ในฐานะเจ้าของบ้าน เราจำเป็นต้องรู้จักข้อดี – ข้อเสียของ วัสดุหลังคา ที่เราจะใช้สำหรับต่อเติม ทำกันสาด หรือซ่อมแซ่มบ้านกันเสียหน่อยค่ะ จะได้เลือกของได้เหมาะสมกับการใช้งานของเราด้วยตัวเองได้ ไม่ถูกช่างหลอกซึ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่เราจะทำความเข้าใจกันเพื่อจะได้เลือกใช้วัสดุได้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของเรา
วัสดุก่อสร้าง หลังคา แบ่งตามประเภทได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบทึบแสง กับ แบบโปร่งแสง
1. แบบหลังคาทึบแสง มีวัสดุ 3 ชนิดดังต่อไปนี้ ( แอดขอเรียงลำดับจากราคาแพงสูดไปหาราคาถูกสุดนะคะ )
- ไวนิล(UPVC)
ไวนิล เป็นแผ่น PVC กระบวนการผลิตคล้ายการฉีดโฟม ทำให้มีน้ำหนักเบา ช่วยกันความร้อนได้ โดยไม่ต้องบุฉนวนกันความร้อนเพิ่ม โดยแผ่นไวนิลมีให้เลือกหลากหลายแบบ คุณสมบัติส่วนใหญ่เหมือนหรือต่างกันที่รูปร่างลักษณะ ของลอนแผ่นเท่านั้นเอง
ข้อดี
-ป้องกันรังสี UV
– กันความร้อนได้ดีมาก
-เนื่องจากแผ่นไวนิลเป็นแบบตัน หนาถึง 7 มม. จึงช่วยดูดซับเสียงทำให้ไม่เกิดเสียงกระหึ่มเวลาฝนตกหนัก
-อายุการใช้งานยาวนานนับ 10 ปี
-รูปลักษณ์สวยทันสมัยเข้ากับบ้านได้หลายสไตล์
ข้อเสีย
– ระยะโครงต้องได้ตามมาตรฐาน
– สีอาจจะหมองลงตามอายุการใช้งาน
– มีราคาแพง
- APVC,PVC
มีรูปลักษณ์คล้ายกับ เมทัลชีทมาก แต่มีราคาที่สูงกว่าด้วย วัสดุแผ่นจะเป็น 3 ชั้น ไส้ตรงกลางเป็นฉนวนกันร้อนทำให้ช่วยดูดซับความร้อนได้ดี และเสียงก็ไม่ดังเท่าแผ่นเมทัลชีท
ข้อดี
-ราคาไม่แพง
-น้ำหนักเบา
-มีสีให้เลือกเยอะ
-ติดตั้งง่าย
-เสียงเบากว่าเมทัลชีท
ข้อเสีย
-เสียงดัง
-แผ่นขยายตัว
-สีอาจจะซีดจาง
-ไม่ทนความร้อน จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท
- เมทัลชีท
“เมทัลชีท” หลังคาเหล็กรีดลอน มาพร้อมอุปกรณ์ติดตั้งครบชุด สามารถติดตั้งได้ง่ายน้ำหนักเบา และสามารถดัดองศาได้มากตามต้องการ
ข้อดี
-ติดตั้งง่าย
-ราคาถูก
-มีหลายสีให้เลือก
– น้ำหนักเบา
ข้อเสีย
-ใต้กันสาดสะสมความร้อน ต้องบุฉนวน
-เวลาฝนตกเสียงจะดังมากกกกก
-เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทค่อนข้างบาง ทำให้เสียรูปง่าย
2. แบบหลังคาโปร่งแสง มีวัสดุ 4 ชนิดดังต่อไปนี้ ( แอดขอเรียงลำดับจากราคาแพงสูดไปหาราคาถูกสุดนะคะ )
- อะคริลิก
แผ่นชินโคไลท์ เป็นแผ่นอะคริลิกชนิดนึง ที่มีคุณสมบัติกัน UV และรังสี อินฟราเรด ทำให้มีคุณสมบัติกันความร้อนดีกว่าแผ่นโปร่งแสงอื่นๆ ความหนา 6 มม. โดยอุปกรณ์ติดตั้งต้องผ่านมาตรฐานที่ทางผู้ผลิตกำหนดและหาซื้อได้จากร้านตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น
ข้อดี
-สวย ทันสมัย
-ความใสเท่ากระจก
-มีรุ่นกันรังสีอินฟราเรดและรังสีUV ทำให้ไม่ร้อน
ข้อเสีย
-ราคาสูง
-อุปกรณ์เฉพาะทำให้หาซื้อยาก
-แผ่นทนแรงกระแทกได้ไม่มากเนื่องจากมีความยืดหยุ่นน้อย และขยายตัวมาก (ต้องเว้นระยะแผ่นดีๆ)
- โพลีคาร์บอเนต
แผ่นหลังคาโปร่งแสงที่ได้รับความนิยมมานานมี 2 แบบคือแบบลอนลูกฟูก 2 ชั้นมีช่องอากาศตรงกลาง และแบบแผ่นตัน มีแบบใส-ผิวเปลือกส้ม โดยจะมีราคาแตกต่างกัน มีหลายสี สวยดูทันสมัย
ข้อดี
-สวยงาม
-มีให้เลือกหลายสี
-เคลือบสารกันรังสี UV
-มีหลายเกรดเลือกได้ตามงบ
ข้อเสีย
– ใต้ชายคายังร้อนเพราะแสงส่องผ่านได้
– แสงส่องผ่านมีสีเข้มตามสีแผ่น เช่น แผ่นสีเขียว แสงที่ส่องเข้ามาก็จะมีสีเขียว
– เวลาฝนตกก็จะมีเสียงดัง
- Apvc,PVC (แผ่นใส)
เป็นแผ่นหลังคาชนิดที่ไม่มีพลาสติกเป็นส่วนผสมทำให้แผ่นไม่ค่อยยืดหยุ่น ไม่เหนียวเท่าพวก UPVC (UPVC = Unplastizide Poly Vinyl Chloride) มีทั้งแบบสีๆ และสีขุ่น น้ำหนักเบาแต่ถ้าใช้งานไปเรื่อยๆ สีอาจจะเริ่มขุ่นหมองลงบ้างนิดหน่อย ปริมาณแสงที่ส่องผ่านประมาณ 40%
ข้อดี
-ตัวแผ่นมีทั้งแผ่นใส และแผ่นสี สามารถซ้อนลอนกันได้พอดีทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง
-ออกแบบเว้นช่องแสงได้เลย
ข้อเสีย
-สะสมความร้อนใต้โครงอยู่บ้าง
-มีเสียงเวลาฝนตก
- ไฟเบอร์กลาส (ดีไลท์)
แผ่นโปร่งแสงที่มีส่วนผสมของเส้นใยไฟเบอร์กลาส ทำให้แสงที่ส่องผ่านลงมาด้านใต้ นุ่ม ละมุน สบายตา
ข้อดี
-แสงสบายตา
-เสียงแน่นกว่าโพลีคาร์บอเนตนิดหน่อย
-ราคาไม่แพง
-ไม่สะสมให้เกิดตะไคร้น้ำ
ข้อเสีย
-เสียงยังถือว่าดัง แต่ไม่กระหึ่มเท่าเมทัลชีท
-แผ่นบาง 1.2 มม. ทำให้แผ่นพลิ้วเปิดได้
เสียง (น้อย–> มาก) :ไวนิล < APVC < อะคริลิก < แผ่นไฟเบอร์กลาส < โพลีคาร์บอเนต < เมทัลชีท
ความร้อน(น้อย–> มาก) : ไวนิล < อะคริลิก(Shinkolite รุ่นกันร้อน) < โพลีคาร์บอเนต เกรดA < แผ่นไฟเบอร์กลาส < APVC < โพลีคาร์บอเนต เกรดธรรมดา < เมทัลชีท(แบบไม่บุฉนวน)
ราคา (มาก–> น้อย): อะคริลิก(Shinkolite) > ไวนิล > โพลีคาร์บอเนต เกรดA >แผ่นไฟเบอร์กลาส > APVC > โพลีฯ เกรดธรรมดา > เมทัลชีท
ความทนทาน(มาก–> น้อย) : เมทัลชีท > ไวนิล> APVC>โพลีคาร์บอเนต เกรดA > อะคริลิก(Shinkolite) > แผ่นไฟเบอร์กลาส > โพลีคาร์บอเนต เกรดธรรมดา
ทั้งนี้อายุการใช้งานของแผ่นไวนิล/ โพลีคาร์บอเนต / ดีไลท์ ถ้าเป็นเกรด A จะอยู่ที่ 10 ปี ทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า และสภาพแวดล้อม แต่ถ้าเป็นเกรดทั่วไป อายุการใช้งานก็ประมาณ 5-6 ปี นะจ๊ะ
ความเห็น 0