โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ไขข้อข้องใจ! เหตุใด ญี่ปุ่น เป็นประเทศเดียวในโลกที่ซื้อของแล้ว “ห้ามต่อราคา”

เส้นทางเศรษฐี

อัพเดต 18 ธ.ค. 2562 เวลา 06.07 น. • เผยแพร่ 18 ธ.ค. 2562 เวลา 06.07 น.
80241091_740777189759777_6467164336145039360_n

ไขข้อข้องใจ! เหตุใด ญี่ปุ่น เป็นประเทศเดียวในโลกที่ซื้อของแล้ว “ห้ามต่อราคา”

วันก่อน หน้ากระดานสนทนาบนเว็บ Pantip มีกระทู้คำถาม

“ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในโลกที่เวลาเราไปเที่ยว แล้วซื้อของไม่ว่าจะข้างทางหรือในห้าง เราไม่สามารถต่อรองราคาได้เลยเหรอ…เห็นหลายๆคนบอกว่า เวลาซื้อของที่ญี่ปุ่นไม่สามารถขอลดราคาได้ ราคาไหน ราคานั้น ห้ามต่อ เป็นแบบนี้ทุกที่ในญี่ปุ่นจริงเหรอครับ ไม่มีร้านไหน สามารถต่อราคาได้เลยเหรอ แม้แต่ร้านข้างทาง แบกะดิน …อ่านในคอมเม้นต์มา บอกว่า การต่อราคาในญี่ปุ่น เป็นการเสียมารยาทด้วย”

ก่อนจะมีสมาชิก บางส่วนเข้าให้ข้อมูลน่าสนใจ อาทิ

“…ญี่ปุ่น มีมาตรฐานการกำหนดราคาของสินค้าให้กับสินค้าทุกชนิดและการขายทุกรูปแบบ ดังนั้นราคาที่ขายกัน คือ ราคาที่ถูกต้องอยู่แล้ว การไปต่อรองราคาจึงถือว่าผิดปกติ และค่อนข้างแปลกสำหรับคนญี่ปุ่น แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นเสียมารยาทอะไรมากมาย แค่คนญี่ปุ่นเองปกติไม่ต่อกัน แต่ถ้าอยากลองต่อดูก็ลองได้ แต่ดูดีๆ นะว่าคนขายเค้าเป็นมิตรรึป่าว คนญี่ปุ่นอาจไม่ได้เป็นมิตรทุกคน”

“การค้าขายก็ต้องเอากำไรอยู่แล้ว ต่อราคาได้หรือไม่ไม่ได้เกี่ยวกับได้กำไรมากหรือน้อย แต่เป็นวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่ง ถ้าไทยๆ ก็คงบอกว่า คุณไปต่อราคา คือ คุณผิดผีเค้านั้นแหละ เรื่องที่ผิดผีในบ้านเราหลายๆ เรื่องก็ไม่ใช่เรื่องที่ตัดสินได้เป็นรูปธรรม มันเป็นกฎเกณฑ์ของสังคม”

“ในญี่ปุ่น ไม่ว่าชนบทแค่ไหน ของที่ขายล้วนมีป้ายราคาบ่งชี้ชัดเจน. ซึ่งทำให้ตัดสินได้ว่าจะซื้อหรือไม่ ไม่ซื้อก็ไม่ซื้อจบ ไปหมู่บ้านออนเซ็นท่ามกลางหุบเขา โต๊ะขายของชาวบ้าน ข้างสถานีรถไฟก็มีป้ายเขียนมือบอกหมด”

ด้านไกด์หนุ่มมากประสบการณ์และความสามารถ อย่าง คุณอัมรินทร์ โภคา ให้ข้อมูลเรื่องเดียวกันนี้ กับ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ว่า  บรรยากาศค้าขายในประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นระดับชาวบ้าน ข้างทาง แบกะดิน หรือ สเกลใหญ่กว่านั้น เท่าที่พบส่วนใหญ่ไม่มีการ “ต่อราคา” กันเหมือนตลาดทั่วไป ส่วนเหตุผลน่าจะมาจากการที่ญี่ปุ่น ไม่มีการตั้ง “ราคาคนต่างชาติ” เหมือนกับบางประเทศ  ที่ผ่านมา เขาจึงต้องอธิบายให้บรรดา “ลูกทัวร์” น้อยใหญ่ เข้าใจตรงกัน เพราะโดยพื้นนิสัยคนไทย มักเคยชินกับการต่อรองราคาอยู่แล้ว

“พออธิบายไปอย่างนี้ ลูกทัวร์ไทยหลายท่าน แปลกใจมาก บอกไม่เคยทราบมาก่อนเหมือนกัน และคิดว่าสามารถต่อรองราคาได้เหมือนประเทศอื่นๆ”คุณอัมรินทร์ เผยให้ฟังอย่างนั้น

แล้วถ้าเกิดเผลอตัวไปต่อราคา พ่อค้า-แม่ขายญี่ปุ่น จะมีปฏิกิริยาอย่างไร ไกด์หนุ่มท่านเดิมบอก เท่าที่พบ พวกเขาจะออกอาการ “งง-งง” เพราะเขียนป้ายราคาบอกไว้ชัดเจนแล้ว จะมาต่อทำไม แต่ไม่ถึงขั้นด่าทอต่อว่าลูกค้าแต่อย่างใด เพราะคนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่นอบน้อมกับลูกค้ามาก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0