ภาพผู้คนใส่หูฟังในรถโดยสารสาธารณะคงเป็นภาพที่ชินตาพวกเรากันเสียแล้วในยุคนี้
ในยุคที่เรากำลังออกกำลังกายอยู่ในยิมเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องฟังเพลงเดียวกันอีกต่อไป
ในยุคที่ทุกคนมี Playlist ของตัวเอง… มาดูกันว่า หูฟังมีบทบาทกับชีวิตเราอย่างไรกันบ้าง
โดยปกติคนเรามักมีความคิดในหัวที่ผุดขึ้นมาเป็นประจำอยู่แล้ว การใส่หูฟังและเปิดเพลงที่เราสามารถฟังคนเดียวได้เป็นการปรับจูนคลื่นเสียงรอบๆให้ตรงกับความคิดของเราและสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา
เสียงเพลงเป็นสิ่งที่ทรงพลังอย่างหนึ่งในการสร้างบรรยากาศ ช่วยนำเรากลับคืนสู่ความทรงจำ สถานที่ และเวลาที่เกี่ยวข้องกับเพลงนั้นๆ อีกครั้ง การทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านโดยมีเพลงเป็นเสียงประกอบฉาก (Background Noise) จึงให้ประสบการณ์ที่แตกต่างกับการเดินในที่เดียวกันแต่ไม่มีเสียงเพลงประกอบอย่างมาก
ในทางจิตวิทยานั้น ผู้คนชอบควบคุมสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอยู่ เรามักรู้สึกปลอดภัยเมื่อมีคนอยู่รอบๆ แต่กลับไม่ต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนเหล่านั้นเสมอไป
การใส่หูฟังจึงช่วยสร้างเกราะกำบังทางสังคม และกลายเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงนัยยะทางสังคมยุคใหม่ คือ “Do not Disturb ” หรือ “ฉันอยู่ตรงนี้แต่ไม่สะดวกที่จะคุยกับใครหรือให้ใครเข้ามาทัก” เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งว่ากำลังยุ่ง หรือมีธุระอยู่ หลายคนที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัวจึงเลือกใส่หูฟัง โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคนที่ไม่ค่อยชอบเข้าสังคมนัก (Introvert) ที่บางทีรู้สึกอึดอัดในการเริ่มต้นบทสนทนากับคนแปลกหน้าในลิฟต์ หรือคนที่นั่งข้างๆ ในเครื่องบิน
การใช้หูฟังในที่สาธารณะทำให้เกิดคำถามที่ถกเถียงกันตามมามากมายว่า
หูฟังมีส่วนทำให้เราต่อต้านสังคม (Anti-Social) หรือไม่ ?
พนักงานขายของในร้านควรจะทักทายลูกค้าใส่หูฟังที่เดินเข้ามาในร้านหรือไม่ ?
เราจะกล้าถามทางคนที่ใส่หูฟังมาตามถนนหรือเปล่า ?
อย่างไรก็ตาม เมื่อหูฟังเหมาะสมกับการสร้างพื้นที่ส่วนตัว แน่นอนว่ามันก็มีส่วนช่วยให้เราโฟกัสในกิจกรรมที่ไม่จำเป็นต้องพูดคุยกับผู้อื่นและต้องใช้สมาธิจดจ่อกับตัวเองมาก เช่น เวลาออกกำลังกายในยิม
ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวไว้ว่า อุบัติเหตุที่เกิดในยิมบ่อยครั้งเป็นเพราะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ การใส่หูฟังขณะออกกำลังกายจึงมีแนวโน้มเป็นข้อดี เพราะทำให้ผู้อื่นรับรู้ว่าเรากำลังอยู่ในโหมด “เทรนนิ่ง” ที่ต้องใช้สมาธิ และไม่ต้องการให้ใครมารบกวน เพราะเหตุนี้ในตลาดจึงมีการออกหูฟังสำหรับนักกีฬาที่จริงจังกับ การออกกำลังกายและต้องการโฟกัสมากๆ โดยเฉพาะออกมาด้วย
เมื่อ “Social” และปฏิสัมพันธ์ที่คนเรามีในยุคนี้เปลี่ยนไป การที่เราอยู่ในที่ใดที่หนึ่งไม่จำเป็นว่าเราต้องมีปฏิสัมพันธ์เฉพาะในที่แห่งนั้น แต่เราสามารถ connect กับใครก็ได้ผ่านมือถือ หรือแม้แต่กระทั่งสร้างโลกส่วนตัวของตัวเองด้วยหูฟัง
บางทีคำตอบว่า หูฟังทำให้เรา Anti-Social หรือไม่ ? อาจขึ้นอยู่ที่ตัวเราเอง ว่าเราจะเลือกอยู่กับโลกเสมือนในเสียงเพลงหรืออยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงมากน้อยเพียงใดและในสถานการณ์ไหน
ที่มา:
http://news.bbc.co.uk/2/hi/technology/3542391.stm
https://www.theatlantic.com/technology/archive/2012/05/how-headphones-changed-the-world/257830/
https://www.nytimes.com/2016/12/10/fashion/headphones-luxury-fashion-statement-new-york.html
About Me
Instagram: http://www.instagram.com/faunglada
Facebook: http://www.facebook.com/faunglada
Youtube: http://www.youtube.com/faunglada
Twitter: @faunglada
Website: www.faunglada.com
ความเห็น 10
BOAT (박성실) 💖✨️
กำลังค้นหาเลยว่า ทำยังไงดีกับการคุยกับคนที่ใส่หูฟัง บางทีเราก็ไม่ได้อยากจะพูดคุยมากนะครับ แต่ว่าในที่ทำงานหรือในออฟฟิศ ถ้าทุกคนใส่หูฟังหมดเลย การถามเรื่องงานเล็กน้อย หรือถามไถ่เรื่องต่างๆให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น ก็ทำได้ยาก แล้วเราควรจะทำยังไงครับ แค่จะเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีเท่านั้นเอง ไม่ได้อยากรบกวนเลย
17 ก.พ. 2564 เวลา 06.18 น.
ก็อาจจะเหมือนกับสังคมก้มหน้า น่าจะปิดปาก หู จมูกด้วย
18 ส.ค. 2561 เวลา 06.17 น.
เมย์ (may)
มันทำให้เราพอจะมีพื้นที่ส่วนตัวอยู่กับตัวเองมากขึ้น ไม่รู้คนอื่นคิดอย่างไรนะ แต่เราสบายใจมากกว่าที่จะได้ยินเวียงความวุ่นวายของผู้คนรอบข้าง
16 ส.ค. 2561 เวลา 06.03 น.
🦄 p0rp0r ✿ ぽる 🧤🍎🧺
เราใส่หูฟังเพื่อจะได้แกล้งไม่ได้ยินใคร และไม่ให้ใครทักเรา
05 ส.ค. 2561 เวลา 17.42 น.
ดีใจจัง มีคนคิดเหมือนเราด้วย :D
05 ส.ค. 2561 เวลา 14.13 น.
ดูทั้งหมด