็นคนแต่งไปรเวท 10 คน
– เห็นความเป็นตัวตนของคน 11 คนจากเสื้อผ้าที่แต่ละคนสวมใส่
– เห็นความหล่อของทั้ง 11 คนจากด้านหลังของพวกเขา
– เห็นความสุขกระจายอยู่ในใบหน้าของทั้ง 11 คน
– ฯลฯ
เพื่อนๆทาง FB ของเราส่วนใหญ่ น่าจะทราบดีว่าทุกๆ วันอังคาร เด็กๆ ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนฯ สามารถใส่ชุดไปรเวท มาเรียนหนังสือได้ ข้อปฏิบัตินี้มีมาประมาณสัก 3-4 ปีได้แล้ว ตอนที่โรงเรียนจะเริ่มทำ มีความกังวลและคำท้วงติงจากผู้เกี่ยวข้องมาจากหลายภาคส่วน
โดยทางโรงเรียน‘took every comment and remark into consideration and finally chose to cautiously and carefully took a step forward’
นับจากวันอังคารแรกที่นักเรียนเริ่มแต่งชุดไปรเวทมาโรงเรียนจนถึงวันนี้ เราพบว่าเราได้ประโยชน์จากข้อปฏิบัตินี้หลายอย่าง
ขออนุญาตยกตัวอย่างประโยชน์ที่เราเห็นชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เราได้เห็นและได้รู้จักเด็กแต่ละคนมากขึ้น ได้เห็นความเป็นปัจเจกของพวกเค้าผ่านรสนิยมการแต่งกาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สำหรับคนที่เป็นครู จะรู้ดีว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยพวกเราในการพัฒนาเด็กให้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละคน
เมื่อ 2-3 วันก่อน เห็นเด็กๆ และเพื่อนครูแชร์เพจที่พูดถึงการแต่งไปรเวทวันอังคารของโรงเรียนเราโดยไปขุดข่าวเมื่อสามสี่ปีที่แล้ว ตั้งแต่วันอังคารแรกที่เด็กๆ ใส่ชุดไปรเวทมาโรงเรียน และ เขียนย้ำว่าการแต่งไปรเวทของนักเรียนต้องใช้เงินถึงสามแสนบาท ซึ่งข้อเท็จจริงคือค่าเสื้อผ้าแค่หลักร้อยหลักพันแต่เป็นนาฬิกาที่มีราคาเกือบสามแสน เราว่าการสื่อแบบนี้ เป็นการสื่อสารที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์และหวังให้ผู้อ่านเข้าใจผิด เป็นเรื่องไม่ยุติธรรมกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
เด็กๆ ที่โรงเรียนบางคนใส่นาฬิการาคาแพงมาโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นวันแต่งชุดนักเรียนหรือชุดไปรเวทก็ตาม
เราในฐานะครูฐานะโรงเรียนไม่อาจบังคับให้เด็กๆ ทำตามใจตามความต้องการของเรา แต่ละครอบครัวมีความคิด ความเชื่อ และมีหลักปฎิบัติต่างกันไปตามกรอบและเงื่อนไขของครอบครัวนั้นๆ และถ้ากรอบและเงื่อนดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบในทางลบต่อนักเรียนคนอื่นๆ หรือต่อโรงเรียน เราเชื่อว่าการก้าวล่วงกรอบหรือเงื่อนไขนั้นไม่ใช่สิ่งที่พวกเราในฐานะครูควรทำ
‘There’s no one best practice.’ ไม่รู้ใครกล่าวไว้
แต่ที่เขียนมาซะยืดยาวไม่ได้ต้องการจะบอกว่าอะไรดีหรืออะไรไม่ดี ไม่ได้ต้องการจะสื่อว่าการแต่งชุดไปรเวทมาโรงเรียนเป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ แต่อยากจะบอกว่าสิ่งที่แต่ละคนแต่ละองค์กรควรทำหรือมีสิทธิ์ที่จะทำคือ เลือกปฏิบัติในสิ่งที่เชื่อว่าดีว่าเหมาะสมกับตนกับองค์กรของตน แค่นั้นจริงๆ
- มีหลายคนถามว่ากรุงเทพคริสเตียนจะทำอย่างไรหากเกิดกรณีแบบน้องนักเรียนปีนเข้าโรงเรียนที่เป็นกระแสอยู่ตอนนี้
เราถามตนเองและคุยกับเพื่อนครูที่โรงเรียนหลายท่าน ได้คำตอบไปในทางเดียวกันว่าสำหรับโรงเรียนเราแล้วเรื่องแบบนี้ไม่ใช่ปัญหาและเกือบไม่น่าจะมีโอกาสลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โตเลย ลูกศิษย์ของเราจะเดินเข้ามาในโรงเรียนได้อย่างสง่าผ่าเผย เราจะรับฟังความคิดความต้องการของเค้า จะพยายามหาข้อมูลว่าเค้าอยากสื่ออะไรถึงพวกเรา พยายามหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน เพื่อให้ทั้งเค้าและเรา ‘ทั้งนักเรียนและครู อยู่ในโรงเรียนร่วมกันได้อย่างมีความสุข’
#สปิริตเดียวกันสำคัญมั่นกว่า แต่เพื่อนบอกให้แฮชแท็กว่า #นาฬิกาของใครก็ให้หนักข้อมือของคนคนนั้น 555″
ความเห็น 7
Ten🔟
นี่แหละความเหลื่อมล้ำ คนรวยก็สบายๆคนจนก็ใส่ซ้ำๆ สักพักคงแบ่งแยกกัน เพราะการแต่งกาย
21 มิ.ย. 2566 เวลา 03.28 น.
WasBurana
ฟังดูดี แต่ นักเรียนเขาไม่เอาเรื่องเหยียดแบบนี้มาเล่าให้ครูฟังหรอกค่ะ ครูไม่ได้อยู่กับ นร.ตลอดเวลา เวลาเข้าจับกลุ่มซุบซิบ ครูจะได้ยินหรือคะ
ครูเคยโดนที่ทำงานซุบซิบมั่ยคะ
มันไม่ใช่เรื่องใหญ่โต แต่มันฝังใจกันได้ค่ะ
21 มิ.ย. 2566 เวลา 04.45 น.
Nui Under
หยกไปเรียนที่นี่เลย หนับหนุน ให้แม่บุ้งส่งเรียนนะ แม่แท้ๆหายไปแล้ว
21 มิ.ย. 2566 เวลา 05.09 น.
Chotika789
ขอชื่นชมแนวคิดของคุณครูในการรับมือกับเด็กที่คิดและปฏิบัตินอกกรอบ…สุดยอดค่ะ
21 มิ.ย. 2566 เวลา 03.33 น.
Planoi
ทำไมใส่แค่วันอังคารวันเดียวในเมื่อทุกคนดูมีความสุขดี เริ่มมาสี่ปีแล้วน่าจะขยายเพิ่มเป็นทุกวัน หรือวันเว้นวันเช่น จ พ ศ
21 มิ.ย. 2566 เวลา 12.01 น.
ดูทั้งหมด