โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

อสังหาริมทรัพย์

แบบบ้านไม้กึ่งปูน 10 ข้อดี ข้อด้อย และวิธีการดูแลรักษางานไม้และงานปูน

DDproperty

เผยแพร่ 09 ม.ค. 2565 เวลา 06.37 น.
แบบบ้านไม้กึ่งปูน 10 ข้อดี ข้อด้อย และวิธีการดูแลรักษางานไม้และงานปูน
แบบบ้านไม้กึ่งปูน 10 ข้อดี ข้อด้อย และวิธีการดูแลรักษางานไม้และงานปูน

แบบบ้านไม้กึ่งปูน เป็นอีกหนึ่งแบบบ้านยอดนิยมของยุคสมัยนี้ โดยเป็นการผสมผสานวัสดุหลักอย่างไม้และปูนเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามโดดเด่นให้ตัวบ้านมีทั้งความคลาสสิกและโมเดิร์นแล้ว แบบบ้านไม้กึ่งปูนยังมีข้อดี ข้อด้อยอย่างไร รวมถึงวิธีการรักษาแบบบ้านไม้กึ่งปูนนั้นแตกต่างจากแบบบ้านอื่น ๆ หรือไม่ เป็นเรื่องที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจสร้างบ้านหรือซื้อบ้านที่เป็นแบบบ้านไม้กึ่งปูน

Subscription Banner for Article
Subscription Banner for Article

ข้อดีของแบบบ้านไม้กึ่งปูน

1. ​แข็งแรงทนทาน

แบบบ้านไม้กึ่งปูนที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมเป็นหลัก เป็นการผสมผสาน 2 วัสดุหลัก โดยใช้ปูนเป็นฐานรากและใช้ไม้ไว้ส่วนบน เนื่องจากปูนมีน้ำหนักมากกว่าไม้ จึงช่วยเสริมให้แบบบ้านไม้กึ่งปูนมีความความแข็งแรงทนทาน และยังถ่ายเทอากาศได้ดี ซึ่งเป็นจุดเด่นหลักของทั้งไม้และปูน

2. ประหยัดพลังงาน

หนึ่งในจุดเด่นหลักของแบบบ้านไม้กึ่งปูน คือเรื่องของการถ่ายเทอากาศ เนื่องจากไม้จะมีช่องลมช่วยระบายอากาศ และยังทำให้ภาพรวมของบ้านโปร่ง โล่ง สบาย ส่วนปูนก็สามารถดูดซับความเย็นของอากาศได้ดี ลดอุณหภูมิของบ้านที่อาจร้อนในช่วงเวลากลางวัน เมื่อนำมาใช้คู่กัน จึงเข้ากันได้อย่างลงตัว ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้

3. สวยงาม เข้ากันได้ลงตัว

ด้วยโทนสีและเนื้อวัสดุของไม้และปูน เมื่อนำมาออกแบบและตกแต่ง สามารถเข้ากันได้ลงตัวในงานสถาปัตยกรรม โดยปูนให้ความดิบ เท่ ในสไตล์ลอฟท์และอินดัสเทรียล ส่วนไม้ให้ความคลาสลิก ร่วมสมัยและคันทรีได้เป็นอย่างดี

เมื่อนำ 2 วัสดุมาผสมผสาน สามารถลดความแข็งกระด้างและคงความงดงามไว้ได้อย่างมีรสนิยม ง่ายต่อการเลือกนำเอาเฟอร์นิเจอร์มาจัดวาง สามารถตกแต่งแบบบ้านไม้กึ่งปูนให้ออกมาในสไตล์ร่วมสมัย ลอฟท์ อินดัสเทรียล หรือโมเดิร์นได้

บ้านปูนเปลือยราคาถูก ข้อดี-ข้อเสีย และ 4 ไอเดียฉาบปูนเปลือย
บ้านปูนเปลือยราคาถูก ข้อดี-ข้อเสีย และ 4 ไอเดียฉาบปูนเปลือย

Guide

บ้านปูนเปลือยราคาถูก ข้อดี-ข้อเสีย และ 4 ไอเดียฉาบปูนเปลือย

4. วัสดุหาง่าย ราคาไม่แพง

ไม้และปูนเป็นวัสดุก่อสร้างหลักที่หาซื้อได้ง่าย สำหรับใช้ในการวางฐานรากและตกแต่ง ในแง่ของราคา แบบบ้านไม้กึ่งปูนยังช่วยประหยัดงบประมาณได้ ถ้าเทียบกับแบบบ้านไม้ที่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลักเพียงอย่างเดียว เพราะไม้ดี ๆ ไม้เนื้อแข็งจะมีราคาค่อนข้างสูง ขณะที่ปูนนั้นมีราคาถูกกว่า

เมื่อผสมผสานทั้ง 2 วัสดุเข้าด้วยกัน ลดการใช้ไม้ลง ก็ทำให้แบบบ้านไม้กึ่งปูนเป็นอีกหนึ่งแบบบ้านประหยัดงบประมาณ ลดต้นทุนการปลูกสร้างได้สำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด  

4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อบ้านไม้ ข้อดี-ข้อด้อย และการดูแลรักษา
4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อบ้านไม้ ข้อดี-ข้อด้อย และการดูแลรักษา

Guide

4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อบ้านไม้ ข้อดี-ข้อด้อย และการดูแลรักษา

5. เสริมจุดเด่น กลบจุดด้อยระหว่างกัน

หากใช้งานไม้ทั้งหมดจะมีราคาแพง การเลือกใช้ปูนเป็นฐานราก ช่วยลดต้นทุนการปลูกสร้างได้ และถึงแม้ว่าไม้จะให้อารมณ์และความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าปูนที่อาจดูแข็งกระด้าง แต่ในทางกลับกัน ไม้ก็อาจเจอกับปัญหาจากปลวกที่มากวนใจ แต่ปูนช่วยกลบจุดด้อยดังกล่าวได้ ทั้ง 2 วัสดุ จึงเป็นส่วนเสริมระหว่างกันในการทำให้ภาพรวมแบบบ้านไม้กึ่งปูน มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

 

แบบบ้านไม้กึ่งปูนมีทั้งข้อดีและข้อด้อย
แบบบ้านไม้กึ่งปูนมีทั้งข้อดีและข้อด้อย

 

ข้อด้อยของแบบบ้านไม้กึ่งปูน

1. เสียงรบกวน

เมื่อนำไม้มาเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้าน อาจเจอกับปัญหาเสียงรบกวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเสียงยืดหดตัวของไม้ เสียงจากระบบพื้น/ผนังแบบโครงเบาของไม้ซึ่งสั่นสะเทือนง่าย เช่น ขณะเดินในบ้าน หรือขณะมีรถวิ่งผ่านหน้าบ้าน รวมถึงเสียงรบกวนทั้งจากนอกบ้านและในบ้าน ที่ลอดผ่านช่องรอยต่อไม้ฝา/ไม้พื้น

ปัญหาแบบบ้านไม้กึ่งปูน

วิธีแก้ไข

เสียงรบกวนจากร่องรอยต่อพื้นไม้       

ใช้กระเบื้องยาง พื้นไม้ไวนิล หรือพรม ปูวัสดุตกแต่งทับพื้นไม้เดิม เพื่อปิดร่องรอยต่อระหว่างพื้นไม้ หรือติดแผ่นฝ้าเพดานชั้นล่างใต้ท้องพื้น และฉนวนกันเสียงเหนือฝ้าเพดานเพิ่มเติม

เสียงรบกวนที่ลอดจากผนัง (แผ่นไม้ฝา)

ติดตั้งระบบผนังโครงเบาทับผนังไม้เดิม พร้อมตกแต่งผิวตามต้องการ อาจซ่อนฉนวนกันเสียงในผนังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียง

เสียงรบกวนตามร่องประตูหน้าต่าง

อุดปิดรอยต่อประตูหน้าต่าง เช่น ใช้หน้าต่างแบบมีบังใบ หรือติดบังใบเพิ่ม เสริมเส้นยางตามแนววงกบเพื่อให้ปิดได้สนิท หรือใช้ประตูหน้าต่างไวนิลซึ่งสามารถปิดได้สนิทกว่าประตูหน้าต่างแบบอื่น

เสียงรบกวนที่ลอดตามรอยต่อหลังคา

ติดตั้งฝ้าเพดาน พร้อมฉนวนกันเสียง หากต้องการโถงหลังคาที่ดูโปร่งโล่งและได้อารมณ์ใกล้เคียงบ้านไม้  สามารถติดฝ้าพร้อมฉนวนไปตามความลาดเอียงของหลังคา

2. ปัญหาปลวก

การใช้ไม้เป็นองค์ประกอบในการสร้างบ้าน แม้ว่าจะมีข้อดีในเรื่องของความแข็งแรง หากเกิดแผ่นดินไหว บ้านไม้จะมีความยืดหยุ่น คงทน และแข็งแรงมากกว่าบ้านปูน เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหว บ้านปูนจะเกิดรอยร้าวขึ้นได้ง่ายกว่า รวมทั้งมีปัญหาเรื่องความอับชื้น แต่บ้านไม้ก็มักจะมีปัญหาเรื่องของปลวก และแมลงต่าง ๆ ที่มากัดกินไม้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลรักษาไม้ รวมทั้งวิธีกำจัดปลวกไม่ให้เข้ามาก่อความเสียหายในตัวบ้าน

3. รั่วซึม สีหลุดรอก

ไม้อาจจะยืด-หด ตามสภาพอากาศ ทำให้ระหว่างช่องว่างของบ้านไม้ รอยต่อระหว่างไม้กับปูน อาจจะเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ นอกจากนั้นปูนมักมีปัญหาสีหมองง่าย หลุดลอกร่อน ทำให้ต้องมีการซ่อมบำรุง และหากออกแบบมาไม่ดี เลือกใช้โทนสีที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้บ้านดูมืดทึบอยู่แล้วอึดอัดได้ เรียกได้ว่ามีหลายองค์ประกอบที่ต้องใส่ใจมากขึ้นสำหรับแบบบ้านไม้กึ่งปูน

4. ราคาค่อนข้างสูง เสี่ยงงบบานปลาย

ในส่วนของไม้ที่นำมาใช้ในการสร้างแบบบ้านไม้กึ่งปูน เป็นต้นทุนที่มักมีราคาค่อนข้างสูง หากเป็นไม้เนื้อดี ไม้เนื้อแข็ง จะมีราคาแพงกว่าบ้านไม้แบบอื่น ๆ อีกทั้งในการสร้างหรือซ่อมบำรุงบ้านไม้ จะต้องใช้ช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญและมีความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก มิฉะนั้นอาจจะเสียไม้เนื้อดีและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมได้ ทำให้แบบบ้านไม้กึ่งปูนที่ใช้ทั้งไม้และปูนมาเป็นองค์ประกอบของโครงสร้าง จากที่คิดว่าจะช่วยประหยัดงบประมาณ อาจไม่เสมอไป

5. เคลื่อนย้าย ปรับปรุง ต่อเติมได้ยาก

บ้านไม้ง่ายต่อการรื้อถอนและปรับปรุงมากกว่าบ้านแบบอื่น ๆ มาก สามารถยก-ย้ายไปได้ทั้งหลัง แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรม โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้อธิบายลำดับขั้นตอนการยกบ้านเอาไว้ แนะ 6 ขั้นตอนยกบ้าน ทำในกรณีไหนบ้าง ขณะที่บ้านปูนนั้นทำได้ยากกว่า โดยเฉพาะบ้านปูนที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งนิยมใช้ในโครงการบ้านจัดสรร

หากต้องการต่อเติมห้องจะต้องมีวิศวกรคุมงาน ดูแลและให้คำปรึกษา หรือไม่ก็ต้องทุบทิ้งเพื่อสร้างใหม่ ทำให้แบบบ้านไม้กึ่งปูน หากจะเคลื่อนย้าน ปรับปรุง ต่อเติม ต้องคำนึงถึงโครงสร้างทั้งหลังที่เชื่อมต่อกันด้วย

6. ความร้อน

ปัญหาที่พบบ่อยในบ้านไม้ โดยเฉพาะแบบบ้านไม้กึ่งปูน ที่ชั้นที่ 2 เป็นไม้ และไม่มีการติดตั้งฝ้ากันความร้อน ทำให้ชั้นที่ 2 ของบ้านแทบจะอยู่ไม่ได้เลยในเวลากลางวัน เนื่องจากมีอากาศร้อนมาก แม้จะสามารถติดตั้งแอร์ได้ แต่ต้องปรับปรุงหลายจุด

บ้านไม้ติดแอร์ได้ไหม กับ 3 ข้อควรรู้ขั้นพื้นฐานก่อนตัดสินใจ
บ้านไม้ติดแอร์ได้ไหม กับ 3 ข้อควรรู้ขั้นพื้นฐานก่อนตัดสินใจ

Guide

บ้านไม้ติดแอร์ได้ไหม กับ 3 ข้อควรรู้ขั้นพื้นฐานก่อนตัดสินใจ

วิธีการดูแลรักษา แบบบ้านไม้กึ่งปูน

วิธีดูแลและบำรุงรักษา เพื่อให้บ้านสภาพดี สวยเหมือนใหม่ และอยู่กับเราไปนาน ๆ นอกจากวิธีดูแลทำความสะอาดบ้านแล้ว วิธีการดูแลรักษาแบบบ้านไม้กึ่งปูน ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งขอแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. งานไม้

หากเป็นการทำความสะอาดไม้ส่วนที่เคลือบผิวแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหรือผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดแบบอ่อน ๆ เช็ดคราบสิ่งสกปรกออก แต่ถ้าหากสีที่ทาไม้รอบนอกเกิดการหลุดร่อน ให้ขัดสี ไสผิวไม้ให้เรียบก่อนลงสีใหม่ เลือกสีที่ออกแบบมาเพื่องานไม้โดยเฉพาะ ทาอย่างน้อย 2-3 ชั้น เว้นระยะห่างกัน 6 ชั่วโมง

โดยก่อนทาสีบ้านไม้ ควรใช้น้ำยาป้องกันแมลงกินไม้ เพื่อป้องกันปลวกและมอด นอกจากนี้ควรขัดผิวและทาสีบ้านไม้ภายนอกด้วยสีย้อมไม้สำหรับนอกบ้านทุก 3 ปี เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน และตรวจเช็กเนื้อไม้ของบ้านไม้ทุก 4 เดือน หรือตามที่ช่างผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

2. งานปูน

อย่างที่ทราบกันดีว่า บ้านปูนจะมีปัญหาในเรื่องของความอับชื้น ทำให้เกิดปัญหาการเกิดเชื้อราได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องหมั่นเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อช่วยในการระบายอากาศและความชื้นภายในบ้าน ซึ่งจะลดปัญหาการเกิดเชื้อราคาบนผนังบ้าน แต่ถ้าจะให้ดีควรทาสีป้องกันเชื้อรา ซึ่งจะดีกว่าการเลือกใช้วอลเปเปอร์เพราะในระยะยาวจะเสี่ยงกับการเกิดปัญหาเชื้อราได้

 

นอกจากแบบบ้านไม้กึ่งปูน ยังมีแบบบ้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจ รวมถึงการตกแต่งบ้านหลากหลายสไตล์ เพื่อให้ได้บ้านสวยตรงงบ ตรงใจ และเหมาะกับไลฟ์สไตล์มากที่สุด

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0