โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ใช้ AIระบุอัตลักษณ์ ‘เจ้าทุย’ จดจำและจำแนก ‘ลายจมูก’

ไทยโพสต์

อัพเดต 28 ม.ค. 2565 เวลา 17.05 น. • เผยแพร่ 12 ม.ค. 2565 เวลา 11.18 น.

ในขณะที่ "ชาวนา" เปรียบเหมือน"กระดูกสันหลังของชาติ" คอยปลูกข้าวเลี้ยงคนในชาติให้อิ่มท้อง "เจ้าทุย" หรือ "ควาย" เปรียบได้กับ"กระดูกสันหลังของชาวนา" อีกทีโดยเป็นทั้ง "เครื่องมือ" ในการทำนา และเป็น "เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก" ของชาวนามานับตั้งแต่ที่มีการใช้ควายไถนาเกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก

รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิจัยนำโดย นายสัตวแพทย์อุดม เจือจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างกรมปศุสัตว์ รศ.ดร. นายสัตวแพทย์อนุวัตน์วิรัชสุดากุล คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมทั้ง นายสัตวแพทย์อภิชาติ ภะวัง นายสัตวแพทย์บพิธปุยะติ นายสัตวแพทย์สุรพงษ์ เสนาใหญ่ สัตวแพทย์หญิงธีราภรณ์ พรหมภักดี และสัตวแพทย์หญิงสุนิสา กินาวงศ์ คือกลุ่มนักวิจัยไทยที่เป็นกลุ่มบุกเบิก และไขความลับที่น่าอัศจรรย์ของธรรมชาติที่ว่า ในขณะที่ "คน" ใช้ "ลายนิ้ว" ในการระบุอัตลักษณ์ แต่กับ "ควาย" เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยากของชาวนานี้ ใช้ "ลายจมูก" ในการระบุตัวตนที่แตกต่าง จากการทุ่มเททำวิจัยโดยได้สัมผัสจริงกับชีวิตแห่งท้องทุ่ง

โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา รศ.ดร.วรพันธ์  ได้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างคุณูปการต่อวงการเกษตรไทย ด้วยการจำแนกเมล็ดพันธุ์ข้าวไทย จนสามารถคว้ารางวัลจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาในปี 2565 นี้ ผลงานนวัตกรรมของ รศ.ดร.วรพันธ์  สามารถสร้างชื่อคว้ารางวัลจากวช.ได้อีกครั้ง ในประเภทรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากการใช้เทคนิคMachine Learning เพื่อการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของ"กระบือปลัก" ซึ่งเป็นประเภทของควายที่พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยเรียกชื่อสายพันธุ์ตามอุปนิสัยที่ชอบอยู่ในปลักโคลนตามท้องไร่ท้องนา

จากในอดีตของประวัติศาสตร์ปศุสัตว์โลกที่ผ่านมาได้มีความพยายามด้วยวิธีการต่างๆ นานาที่จะจำแนก และระบุอัตลักษณ์ของปศุสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการดั้งเดิมที่ใช้เหล็กเผาไฟจนร้อนแล้วนาบลงบนตัวสัตว์ การเจาะหูติดเบอร์ มาจนถึงวิธีการฝังไมโครชิพ ซึ่งล้วนเป็นการทรมานสัตว์ ทำให้สัตว์ต้องได้รับความเจ็บปวด จากมากมาหาน้อย แม้วิธีการฝังไมโครชิพจะเป็นวิธีล่าสุดที่ทำให้สัตว์เจ็บน้อยที่สุด แต่กลับพบอุปสรรค ขาดความคล่องตัวจากการที่จะต้องอาศัยฮาร์ดแวร์ในการอ่านข้อมูล

ด้วยเทคนิคการใช้ Machine Learning เพื่อการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของ "กระบือปลัก" โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ "ลายจมูก" ที่ได้รับการค้นพบโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะวิจัยนี้นอกจากจะไม่ทำให้สัตว์เจ็บแล้ว ยังสามารถพัฒนาต่อยอดโดยใช้เป็นแพลตฟอร์มในการจดจำและระบุอัตลักษณ์ของสัตว์เศรษฐกิจประเภทอื่นๆ ต่อไปได้อีกในอนาคต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0