โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พลังแห่งเดดไลน์ ทำได้ทุกอย่าง! รู้จัก Parkinson’s Law กับเหตุผลว่าทำไมถ้าไม่ใกล้เดดไลน์ ก็ไม่ยอมทำงาน

Mission To The Moon

เผยแพร่ 14 ก.ค. 2564 เวลา 01.30 น.

พลังแห่งเดดไลน์ ทำได้ทุกอย่าง! รู้จัก Parkinson’s Law กับเหตุผลว่าทำไมถ้าไม่ใกล้เดดไลน์ ก็ไม่ยอมทำงาน

.

หากงานชิ้นหนึ่ง มีกำหนดส่งภายในวันนี้ คุณจะทำงานชิ้นนี้ตอนไหน?

และถ้าหากงานชิ้นเดียวกัน แต่กำหนดส่งอาทิตย์หน้า คุณจะทำงานนี้ตอนไหน?

ไกลขึ้นไปอีก หากเปลี่ยนกำหนดส่งงานนี้เป็นเดือนหน้า คุณจะเริ่มทำตอนไหน?

หรือถามง่ายๆ ว่า คุณจะเริ่มงานนี้ ‘ตอนนี้’ เลย หรือรอใกล้กำหนดส่ง 3 วัน ถึงค่อยเริ่มทำ?

.

.

“Work expands so as to fill the time available for its completion” 

.

แปลได้ว่า “งานจะขยายออกไปตามเวลาที่ถูกกำหนด” เป็นคำอธิบายของ Parkinson’s Law โดยนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ Cyril Northcote Parkinson ผู้เริ่มศึกษาเรื่องนี้จากการสังเกตเห็นวิธีการทำงานของคนรอบตัว ว่าทำไมคนเราถึงใช้เวลาในการทำงานแบบเดียวกัน ด้วยระยะเวลาที่ต่างกัน

.

หากเป็นงานที่กำหนดส่งวันนี้ คุณอาจจะเริ่มทำงานนั้นทันทีในวันนั้นเลย กลับกัน หากกำหนดส่งงานเดือนหน้า คุณอาจค่อยๆ ทำงานไปทีละนิด หรือไม่ก็เพิ่งจะเร่งทำงานนั้นเอาวันท้ายๆ ก่อนกำหนดส่งเท่านั้น 

.

ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า ระยะเวลาในการทำงานที่มากขึ้น ส่งผลให้ได้งานที่มีคุณภาพดีขึ้น ก็อาจไม่จริงเสมอไป งานเดียวกันที่ให้เวลา 1 วัน หรือ 1 เดือน อาจใช้เวลาในการทำแค่ 3 ชั่วโมงก่อนส่งก็ได้เหมือนกัน

.

หรือเห็นชัดๆ อย่างในสมัยเรียน ก่อนสอบบางวิชา ทั้งที่มีเวลาทบทวนบทเรียนทั้งเดือน แต่ก็เพิ่งจะมาเริ่มขยันเอาวันสุดท้าย เกิดเป็นคำพูดติดปากของเหล่านักเรียนนักศึกษาว่า “One Night Miracle” อ่านหนังสือจนโต้รุ่ง สุดท้ายก็ทันบ้างไม่ทันบ้าง ได้แต่บอกกับตัวเองว่า “คราวหน้าจะไม่ทำอีก” ตั้งเป้าไว้ว่าจะรีบอ่านหนังสือก่อนสอบเป็นเดือน แต่สุดท้าย ถ้าไฟไม่ลนก้น ไฟแห่งความขยันก็ไม่ลุกขึ้นมาสักที แล้วก็วนกลับไป One Night Miracle อยู่เหมือนเดิม

.

หรือให้เปรียบเทียบได้ว่า ‘ไม่เห็นเดดไลน์ ไม่หลั่งน้ำตา’

.

.

ยิ่งเวลาเยอะ ยิ่งขี้เกียจ

.

ในทางตรงกันข้าม หากอยากปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานตัวเอง โดยไม่ต้องมารีบทำงานแค่ตอนไฟเดดไลน์ใกล้เข้ามาอยู่แบบนี้ เราก็สามารถนำหลักการนี้มาใช้ประโยชน์ได้ด้วยการ ‘กำหนดระยะเวลาตัวเองในการทำงานที่ชัดเจน’ ต่อให้งานนั้นจะมีกำหนดส่งไม่ว่าจะเดือนหน้า หรือปีหน้าก็ตาม หากลองกำหนดเดดไลน์สำหรับตัวเองใหม่ ว่าตัวเองจะต้องรีบทำงานนี้ให้เสร็จภายในระยะเวลาที่แคบลงมา หรือกำหนดเดดไลน์งานนั้นเป็นขั้น ว่าวันไหนควรทำเสร็จถึงแค่ไหนไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องมากังวลว่าต้องรีบปั่นงานเอาวินาทีสุดท้ายอยู่เหมือนเดิม

.

แต่การกำหนดเดดไลน์ที่ดี ก็ไม่ได้หมายความว่า จำเป็นจะต้องเร่งรัดตัวเองให้ทำงานให้เสร็จในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เพราะการจัดการเวลาที่ดี คือการกำหนดเวลาที่เหมาะสมกับเนื้องาน หากน้อยไปก็อาจได้งานที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ หรือหากมากไป ก็มีแต่จะทำให้ผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ไม่ได้เริ่มทำงานสักที

.

.

หากใครรู้ตัวว่าเป็นสายงานเร่ง One Night Miracle หรือไม่เห็นเดดไลน์ไม่หลั่งน้ำตาเหมือนกัน ถ้าอย่างนั้นหลังจากนี้ก็ลองจัดการเวลาการทำงานตัวเองเสียใหม่ หยิบสมุดแพลนเนอร์ขึ้นมาสักเล่ม ลองกำหนดระยะเวลาการทำงานชิ้นนั้นๆ สำหรับตัวเองให้เหมาะสม และอย่าลืมทำตามเวลาที่วางไว้ให้ดีด้วย คราวหน้าจะได้ไม่ต้องมาเร่งทำงานก็ต่อเมื่อไฟเดดไลน์จ่ออยู่ที่หลังแบบนี้อีกแล้ว

.

.

อ้างอิง:

https://bit.ly/3wvksMu

https://bit.ly/3ALHbav

https://bit.ly/3wwyYUi

.

#missiontothemoon 

#missiontothemoonpodcast

#selfimprovement

#behavior

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0