สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มติดอาวุธ “ฮามาส” ชาวปาเลสไตน์ ไม่ได้ถือว่าเป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ เพราะฮามาสไม่ใช่ตัวแทนของรัฐ แต่เป็นกลุ่มหัวรุนแรงที่อยู่คนละขั้วกับรัฐบาลปาเลสไตน์ที่บริหารปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์
เมื่อ “ฮามาส” ไม่เท่ากับ “ปาเลสไตน์” แต่ “ปาเลสติเนียน” ส่วนหนึ่งเป็นฮามาส หรือเชียร์ฮามาส ในสถานการณ์สงครามรอบใหม่ที่จุดชนวนโดยฮามาสซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตของชาวปาเลสไตน์จำนวนมาก จึงน่าจะเป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกพอสมควรสำหรับรัฐบาลปาเลสไตน์
น่าสนใจว่าผู้มีอำนาจปกครองปาเลสไตน์คิดเห็นอย่างไรต่อสงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาสในครั้งนี้
ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส (Mahmoud Abbas) ของปาเลสไตน์แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2023 ระหว่างที่เขาพบกับแอนโทนี บลินเคน (Antony Blinken) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ ในการเยือนกรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน
เมื่อพบกับแอนโทนี บลินเคน ประธานาธิบดีอับบาสของปาเลสไตน์กล่าวกับบลิงเคนว่า ตัวเขาปฏิเสธ “การบังคับย้ายถิ่นฐาน” ที่กระทำต่อชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา
เขากล่าวว่า การอพยพของชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาครั้งนี้จะถือเป็น “นักบาห์ครั้งที่สอง” ซึ่งหมายถึงการพลัดถิ่นครั้งใหญ่ของชาวปาเลสไตน์ในสงครามปี 1948 ซึ่งเกี่ยวกับการกำเนิดของประเทศอิสราเอล
พร้อมทั้งเสริมว่า จะต้องมีการอนุญาตให้สร้างช่องทางเพื่อมนุษยธรรม (humanitarian corridor) ในฉนวนกาซาทันที เพื่อป้องกันหายนะด้านมนุษยธรรม
ก่อนการพบกับบลิงเคนหนึ่งวัน รอยเตอร์ (Reuters) รายงานอ้างอิงสำนักข่าววาฟา (WAFA) ของทางการปาเลสไตน์ว่า อับบาสได้ประณามความรุนแรงที่กระทำต่อพลเรือนของทั้งสองฝ่าย ทั้งการโจมตีอย่างรุนแรงของกลุ่มฮามาสต่ออิสราเอล และการโจมตีอย่างไม่หยุดยั้งของอิสราเอลในฉนวนกาซา
ประธานาธิบดีอับบาสของปาเลสไตน์กล่าวในวันที่ 12 ตุลาคมว่า รัฐบาลปาเลสไตน์ซึ่งมีอำนาจปกครองอย่างจำกัดในเขตเวสต์แบงก์และต่อต้านกลุ่มฮามาสขอยืนหยัดต่อต้านความรุนแรง และจะดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการต่อต้านความรุนแรงนี้
“เราไม่ยอมรับแนวปฏิบัติในการสังหารหรือการข่มเหงพลเรือนของทั้งสองฝั่ง พวกเขาละเมิดศีลธรรม ศาสนา และกฎหมายระหว่างประเทศ” รอยเตอร์รายงานคำพูดของอับบาส
ความคิดเห็นสองครั้งหลังสุดของมาห์มูด อับบาส ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงท่าทีจากก่อนหน้านี้ โดยเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 อับบาสบอกกับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐว่า ชาวปาเลสไตน์มีสิทธิที่จะปกป้องตนเองจาก “ความน่าหวาดกลัวของผู้ตั้งถิ่นฐานและกองทหารยึดครอง”
เขาบอกว่า “ความอยุติธรรม” ต่อชาวปาเลสไตน์กำลังผลักดันความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลไปสู่ “การระเบิด” และเขายังกล่าวอีกว่า การยกระดับ (ความขัดแย้ง) ขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นขึ้นอยู่กับ “การปฏิบัติของพวกนักล่าอาณานิคมและกองกำลังยึดครองของอิสราเอล และการรุกรานต่อความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามและคริสเตียน”
ซึ่งหากตีความจากคำพูดของเขา ณ วันนั้น ก็ดูเหมือนว่าประธานาธิบดีปาเลสไตน์เป็นอีกคนหนึ่งที่มองว่าชาวปาเลสไตน์มีความชอบธรรมที่จะลุกฮือขึ้นสู้อิสราเอลทุกเมื่อ
ต่อมา ในวันที่ 9 ตุลาคม หลังจากอิสราเอลโจมตีโต้กลับอย่างหนักต่อพื้นที่ฉนวนกาซา ส่งผลให้มีพลเมืองเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ประธานาธิบดีมาห์มุด อับบาส ของปาเลสไตน์ได้เรียกร้องให้สหประชาชาติ (UN) เข้าแทรกแซงสถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับฮามาสทันที เพื่อป้องกันการเกิดหายนะด้านมนุษยธรรมอันเนื่องมาจาก “การรุกรานอย่างต่อเนื่องของอิสราเอล โดยเฉพาะในฉนวนกาซา”
ถ้าสรุปตามไทม์ไลน์ช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ซึ่งถือว่าพูดในนามรัฐบาลปาเลสไตน์ เริ่มจากบอกว่า ชาวปาเลสไตน์ (ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นฮามาสหรือกลุ่มไหน) มีสิทธิที่จะปกป้องตนเองจากความน่าหวาดกลัวของผู้ยึดครองดินแดน ต่อมาได้เรียกร้องให้ UN เข้าแทรกแซงเพื่อยุดติสงคราม และตามมาด้วยการประณามทั้งสองฝ่ายที่โจมตีพลเมือง
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าอิสราเอลเข้าใจดีว่าฮามาสไม่ได้เท่ากับปาเลสไตน์ และเขตเวสต์แบงก์ก็ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของฮามาส ซึ่งดูเหมือนว่าความขัดแย้งของอิสราเอลกับฮามาสครั้งนี้ไม่น่าจะถูกเหมารวมมาถึงชาวปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์ แต่ลำพังเพียงชาวอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่อยู่ร่วมกันของในเวสต์แบงก์นั้นก็หาใช่ว่าจะอยู่กันอย่างสงบสุข เพราะมีการกระทบกระทั่งกันอยู่เป็นธรรมดาของคนสองชาติที่มีประวัติศาสตร์ความขัดแย้งกันมานาน
ตามการรายงานของรอยเตอร์บอกว่า ในเขตเวสต์แบงก์ซึ่งชาวปาเลสไตน์ต้องการให้เป็นแกนกลางของรัฐในอนาคตก็ได้เห็น “คลื่นแห่งความรุนแรง” มาเป็นเวลานานกว่า 18 เดือนแล้ว ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นกระตุ้นให้เกิดความกังวลว่า “ปาเลสติเนียน อินติฟาดา” (Palestinian Intifadas) หรือการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่ที่อิสราเอลยึดครองจะเกิดขึ้นซ้ำอีก หลังจากที่เคยเกิดขึ้นแล้วสองครั้งในช่วงทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 2000
ในขณะที่อิสราเอลเจอการโจมตีระดับรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยฝีมือของกลุ่มฮามาส และขณะที่ฉนวนกาซาตกอยู่ภายใต้การโจมตีโต้กลับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา เขตเวสต์แบงก์จึงมีความเสี่ยง และผู้คนในพื้นที่ก็รู้สึกว่ามีลางไม่ดี
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุโจมตีเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคมมาถึงวันที่ 13 ตุลาคม ในเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเลมตะวันออกก็มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 30 ราย
ความเห็น 20
Jamkad BSK.
แล้วปล่อยให้เขาอยู่ในดินแดน ปล่อยให้เขาผสมพันธ์กับคนของตัวเอง สร้างครอบครัวบนดิน ใต้ดินเป็นก่อการร้าย ใครจะยอ วะ
14 ต.ค. 2566 เวลา 23.26 น.
Anan S.
ความจริงก็คือความจริง ทีแรกก็บอกดีๆๆๆ
เอาตัวประกันเป็นโล่มนุษย์ คิดว่าปลอดภัย
ไหนได้อิสราเอล ยิงถล่ม ไม่สน ทีนี้รัองจ้ากๆ
โธ่ถังพระถังสามถังก็อยู่ไกล
14 ต.ค. 2566 เวลา 09.39 น.
FocusMan-virach
ทำไม ปาเลส ไม่คิดแยกตัวออกจากฮามาส นานมากแล้ว ให้ชาวโลกรู้ก่อนสิว่า คัดค้านฮามาส ต่อต้านฮามาส.. ตอนนี้ ดูเหมือน เพิ่งมาออกตัว เพราะเห็นเพลี่ยงพล้ำ ทำเกินเหตุไปแล้ว.. คิดถึง ครอบครัวที่โดนวันที่ 7ตุลาสิ..เขาทุกข์ขนาดไหน
14 ต.ค. 2566 เวลา 08.09 น.
Nit
ดูคำกล่าวปธน เห็นด้วยกับกลุ่มฮามาส อิสราเอลถล่ม ก็สมควร
14 ต.ค. 2566 เวลา 07.35 น.
aoun
ฆ่ากลุ่มฮามาสให้หมดสิ้นแล้วค่อยมาอยู่อย่างสันติระหว่างปาเลสไตรน์กับอิสลาเอลแยู่ร่วมกัน
14 ต.ค. 2566 เวลา 07.03 น.
ดูทั้งหมด