โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ถ้ามนุษย์ต้องย้ายไปอยู่ ดาวอังคาร จริง เราจะรอดมั้ย? ที่นั่นมีพายุยักษ์ ขนาด 1 ใน 4 ของโลก!

TheHippoThai.com

อัพเดต 17 ก.ค. 2561 เวลา 13.51 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2561 เวลา 11.00 น.

ถ้ามนุษย์ต้องย้ายไปอยู่ดาวอังคารจริง เราจะรอดมั้ย? ที่นั่นมีพายุยักษ์ขนาด 1 ใน 4 ของโลก!

วันที่ 31 ก.ค.61 ที่จะถึงนี้ ดาวอังคารกับโลกของเราจะเข้าใกล้กันที่สุดในรอบ 15 ปี สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าชัดเจน ถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้สนใจที่จะได้ชมดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ขณะนี้บนดาวอังคารกลับมีปรากฏการณ์สุดขั้วเกิดขึ้นมา นั่นคือพายุฝุ่นทรายขนาดใหญ่โตมโหฬาร​เกือบเท่าดาวทั้งดวง บดบังท้องฟ้าจนมืดมิด

(ภาพแสดงให้เห็นว่าดวงอาทิตย์ค่อยๆเลือนหายไปใต้พายุฝั่นยักษ์จนดูเหมือนเวลากลางคืน)

พายุปีศาจลูกนี้เริ่มก่อตัวเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ในบริเวณไม่ไกลจากจุดที่ยาน "โรเวอร์ออพพอทูนิตี้" ของ NASA กำลังทำงานอยู่ ยานสำรวจอายุกว่า 15 ปีลำนี้มีความอ่อนไหวต่อระดับแสงสว่างมากเพราะใช้พลังงานจากแผงเซลสุริยะ เมื่อพายุฝุ่นเริ่มเข้าปกคลุมแสงแดดก็เริ่ม​สลัวลง ระดับพลังงานของยานออพพอทูนิตี้ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว

เมื่อล่วงมาถึงวันที่ 12 มิ.ย. พายุฝุ่นได้ขยายขนาดกินพื้นที่กว้างถึง 35 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 4 ของพื้นผิวดาวอังคาร(ลองนึกภาพขนาดคร่าวๆ ก็ประมาณ 1 ใน 4 ของโลกที่เราอาศัยอยู่)  ปกปิดท้องฟ้าจนมืดมิด เมื่อแสงอาทิตย์ส่องลงมาไม่ถึงพื้น ยานออพพอทูนิตี้ก็ขาดการติดต่อกับทีมงานที่โลกอย่างสิ้นเชิง 

NASA ยังหวังว่าระบบ AI ของออพพอทูนิตี้ จะสั่งให้ยานเข้าสู่โหมดการหลับลึกก่อนพลังงานหมด เพื่อให้มีพลังงานเหลือพอจะกู้ยานลำนี้คืนหลังจากพายุฝุ่นยักษ์ผ่านพ้นไป 

แต่พายุฝุ่นปีศาจยังคงขยายตัวไม่หยุด จวบจนย่างเข้าวันที่ 24 มิ.ย.มันก็ขยายขนาดครอบคลุมดาวอังคารทั้งดวง ยานโรเวอร์อีกลำของ NASA นั่นคือยาน "คิวริออซิตี้" ซึ่งประจำการอยู่อีกฟากฝั่งของดาว ได้มองเห็นและได้รายงานผลการสังเกตพายุนี้กลับมาที่โลก โชคดีที่ยานคิวริออซิตี้ทำงานด้วยพลังงานนิวเคลียร์ มันจึงรอดพ้นจากมหันตภัยพายุปีศาจที่ดับดวงตะวันครั้งนี้ และคอยส่งข้อมูลกลับมาโลกเป็นระยะ

เวลานี้หากใครมีกล้องโทรทรรศน์ส่องไปที่ดาวอังคารท่านจะเห็นเหมือนภาพบนด้านขวา นั่นคือไม่มีรายละเอียดของพื้นผิวดาวดังที่จะเห็นตามปกติในภาพบนด้านซ้าย เนืองจากถูกพายุฝุ่นยักษ์กลืนกินดาวไปทั่วทั้งดวง และก็ยังไม่มีทีท่าจะสลายไปง่ายๆ แต่ก็มีข้อดีคือดาวอังคารในปีนี้จะสว่างกว่าปกติทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ง่ายในยามค่ำคืนเนื่องจากฝุ่นที่ปกคลุมดาวจะสะท้อนแสงอาทิตย์มาเข้าตาเราจนดาวอังคารดูสวยงามสุกใสโดยเฉพาะช่วงปลายเดือน ก.ค.ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารและโลกโคจรเข้าใกล้กันดังที่กล้าวไว้ข้างต้น

พายุฝุ่นยักษ์นี้จะส่งผลต่ออาณานิคมของมนุษย์ในอนาคตที่จะย้ายไปตั้งอยู่บนดาวอังคารไม่ต่างจากชะตากรรมของยานออพพอทูนิตี้ที่เกิดอยู่ ณ ขณะนี้  

กล่าวคือเมื่อพายุฝุ่นยักษ์ปกคลุมดาวจนเหมือนตกอยู่ในช่วงเวลากลางคืนอันยาวนาน พลังงานไฟฟ้าที่จำเป็นในการผลิตอากาศสำหรับหายใจ  และสร้างความร้อนให้แก่อาคารที่อยู่อาศัยบนดาวอังคารที่หนาวเย็นก็จะหมดไป นั่นคือภาวะอันตรายอย่งยิ่ง  

และถึงแม้เราเลือกที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์เช่นเดียวกับที่ใช้ในยานคิวริออซิตี้   เหล่ามนุษย์ชาวดาวอังคารก็ต้องมาเสี่ยงกับรังสีที่อาจรั่วไหลออกมาจากแร่พลูโตเนียม -238 ในระบบผลิตไฟฟ้าอีก 

ทีมงานบุกเบิกชุดแรกๆที่จะไปถึงดาวอังคารจึงต้องวางแผนรับมือพายุฝุ่นยักษ์นี้ให้ดีก่อนที่ชนรุ่นหลังจะตามไปตั้งรกราก  เช่นอาจต้องสร้างแบตเตอรีเก็บไฟฟ้าขนาดใหญ่พอที่จะสำรองไฟฟ้าได้นานเป็นเดือนๆจนกว่าพายุจะผ่านพ้นไป มิเช่นนั้น เราอาจต้องพบกับหายนะที่แก้ไขไม่ได้

 

โดย Mr.Vop

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 14

  • Tassanee
    ก็ดีนะเผื่อจะได้มีพลังแบบจอห์น คาร์เตอร์
    12 ก.ย 2561 เวลา 13.04 น.
  • supernote
    อยู่ได้สิ ผมจะขออาสาไปเป็นชุดแรก
    23 ก.ค. 2561 เวลา 14.38 น.
  • Rainborˈɡiːni
    ว่ากันว่ามนุษย์ผู้ชายหนีจากดาวอังคารมาอยู่โลกเพราะตอนอยุ่ก็ไปทำให้ดาวอังคารพังพินาศ อยู่ไม่ได้ ทีนี้อพยพมาอยู่ดาวโลกอยู่นาน ลืมตัวเอานิสัยเก่ามาใช้ ก็มาทำลายโลกอีก ทีนี้จะหนีไปดาวไหนก็ไม่ได้แล้ว ไม่มีทางรอด เพราะดาวโลกเป็นดาวรับเคราะห์สุดท้ายแล้ว หรืออาจรอดในรูปแบบกายละเอียดผ่านพิธีกรรมลอยอังคาร กลายไปเป็น มานุดต่างดาว แฮ่! เธอมาจากดาวแส๊นไกล🎶🎵
    23 ก.ค. 2561 เวลา 11.56 น.
  • สุจินต์
    คิดว่ารอด
    18 ก.ค. 2561 เวลา 10.52 น.
  • 𝙱𝚞𝚋𝚒𝚎 ִֶָ부비
    ชอบบทความมากค่ะได้ความรู้สุดๆ
    17 ก.ค. 2561 เวลา 17.44 น.
ดูทั้งหมด