เมื่อให้พูดถึง 'เรือดําน้ํา' เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึงการจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อของหน่วยราชการ ซึ่งในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา มักจะปรากฏบนหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้งจนเกิดข้อกลหา ถึงปัจจุบันจะได้สั่งถอนงบเรือดำน้ำปี 65 โดยยืดเวลาออกไป เพื่อชะลอการจัดซื้อก็ตาม
เสาร์นี้ในอดีต : สัปดาห์นี้เราอาจไม่ได้ลงลึกรายละเอียดของงบการจัดซื้อแต่อย่างใด แต่เพียงนำเสนอในสิ่งที่คุณเองก็คาดไม่ถึงและเป็นที่รู้กันดีว่าประเทศไทยมีวันสำคัญต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึง 'วันเรือดำน้ำ' ซึ่งตรงกับทุกวันที่ 4 กันยายนของทุกปี และมีสำคัญอย่างไร LINE TODAY ได้หาคำตอบมาให้
ไม่ว่าเรื่องราวจะเล็กน้อยหรือใหญ่โตเพียงใดก็ต้องผ่านจุดเริ่มต้นเสมอ
'วันเรือดำน้ำไทย' ต้องย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2480 ซึ่งผ่านมาแล้วกว่า 84 ปี จุดเริ่มตรงจาก เรือทั้ง 2 ลำอย่าง 'เรือหลวงมัจฉาณุ-เรือหลวงวิรุณ' ไม่ว่าจะผ่านมาเพียงใดก็ยังคงเป็นเรือดำน้ำที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งครั้งนั้นไทยได้รับมาจาก บริษัท มิตซูบิชี โชยีไกชา จำกัด แห่งเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาการว่าจ้างต่อเรือดำน้ำ
ซึ่งคู่สัญญาการว่าจ้างต่อเรือดำน้ำนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ 2 ลำที่กล่าวในข้างต้น แต่ยังคงมีเรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ถึงปัจจุบันจะเหลือเพียงหอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องส่อง แต่ยังคงจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
ใช้เวลาเพียง 24 วัน ถึงประเทศไทย
เรือหลวงมัจฉาณุ ,เรือหลวงวิรุณ,เรือหลวงสินสมุทร และ เรือหลวงพลายชุมพล เป็นเรือดำน้ำรักษาฝั่งขนาดเล็ก ซึ่งระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน โดยออกเดินทางจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2481 และเดินทางถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2481 โดยใช้เวลาเพียง 24 วันเท่านั้น นับเป็นครั้งแรกที่ราชนาวีไทยมีเรือดำน้ำประจำการ สืบเนื่องจาก พ.ศ.2435 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จัดหาเรือดำน้ำโดยกำหนดว่า
ต้องมีตอร์ปิโดที่พร้อมรบ 10 ลูก ซึ่งสามารถยิงทางหัวเรือและท้ายเรือได้ 2 พร้อมกัน ซึ่งในยุคนั้นนับเป็นกองทัพเรือชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้าประจำการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2481 ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่ 2
งบเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ในอดีต
ถึงจะผ่านมาแล้วกว่า 84 ปี งบเรือดำน้ำนั้นก็สูงพอสมควร ซึ่งในปลาย พ.ศ. 2478 สภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ได้อนุมัติพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ใช้งบประมาณ 18 ล้านบาท โดยให้กองทัพเรือจัดการบำรุงกำลังทางเรือให้เสร็จภายในเวลา 5 ป
กว่าจะเป็นเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ก็ย่อมต้องผ่านเสนอสร้างโดยข้อตกลงนั้นตกเป็นของบริษัท มิตซูบิชี ที่เสนอราคาลำละ 820,000 บาท
งบ 65 แต่ถอยแล้ว !!
ไหน ๆ ก็หยิบงบประมาณในยุคนั้นมาเล่าแล้ว แต่ทว่าปัจจุบันตั้งแต่ ปี 2563-2565 เรียกได้ว่าเป็นข้อกังขาถึงงบประมาณการจัดซื้อเรือดำน้ำ ในช่วงนี้ ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด ซึ่งจากหลายฝ่ายเกรงว่าในช่วงนี้ไม่เหมาะกับการจัดสรร ซึ่งในปี 63 และ ปี 64 ที่ผ่านมา ทร.ได้ส่งคืนงบประมาณ จำนวน 3,375 ล้านบาท และ 3,425 ล้านบาท ส่งคืนให้รัฐบาลร่วมถึงปี 65 เช่นกัน
สิ้นสุดเรือดำน้ำ 4 ลำ ในอดีต
30 พฤศจิกายน 2494 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ต้องปลดประจำการ เนื่องด้วย ขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก ซึ่งเรือดำน้ำทั้งหมดได้รับใช้ราชการในกองทัพเรือเป็นเวลากว่า 14 ปีเต็ม
'นับว่าเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยมีเรือดำน้ำ และเชื่อว่าในอนาคตไทยอาจมีเรือดำน้ำลำใหม่ไม่ช้าก็เร็ว แล้วคุณคิดว่าควรมีประจำการไว้หรือไม่ ? '
อ้างอิง
ความเห็น 97
ถ้าเปลี่ยนเป็น ขีปนาวุธ ที่สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ และมีระยะพิสัยไกล ยิงข้ามทวีปได้ จะน่าสนใจกว่า และชาติใด ๆ ก็ต้องเกรงกลัว เช่นเดียวกับเกาหลีเหนือ จึงจะน่าซื้อ เพราะถึงแม้เรือดำน้ำจะดำน้ำอยู่ ก็จะถูกขีปนาวุธ สอยร่วงไปได้ และเรือดำน้ำที่จัดซื้อ เป็นแบบยิง ดอร์ปิโดแบบรุ่นเก่า มีความสามารถทำลายเฉพาะที่อยู่ใน หรือบนผิวน้ำเท่าน้น ไม่ใช่แบบใหม่ที่สามารถยิงขึ้นฟ้าได้
11 ก.ย 2564 เวลา 06.34 น.
วัน...one..
แล้วเรือดำน้ำที่เรามีไปไหน ก็เอามาใช้สิ รถไฟไทย 80 ปีก็ยังใช้อยู่นี่นา จะได้ไม่เปลืองงบ
10 ก.ย 2564 เวลา 18.51 น.
ปรีชา
พูดใดัดีมากครับคุณaoy
10 ก.ย 2564 เวลา 16.24 น.
ปรีชา
ควรมีไว้ป้องกันประเทศไทย
10 ก.ย 2564 เวลา 16.21 น.
Johnni
แล้ววันคอมมิชชั่นเรือดำน้ำวันไหนครับ
10 ก.ย 2564 เวลา 15.25 น.
ดูทั้งหมด