- พลาสติกเบอร์1 โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต
‘ขวดPET’ หรือขวดพลาสติกเบอร์1 โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต(Polyethylene Terephthalate) ซึ่งเป็นขวดพลาสติกใสและแข็งแรง ใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม น้ำมันพืช จุดสังเกตคือก้นขวดจะมีรอยนูนบนเนื้อพลาสติกที่เกิดจากการเป่าขึ้นรูปในกระบวนการผลิต นอกจากจะขายได้ราคาดีแล้ว ส่งไปแปลงร่างเป็นเส้นใยพลาสติกสำหรับทอเป็นผ้าไตรจีวร ได้ที่วัดจากแดง ซอยวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โทร066 159 9558
2. พลาสติกเบอร์4 โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ
ถุงพลาสติกหูหิ้ว ฟิล์มหุ้มแพ็กกล่องนม ฟิล์มหุ้มแพ็กขวดเครื่องดื่ม ฟิล์มพลาสติกห่อแพ็กทิสชู ผ้าอนามัย และผ้าอ้อมสำเร็จรูป ซองไปรษณีย์ ถุงซิปล็อค ซองยา พลาสติกกันกระแทก ถุงขนมปัง ถุงน้ำตาลทราย ถุงใส่ผักผลไม้ ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกเบอร์4 โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ(Low Density Polyethylene หรือLDPE) ซึ่งเหนียว นิ่ม ยืดง่าย หากเก็บไว้นานแล้วก็ยังไม่ครบกิโลฯ สักที แทนที่จะรอขาย ส่งรีไซเคิลกับโครงการ‘วน’ อาจจะง่ายกว่า ที่อยู่ตามนี้ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด(มหาชน) 42/174 ม.5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม73210 https://www.facebook.com/wontogether/
3. พลาสติกเบอร์6 โพลีสไตริน
ตระกูลโฟม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นโฟม ถาดโฟม กล่องโฟม เศษโฟม ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ หรือโฟมกันกระแทก จัดเป็นพลาสติกเบอร์6 โพลีสไตริน(Polystyrene หรือPS) บริษัท เอ็นไวรอนพลาสต์ จำกัด พร้อมอ้าแขนรับ เพียงส่งไปที่29/1 หมู่9 ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี11120 โทร080 440 8788 https://www.facebook.com/EVP.Environplast
4. ช้อนส้อม หลอด แก้วน้ำพลาสติก
ขวดนม ช้อน/ส้อม/มีดพลาสติก หลอดดูด แก้วน้ำพลาสติก และบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางพลาสติก บริษัท ซีโร่ เวสท์ โยโล จำกัด ยินดีรับจัดการ จ่าหน้ากล่องตามนี้ 432 ถ.พรานนก–พุทธมณฑล แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กทม. 10170 โทร061 536 5514 https://www.facebook.com/zerowasteyolo/
5. ฝาขวด
ฝาขวดน้ำหลากสีสันก็ไม่ไร้ค่า โครงการPrecious Plastic Bangkok สามารถรีไซเคิลเป็นกระถางหรือแจกันได้ จักรพงษ์วิลล่า396/1 ถ.มหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ10200 https://www.facebook.com/PreciousPlasticBKK/
6. กล่องเครื่องดื่มที่รีไซเคิลไม่ได้
กล่องเครื่องดื่มบางชนิดจะนำไปรีไซเคิลไม่ได้ แต่สามารถนำไปผลิตเป็นแผ่นหลังคาได้ เพียงส่งต่อให้โครงการหลังคาเขียว ที่บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด(ระบุหน้ากล่องว่า ร่วมโครงการหลังคาเขียวฯ) 30/11 หมู่ที่11 วัดบางเสาธง ถนนบางนา–ตราด ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ10570 https://www.facebook.com/Thaigreenroof/
7. ขยะพลาสติกที่ใช้ซ้ำไม่ได้ ขายไม่ได้ รีไซเคิลไม่ได้
พลาสติกที่เหลือคือพวกใช้ซ้ำไม่ได้ ขายไม่ได้ รีไซเคิลไม่ได้ และไม่มีใครต้องการ คือเป็นขยะจริงๆ เช่น ซองฟอยด์ ถุงลามิเนตที่ผลิตจากฟิล์มพลาสติกและอะลูมิเนียมฟอยด์ เศษพลาสติกต่างๆ หลอดยาสีฟัน ฯลฯ ก็ยังสามารถผลิตเป็น‘Eco-Bricks’ ได้ง่ายๆ
เพียงตัดขยะแห้งและสะอาดเหล่านั้นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงขวดPET ขนาด0.5-2 ลิตรที่แห้งและสะอาดเช่นกัน ใช้แท่งไม้อัดให้แน่นจนเต็ม ชนิดที่ปิดฝาแล้วจะไม่สามารถบีบหรือบิดขวดได้อีก
เมื่อสะสมได้จำนวนพอควร ก็ส่งต่อEco-Bricks ให้โครงการผึ้งน้อยนักสู้1/778 อาคารการ์เด้นโฮมพลาซ่าโซน2 ถนนพหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี12130 หรือแบมบูสคูล(Bamboo School) 234 ซ.แมมแคท หมู่บ้านบ้องตี้ล่าง ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี71150 ซึ่งเป็นสองกลุ่มที่กำลังต้องการใช้มันเป็นส่วนประกอบของการก่อสร้างบ้านดินหรืออาคารเรียน
ความเห็น 7
WCJ
ถ้าทุกครัวเรือนช่วนกันคัดแยกขยะก่อนทิ้งจะไม่มีขยะเลยเพราะเกือบ100%รีไซเคิลได้ยกเว้นเศษอาหารเหลือทิ้ง(ก็เอาไปเลี้ยงข้าวหมูหรือหมักทำปุ๋ย)
20 ก.ย 2562 เวลา 01.17 น.
Mew
กำหนดให้ไปรษณีย์🚚หรือกทม.🚛ตั้งกล่องรวมส่งต่อฟรี
19 ก.ย 2562 เวลา 17.33 น.
Pooh Kasem
แถวบ้านมีร้านรับซื้อ ก็เลยทำความสะอาดเฉพาะขยะจากบ้านตัวเอง เก็บ แยกขยะขายเล่นสนุกๆ ขยะทิ้งจากบ้านตัวเองเลยมีน้อยมาก ตั้งแต่แยกขยะขาย ขายครั้งนึงก็ได้ 100-130 บาท รวมๆแล้วก็ได้เกิน 2 หมื่นบาทได้แล้วน่ะ ถ้าขายซาเล้ง ราคาลดลงครึ่งนึง แต่ไม่ต้องเดินทางไปถึงร้าน
คำนวณดูแล้ว ที่ทำมาน่าจะลดขยะที่ไปหลุมฝังกลบได้ประมาณ 150 คิวล่ะนะ @^_^@
19 ก.ย 2562 เวลา 17.32 น.
มลพิษจากพลาสติกกำลังทำลายหวงโซ่อาหารของธรรมชาติ เพราะการผลิตมาใช้มากเกินกว่าจะกำจัดได้ทัน
19 ก.ย 2562 เวลา 16.01 น.
แค่แยกขยะก็ยากแล้ว อย่าว่าจะส่งไปที่อื่น
19 ก.ย 2562 เวลา 15.14 น.
ดูทั้งหมด