นกยูง เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ มีจุดเด่นคือรักเดียวใจเดียวมีคู่แค่ตัวไปตลอดชีวิต หากตัวใดตัวนึงตาย อีกก็จัม่องตามไปด้วย เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน"
นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา
ในเมืองไทยบ้านเรามีนกยูงอยู่ 2 ชนิด คือนกยูงเขียวหรือนกยูงไทย และนกยูงฟ้าหรือนกยูงอินเดีย แต่มีเพียงนกยูงเขียวหรือนกยูงไทยเท่านั้น ที่สามารถพบได้ในป่าธรรมชาติของประเทศไทย ซึ่งแพร่กระจายในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย
นกยูงไทย (Green peafowl) เป็นนกขนาดใหญ่ตระกูลไก่ฟ้า ทีมีหางสวยๆ และปลายหางจะมีแผ่นขนแบนๆ เป็นวงกลมหรือที่เรียกว่าแววมยุราไว้ใช้สำหรับรำแพนเกี้ยวตัวเมีย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักได้ชื่นชมความงดงามของนกยูงในสวนสัตว์ และน้อยคนนักที่จะทราบว่านกยูงในไทยมีกี่ชนิด
นกยูงอินเดีย (Pavo cristatus) มีหงอนบนหัวแผ่เป็นพัด มีหนังข้างแก้มเป็นสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนเป็นสีน้ำเงิน พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย
นกยูงไทย (Pavo muticus) มีหงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้างแก้มเป็นสีฟ้าและสีเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางเป็นสีเขียว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกชองอินเดียติดกับพม่า ภูมิภาคอินโดจีน และชวา
ด้วยสวยงามของนกยูง เลยตกเป็นเป้าในการล่า เพื่อนำมาเลี้ยง เอาหางไปทำเครื่องประดับ อีกทั้งการบุกรุกทำลายป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกยูงอาจทำให้นกยูงไทยสูญพันธุ์ได้ เจ้าหน้าที่จึงต้องมีการป้องกันผืนป่าให้คงความสมบูรณ์อย่างเข้มข้น ปัจจุบันนกยูงไทย ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562
#ภาพ : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
Cr.ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ความเห็น 1
โอม9789
กรมเพาะเลี้ยง..ขยายขายให้ชาวบ้าน...เพาะเลี้ยงเป็นอาชีพ...สร้างรายได้...อนุรักษ์..มองต่างบ้าง..
04 พ.ค. 2564 เวลา 00.23 น.
ดูทั้งหมด