โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ส่อง 2 ผลงานนักศึกษา ICT ศิลปากร กับรางวัล “BIDC Awards 2022”

Campus Star

เผยแพร่ 19 พ.ค. 2565 เวลา 03.06 น.
ส่อง 2 ผลงานนักศึกษา ICT ศิลปากร กับรางวัล “BIDC Awards 2022”
2 ผลงานผู้ที่ได้รับ รางวัล BIDC Awards 2022 แอนิเมชั่นเรื่อง “FEARLESS” จากนักศึกษา ICT ศิลปากร และ “เม็ดเอ็ด” แพลตฟอร์มสำหรับการศึกษา

ผ่านพ้นการประกาศรางวัลไปแล้ว 23 รางวัล กับ “BIDC Awards 2022” การประกาศรางวัล ผลงานดีเด่นด้านดิจิทัลคอนเทนต์ประจำปี 2022 ในโครงการ “Bangkok International Digital Content Festival 2022” หรือ “BIDC 2022” ซึ่งจัดขึ้นโดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ผนึกกำลังร่วมกับเหล่าพันธมิตรทั้งภาครัฐ ได้แก่ TCEB , depa และ CEA และภาคอุตสาหกรรม 5 สมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย TGA , BASA , DCAT , e-LAT และ TACGA โดยครั้งนี้จะพาไปชมผลงานของ 2 ผู้ได้รับรางวัลจากทางสมาคม BASA และ สมาคม e-LAT

รางวัล BIDC Awards 2022

โดยรางวัลแรก เป็นรางวัลหนึ่งในสาขา Emerging Technology and Education โดยสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ หรือ BASA โดยเยาวชนที่สามารถคว้ารางวัลBest Student’s Animation Art & Design Project Award ได้แก่ ผลงาน FEARLESS โดย 3 นักศึกษาฝีมือดี กานต์พิชชา อินทุภูติ (ต้า), อดิศา พงษ์ทองหล่อ (ไกด์), อภิสรา สุขตา (เตย) จาก ICT มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งสร้างสรรค์เป็นแอนิเมชั่นแนวผจญภัย

แรงบันดาลใจ

โดยไกด์ – อดิศา รับหน้าที่เป็นตัวแทนของทีมเล่าให้ฟังว่า “แรงบันดาลใจในการสร้างสิ่งนี้เกิดจากความชอบและความถนัดที่พวกเราสามคนเรียนมา โดยแต่ละคนมีความสนใจเกี่ยวกับหุ่นยนต์ เครื่องเล่นสวนสนุก และเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัย จึงนำ 3 สิ่งนี้มาออกแบบงานแอนิเมชั่น ซึ่งตอนแรกไม่ได้ตั้งใจจะทำเสกลใหญ่ขนาดนี้ แต่ด้วยพวกหนูไปปรึกษาอาจารย์ การเล่าเนื้อเรื่องต่างๆ ต้องใช้ระยะเวลาในการเล่า จึงออกมามีความยาว 8 นาที

โดยสิ่งที่คิดว่ายากสำหรับพวกเรา คือ ขั้นตอนแรก เพราะเราเจอปัญหาในการใช้โปรแกรมที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เราต้องพยายามมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม มีความท้อระหว่างทางเยอะมาก พอเจอปัญหาทีก็ต้องรีบหาวิธีแก้ การประยุกต์ปรับใช้ เสียทรัพยากรในเครื่องเพิ่ม พยายามช่วยเหลือกันแก้ไขปัญหาให้ผ่านไปได้ทีละสเต็ป”อดิศา เล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า “พวกเราแบ่งหน้าที่ตามความถนัด อย่างหนูจะถนัดเรื่องไลท์ติ้ง และพื้นผิว เพื่อนอีกคนจะถนัดในการปั้นโมเดล อีกคนจะถนัดพวกพรอพประกอบฉาก พอเวลาเอางานมารวมกัน เสร็จออกมาก็ค่อนข้างภูมิใจโดยเรื่องราวของ Fearless จะเกี่ยวกับเด็กผู้ชายและหุ่นยนต์เพื่อนรัก โดยวันหนึ่งเด็กผู้ชายเผลอไปอวดกับเพื่อนว่า มีปราสาทผีสิงกลางป่า เลยจะต้องอวดฝีมือว่าไม่กลัวผีในปราสาท จึงออกเดินทางไปปราสาท ต้องเจอสิ่งลี้ลับน่ากลัวที่เด็กผู้ชายต้องก้าวผ่านไป

จริงๆ เรื่องราวเหมือนกับพวกเราเหมือนกัน ตรงที่ต้องก้าวผ่านความกลัวในการทำงานนี้ไปให้ได้ โดยพวกหนูมองว่า สิ่งที่เราได้จากการทำงานนี้ 2 เรื่อง คือ 1) ประสบการณ์การใช้โปรแกรมและการแก้ปัญหา ได้เรียนรู้อะไรจากงานชิ้นนี้มากๆ เปิดวิสัยทัศน์การทำงานจริง และอีกด้านหนึ่งคือ 2) ความช่วยเหลือ ความสามัคคีของเพื่อน ตอนที่เริ่มคือ ท้อเหนื่อย เจออุปสรรคเยอะมาก แต่ก็สามารถประคับประคองมาจนได้ ได้รับความช่วยเหลือจากทุกคนโดยรางวัลนี้ที่ได้รับก็ถือเป็นความภาคภูมิใจ และต้องขอบคุณทุกคนที่ทำให้เรามาไกลได้ขนาดนี้ ส่วนในอนาคตมองว่าความฝันของพวกเราคือการได้นำความรู้เหล่านั้น ไปใช้ทำงานในโปรดักชั่นใหญ่ๆ ในเมืองไทย”

รางวัลสุดยอด e-Learning

อีก 1 รางวัลเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลสุดยอด e-Learning ของแพลตฟอร์มและเทคโนโลยี Best e-Learning Award for Platform and Technology จากทางสมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย (e-LAT) ในสาขา E-Learning โดย ทีปกร ศิริวรรณ จาก CSI Education อาจารย์ที่ผันตัวมาพัฒนาระบบเพื่อการศึกษา ให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยได้พัฒนา MEDED: MEDICAL EDUCATION MANAGEMENT PLATFORM หรือเม็ดเอ็ด แพลตฟอร์มการศึกษาสำหรับการศึกษาแพทยศาสตร์ ที่เริ่มต้นนำร่องใช้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 5 ปีที่แล้วโดยมีแนวความคิดหลักเพื่อแก้ปัญหา Pain Point ที่เกิดขึ้นในระบบการเรียนทั้งฝั่งนักศึกษาแพทย์และฝั่งอาจารย์ จึงได้พัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ เป็นแพลตฟอร์มการจัดการด้านการศึกษา เพื่อลดความซับซ้อน เนื่องจากการเรียนแพทย์ไม่เหมือนการเรียนในสาขาอื่น จะมีความซับซ้อนในแง่การจัดตารางการเรียน และใช้ manpower ที่ต้องจัดการแบบ manual ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นแพลตฟอร์มนี้จะช่วยจัดการสิ่งที่ซับซ้อนให้ทั้งอาจารย์ และนักเรียนแพทย์ ทั้งเรื่องการบันทึกหัตถการ สามารถเก็บชั่วโมงปฏิบัติการ ในแพลตฟอร์มได้เลย”“เรามองว่าการได้รับรางวัล จะช่วยให้อีเลิร์นนิ่งเผยแพร่ไป ไม่เพียงแค่ในวงการการศึกษา แต่สามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาในทุกวงการให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น สิ่งที่มองว่าอยากทำต่อในด้านการนำมาใช้ คือเรื่อง Personal Education Analytic เช่น เราเรียนมาได้เกรด C ในบางวิชา ไม่ใช่ว่าเราไม่เก่ง แต่เราอาจจะไม่ถนัดในวิชานั้นๆ แต่สิ่งนี้จะช่วยวิเคราะห์การเรียนรายบุคคล ช่วย identify สิ่งที่เค้าเก่งได้จริงๆ” ทีปกร ฉายภาพให้ฟังในสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูล MEDED เพิ่มเติมได้ทาง meded.in.thBest Student’s Animation Art & Design Project Award

รางวัลสุดยอด e-Learning

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0