โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ฟังวนไป ไขความลับ : ทำไมเราถึงฟังเพลงที่ชอบซ้ำๆ

Mango Zero

เผยแพร่ 13 ก.ย 2561 เวลา 11.52 น. • Mango Zero

เป็นไหม ? ที่ว่าทำไมเราชอบฟังเพลงนั้น ซ้ำๆ วนไปวนมา บางคนถึงกับฟังเพลงเดิมเกิน 10 รอบ บางเพลงฟังเป็นอาทิตย์แล้ว หรือ บางคนฟังบ่อยมากจนไม่กลับมาฟังเพลงนั้นอีกก็มี แล้วเหตุผลอะไรที่เราถึงฟังวนได้ไม่เบื่อ เราชอบ เรารู้สึกอิน หรือ มันบอกอะไรบางอย่างกับเรา

จากการศึกษา Psychology of Music งานวิจัยของ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สำรวจ 204 คน ผู้หญิงและผู้ชาย ช่วงอายุ ไม่ถึง 30 ปี และ อายุ 30 ปี พบว่า 86 % ของการเลือกฟังเพลง เราจะหยิบเพลงที่ชอบมาฟังอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ คนฟังอีกจำนวนครึ่งหนึ่ง ฟังเพลงนั้น “ทุกวัน”

“การฟังเพลงซ้ำๆ ทำให้เราจินตนาการ และ สามารถร้อง คาดเดาท่วงทำนองเพลงนั้นได้” การฟังเพลงเหล่านั้นเหมือนเป็นสิ่งเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้สึกเหล่านั้นของเราให้ “รู้สึกมากยิ่งขึ้นไปอีก”

เพราะ มันเข้าถึงความรู้สึกของเราอย่างชัดเจน – ศาสตราจารย์ Elizabeth Margulis นักเขียนหนังสือเรื่อง The recent On Repeat: How Music Plays the Mind

การมีส่วนร่วมเสมือนจริง

เพลงบางเพลงทำให้เรารู้สึกถึงความรู้สึกร่วมแบบเฉพาะเจาะจง ความทรงจำ ประสบการณ์บางอย่างมันกลับมา เมื่อเราได้ฟังเนื้อร้องและท่วงทำนองเหล่านั้น อีกส่วนคือ เราฟังเพราะเพลงนั้น เพราะ มันเรียบง่าย และ จดจำง่าย

บางเพลงทำให้เรารู้สึก มีความสุข สงบ และ เศร้า ขมๆ สำหรับบางคนที่ชอบฟังเพลงแล้วรู้สึก “แฮปปี้ มีความสุข” อาจเพราะ เราถูกดึงดูดด้วยทำนอง และ จังหวะเหล่านั้น

ส่วนบางคนฟังเพลงแล้วรู้สึกเศร้า และ เกิดการนึกถึง เพราะ เพลงนั้นมีส่วนเชื่อมโยงความรู้สึกของเราได้มากกว่า ลองสังเกตุ ทำไมเราฟังเพลงเศร้า หรือ ที่มีความหมายซึ้งๆ หน่อย เราจะอินตามได้ง่ายกว่า เข้าถึงความหมายและห้วงความรู้สึกนั้นได้มากกว่า เพราะ เราใช้ความทรงจำมาร่วมในเพลงด้วย

การเสพติดที่เป็นดนตรี

มันไม่ใช่เรื่องรุนแรงอะไรเลย เป็นเรื่องปกติที่เราจะมักทำอะไรซ้ำๆ เพราะมันมีผลต่อความรู้สึกของเรา การฟังเพลงก็เช่นกัน เพราะ เพลงมีความสามารถในการเชื่อมโยงจิตใจของผู้ฟัง ปลุกความทรงจำและอารมณ์ให้ตื่นขึ้น

เราเสพติดอารมณ์ตอนเราฟังเพลงนั้นเหมือนยาเสพติด เราชอบอารมณ์ ความรู้สึกของเราตอนนั้น และ เรามักจะใส่เรื่องราว จินตนาการไปในเพลงนั้นด้วยเหมือนการเขียนหนังสือนิยายสักเล่มหนึ่งที่ “คุณเป็นผู้เขียน”

เกล็ดความรู้

ปีที่แล้วเพลง “Despacito” ของ Luis Fonsi และ Daddy Yankee เป็นเพลงที่วิทยุเปิดบ่อยมากที่สุด ไม่ใช่แค่วิทยุแต่ตามสถานที่ต่างๆ ด้วย ยอด Views บน Youtube สูงมากที่สุดเพลงหนึ่งของโลก 5,499,098,802 ครั้ง สร้างปรากฏการณ์เพลงได้อย่างสวยงามให้กับวงการเพลงและพวกเขา

นักแต่งเพลง Laura Taylor บอกว่า “A simple melody that’s easy to follow and easy to sing, even if you can’t sing.” (เพลงที่มีเมโลดี้ง่ายๆ จะง่ายต่อการฟัง และ ง่ายต่อการร้องตาม แม้ว่าเพลงนั้นเราอาจจะร้องไม่ได้)

แสดงให้เห็นว่า เนื้อเพลงก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะพาผู้ฟังอินตามให้เกิดความรู้สึกร่วม อารมณ์ผู้ฟังก็เป็นส่วนที่ถูกดึงมาให้ร่วมกับเพลง แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ท่วงทำนอง จังหวะ เมโลดี้ เพราะ เราอาจชอบและหลงรักจังหวะเหล่านั้น แม้ว่าเราจะแปลความหมายไม่ได้ก็ตาม เพลง “Despacito” เพลงภาษาสเปน เป็นเพลงหนึ่งที่ตอบข้อนี้ได้ดี

อ้างอิง

https://mic.com/articles/99744/the-science-behind-why-you-listen-to-your-favorite-songs-obsessively#.1RZFvutYv

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0