โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นึกถึง ‘ฟุตบาทไทย’ สถาปนึกพาสำรวจวาระแห่งชาติ กับอนาคตทางเดินเท้าที่เราจะไม่สะดุด! - สถาปนึก

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 11 ก.ย 2563 เวลา 17.00 น. • Ruby The Journey
ขอบคุณภาพจาก Urban Creature
ขอบคุณภาพจาก Urban Creature

‘ทางเท้ามันควรจะเป็นทางที่ คน จะต้องเดิน’

‘ฟุตบาท’ หรือในภาษาอังกฤษคือ Footpath ที่แปลตรงตัวว่า ทางเท้า(ที่มีไว้สำหรับคนเดิน) แต่ทำไมในเมืองไทยของเรา มันถึงประสบปัญหาแผ่นปูนแตก เผลอเหยียบลงไปบางทีต้องวัดดวง น้ำขังปริ๊ดออกมาบ้างละ โคลนบ้างละ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจฟุตบาทไทย ถ้าเดินเล่นโทรศัพท์จนเพลิน มีต้องชนกับตอเหล็กอะไรซักอย่าง หรือไม่ก็เกือบวัดพื้นเพราะเสาไฟฟ้าเป็นแน่ แม้จะเห็นว่ามีการรื้อออ ซ่อมใหม่อยู่บ่อยครั้ง แต่ ‘ฟุตบาทไทย’ ก็ไม่ได้รับการพัฒนาให้ได้เดินเท้าดี ๆ เสียที

ทางเท้าไทย ดังไกลถึงต่างแดน

ตอนเด็ก ๆ ใครทันเกม Minesweeper บทคอมพิวเตอร์กันมั้ยคะ? เกมคลิกสุ่ม ๆ วัดดวงอย่ากดไปโดนระเบิดไม่งั้นก็แพ้ ฟุตบาทไทยก็เช่นนั้น เพราะเสียงจากโซเชียลที่ยืนยันว่า‘เหมือนเล่นเกมทายกับดักทุ่นระเบิด’ ‘เจอประจำในวันที่ใส่ผ้าใบสีขาว ซักมาใหม่ๆ’ บางคนเจอจนมองออกเลย ‘สังเกตถ้ามันเอียงๆ หรือขอบรอยต่อชื้นๆ นี่ ใช่เลย ถ้ามีคนเหยียบมาก่อนสังเกตไม่ยาก แต่ถ้าฝนหยุดตกใหม่ๆ แล้วแต่ดวง’ ถึงกับมีคนนำภาพฟุตบาทไปทำเป็นเกม Minesweeper ให้ได้แชร์ต่อกันไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ว่าใครที่เดินถนน ก็คงคิดเหมือนกัน!

ภาพฟุตบาทจากคุณ huamei จากข่าว <a href=
MGR Online  " data-width="600" data-height="450">
ภาพฟุตบาทจากคุณ huamei จากข่าว MGR Online 

เรื่องราวทางเท้าไทย ไม่ได้ถูกพูดถึงแค่ในประเทศ ชาวต่างชาติที่เคยมาเที่ยวไทยก็เจอเข้าให้กับ ‘ฟุตบาท Thailand only’ ถึงกับบัญญัติศัพท์ใหม่ไว้เลยว่า ‘BRICKFLICKED’ ที่หมายความประมาณว่า ทางเท้าของกรุงเทพมหานคร ที่พร้อมจะมีน้ำเน่าพุ่งขึ้นมาเสมอ

ขอบคุณภาพจาก <a href=
MGR Online " data-width="463" data-height="600">
ขอบคุณภาพจาก MGR Online

วัฒนธรรมการเดินเท้า

'ประเทศไทย มีวัฒนธรรมที่ปลูกฝังกันมาว่า รถยนต์เป็นใหญ่เสมอ เรามีสะพานลอย มากกว่าทางม้าลาย ซึ่งชี้วัดได้ว่าเมืองนี้ เอื้อประโยชน์ให้กับคนขับรถยนต์ มากกว่าคนเดินเท้า' – จากคำให้สัมภาษณ์ของ Goodwalk Thailand

ถ้าย้อนกลับไป วัฒนธรรมการเดิน ที่เราได้เคยอ่านจาก the 101.World เขาสรุปไว้พอเข้าใจว่า ‘สมัยก่อนโน้นลักษณะชุมชนเอื้อให้การเดินเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ละชุมชนจะมีทุกอย่างอยู่ใกล้ๆ อาศัยกันอยู่เป็นแคลน (clan) หรือกลุ่มเครือญาติ ศูนย์กลางของชุมชนอาจเป็นสถานที่ทางจิตวิญญาณ ไม่ก็พื้นที่ส่วนกลางที่คนสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งของกันได้ เช่น ท่าน้ำ เป็นต้น’ นั่นก็คือการจัดโซน วางแผนผังเมืองให้เอื้อกับการเดินถึงกันได้ง่าย ซึ่งมันก็ต้องหวังว่าคนที่สร้างทางเท้า จะเข้าใจกิจวัตร เรียนรู้สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของแต่ละย่านให้เข้าใจจริง ๆ เสียก่อน ถึงจะสร้าง และ ใช้วัสดุที่ทนทานต่อการใช้งานจริง ๆ

ขอบคุณภาพจาก <a href=
Unsplash " data-width="625" data-height="500">
ขอบคุณภาพจาก Unsplash

การเดินเท้า ก้าวแรกสู่การเปลี่ยนเมือง

ฟุตบาทที่เดินไม่ได้ ก็ทำให้เราไม่อยากใช้งาน นำมาซึ่งระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อคนเดินเท้า จึงทำให้เราไปเจอโครงการดี ๆ ที่ดูมีความหวังให้ฟุตบาทไทย ใช้งานได้จริง อย่าง‘GoodWalk’ โครงการที่ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มุ่งหมายให้เกิดการเดินของผู้คนในพื้นที่เมืองในชีวิตประจำวัน

ในทุกมุมโลกต่างมุ่งเปลี่ยนแปลงให้เมืองของตน ‘Walkable city’ ที่จะคนส่วนใหญ่หันมาเดิน ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ เพราะไม่ใช่แค่พลเมืองจะสุขภาพดี ภูมิทัศน์ของเมืองก็รื่นรมณ์อีกด้วย

ขอบคุณภาพจาก <a href=
Urban Creature " data-width="1535" data-height="1024">
ขอบคุณภาพจาก Urban Creature 

สถาปนิก นึกอะไร?

ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ หัวหน้าโครงการเมืองเดินได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า 'เพราะการเดินเท้าเป็นการสัญจรที่เป็นอิสระมากที่สุดโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ที่แม้แต่จักรยานก็ยังมีเงื่อนไขในการหาที่จอด คือ การเดินเท้านั้นเป็นการประหยัด ออกกำลังกาย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ทางด้านสังคม เศรษฐศาสตร์ คือ เป็นมิตรกับธุรกิจเล็กๆ ข้างทาง เป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระดับท้องถิ่น ทำให้คนสามารถพบปะกับผู้คน พบปะกับสิ่งรอบกาย ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม ดังนั้นจึงมีคนพูดกันบ่อยว่าเมืองใดที่ขาดพื้นที่ทางเท้า หรือพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ เมืองนั้นยากที่จะสร้างประชาธิปไตยขึ้นได้ เพราะฉะนั้น "เมืองที่เดินได้และเดินดี" จึงเป็นเมืองที่ดีและเป็นที่มาของโครงการที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม'

ขอบคุณภาพจาก <a href=
workpointTODAY" data-width="816" data-height="428">
ขอบคุณภาพจาก workpointTODAY

ไม่นานมานี้ เราเริ่มเห็นการปรังปรุงภูมิทัศน์ของถนนข้าวสาร ให้มีระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น พร้อมตั้งรับนักท่องเที่ยวหลังโควิด19 ที่จะหายไป ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะมี ‘ฟุตบาที่เดินได้จริง’ จริง ๆ แต่มีหนึ่งสิ่ง นั่นก็คือ อย่าลืมความร่วมใจของชาวไทยเดินเท้าทุกท่าน รักษาฟุตบาทให้ยังคงสวยงาม น่าเดิน จะได้เดินได้เดินดีแฮบปี้กันทุกท่าน : )

- Ruby The Journey

.

อ้างอิง

-MGR Online

- The101.world

-เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ 

-Prachachat

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 155

  • Pittaya833
    ถ้ามีองค์กรที่คอยกวาดข้าราชการเข้าเกียร์ว่าง คอร์รับชั่นและพวกที่ไร้ความสามารถออกไปได้จะดีมาก
    11 ก.ย 2563 เวลา 22.29 น.
  • วิรัช
    ทำให้ดีคงทนถาวรไม่ได้ครับ เดี๋ยวงบซ่อมแซมเหลือ คนมาทีหลังจะได้ซ่อมแซมไงครับ รับกันเป็นทอดๆ ไหนจะต้องมีค่่นำ้ร้อนนำ้ชา ค่าอำนวยความสะดวก แล้วแต่ข้าราชการจะเรียก
    11 ก.ย 2563 เวลา 23.12 น.
  • เมื่อไรไม่มีคอร์ปชั่นเมื่อนั้นประเทศไทยเจริญ เริ่มจากผู้นำก่อน ข้าราชการรอบตัวผู้นำ
    11 ก.ย 2563 เวลา 23.11 น.
  • M P. เปี๊ยก !
    เช้าชามเย็นชามยังใช้ได้ดีกับ ข้าราชการไทย รวม2ชาม ถุยๆ
    11 ก.ย 2563 เวลา 22.44 น.
  • SON1
    ชอบบทความนี้ครับ ความเจริญก้าวหน้าประเทศไปได้ไกลเเค่ไหน วัดได้จาก ทางเดิน จริงๆ
    11 ก.ย 2563 เวลา 23.27 น.
ดูทั้งหมด