โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

UOB Finlab และ O2O ร่วมมือพลิกองค์กรสู่ความยั่งยืน | O2O

TOJO NEWS

อัพเดต 06 เม.ย. เวลา 13.16 น. • เผยแพร่ 05 เม.ย. เวลา 06.11 น. • O2O Forum

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ Sustainability Innovation Programme หรือ โครงการ SIP ประจำปี 2024 จัดโดย ยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) ร่วมกับ Sustainism จาก O2O ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนธุรกิจให้มุ่งสู่ความยั่งยืน

สำหรับโครงการ SIP 2024 ประกอบด้วย 3 โมดูลหลัก ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), PwC ประเทศไทย และ โครงการยั่งยืนนิยม (Sustainism) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 และ 30 พฤษภาคม 2567 ที่ UOB Plaza

สำหรับโมดูลจากโครงการยั่งยืนนิยม (Sustainism) ถูกพัฒนาขึ้นโดย O2O มีหน้าที่รวบรวมพันธมิตร ทั้งองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล องค์กรเอกชน หน่วยงานรัฐบาล ที่มีภารกิจด้านความยั่งยืน อาทิ AFMA (Intergovernmental organization in associate with UNFAO), องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO), สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Scii), สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น เข้ามาให้ความรู้ และ สร้างความร่วมมือ ส่งเสริมภาคเอกชนให้สามารถมุ่งสู่ความยั่งยืนได้ ดูเนื้อหาบน O2O Forum

คุณเพ็ชร ประภากิตติกุล ผู้บริหารโครงการยั่งยืนนิยม (Sustainism) และ บรรณาธิการบริหาร O2O กล่าวว่า ความสำเร็จในภารกิจยั่งยืนต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย นี่จึงเป็นสาเหตุที่เราเริ่มรวบรวมพันธมิตรอย่าง AFMA, TGO และ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาทำงานด้วยกัน ปัจจุบันเรามีองค์กรพันธมิตรกว่า 40 แห่ง จึงสามารถช่วยองค์กรขนาดใหญ่ ออกแบบโมเดลธุรกิจยั่งยืน รับรอง และ ตีพิมพ์โครงการยั่งยื่นในสหประชาติ (UN Publication) ผ่าน องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลดีกับ ESG Rating ดึงดูดนักลงทุนให้กับธุรกิจได้ สนใจเข้าร่วม

สำหรับองค์กรธุรกิจที่ร่วมโครงการจะได้รับความรู้และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านความยั่งยืน เครื่องมือวัดผล ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance – ESG) แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว

ทั้งนี้จากรายงาน UOB Business Outlook Study 2024 พบว่า การนำแนวทางปฏิบัติ ESG มาใช้ในประเทศไทยนับเป็น 1 ใน 5 ลำดับความสำคัญทางธุรกิจ ที่องค์กรให้ความสำคัญอย่างมากในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประมาณ 3 ใน 10 ระบุว่า จำเป็นต้องมีการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นในส่วนของการเชื่อมโยงกับองค์กรอื่น ๆ ในภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงคำแนะนำสำหรับการปรับใช้มาตรฐาน ESG และแนวทางปฏิบัติในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

คุณบัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่าปัญหาโลกร้อนส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจและการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน จากผลสำรวจ UOB Business Outlook Study พบว่าโดยทั่วไปแล้วองค์กรธุรกิจในไทยมองว่าการปรับใช้แนวทางความยั่งยืนคือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับองค์กร (ร้อยละ 56) ช่วยดึงดูดนักลงทุน (ร้อยละ 50) และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการทำงานร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่ (ร้อยละ 42)

เราอยากมีส่วนร่วมทำให้โลกดีขึ้นและปล่อยกู้อย่างมีคุณภาพ

นอกจากนี้พบว่า SMEs ตระหนักมากขึ้นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โดยโครงการ SIP รวบรวมพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนที่สามารถช่วยเหลือเอสเอ็มไทยในทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้เฉพาะทาง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะสามารถประเมินความพร้อมของธุรกิจตน สำหรับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือด้านความยั่งยืนของทางธนาคารที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยเครื่องมือนี้จะแนะนำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ

“เราอยากมีส่วนร่วมทำให้โลกดีขึ้นและปล่อยกู้อย่างมีคุณภาพ” นายบัลลังก์กล่าวถึงที่มาของการผลักดันโครงการ

ด้าน คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO กล่าวว่า “ปัจจุบันความยั่งยืนกลายเป็นความจำเป็นของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ หลังนโยบายทั้งไทยและต่างประเทศมุ่งเป้าจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่ามีหลาย ๆ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero มากขึ้น แต่ไม่มีความรู้ที่แน่ชัดว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน

ด้วยเหตุนี้ทาง TGO จะเข้ามาช่วย เสริมโครงการ SIP และ Sustainism ในจุดนี้ได้ ด้วยแพลตฟอร์มการขอขึ้นทะเบียนกับ TGO ตลอดการให้คำปรึกษาและข้อแนะนำต่างๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจให้สามารถรุกตลาดคาร์บอนเครดิตได้ ทั้งเป็นหน่วยงานกลางให้ความรู้และช่วยในการประเมินก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจอีกด้วย

ส่วนคุณปิติพัฒน์ มงคลอริยนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเอ็มพี คอร์ปอเรชัน ที่ทำธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างแบบครบวงจร ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชนอย่างครบวงจรกล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการกับทาง UOB FinLab เราเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน นอกจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง ระบบปฏิบัติการหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังได้นำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนไปปรับใช้ในธุรกิจและคู่ค้าของธุรกิจด้วย

“การขยายโครงการ SIP ในปีนี้ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม นับว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับสู่ความยั่งยืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน เพราะจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ความจำเป็น กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การประเมินการปล่อยคาร์บอนของธุรกิจ การทำโมเดลธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงโอกาสเข้าถึงเครือข่ายธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น”

นอกจากนี้ยูโอบี ฟินแล็บ ยังจัดทำโครงการสำหรับสตาร์ทอัพและบริษัทผู้ให้บริการโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือกรีนเทค ที่ชื่อว่า GreenTech Accelerator (GTA) 2024 ระยะเวลา 6 เดือนอีกด้วย โดยโครงการ GTA จะช่วยให้ผู้ให้บริการโซลูชันกลุ่มกรีนเทคได้พัฒนาโซลูชั่น เพื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากเอสดอ็มอีในอาเซียน และกรีนเทคผู้ชนะจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนาโครงการนำร่องในการแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้

อย่างไรก็ตาม เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของยูโอบี ฟินแล็บ ในการขับเคลื่อนโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน โครงการ GTA 2024 จะสนับสนุนเงินทุนสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับเทคโนโลยีสีเขียว หรือกรีนเทค (Greentech) เพื่อนำร่องนวัตกรรมโซลูชันที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้งานได้จริงสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ดูเนื้อหาบน O2O Forum

“GTA จะเริ่มจากคัดเลือก 10 รายในประเทศก่อนแล้ว ส่งไปประกวดต่อที่สิงคโปร์ แล้วคัดผู้ชนะเหลือ 5 รายสุดท้าย”

สอบถามการเข้าร่วมงานหรือติดต่อเข้าร่วมคอมมูนิตี้ธุรกิจจาก O2O

เข้าร่วมคอมมูนิตี้ของเรา
Website : o2oforum
Facebook : o2oforum
Community : o2oforum
Line : @o2oforum
Subscribe : o2oforum
Tel : 0970344225, 0970347554, 0970343220, 0952156145

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น