โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รวมราคาอุดฟัน ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก

HonestDocs

อัพเดต 22 พ.ย. 2563 เวลา 18.49 น. • เผยแพร่ 22 พ.ย. 2563 เวลา 18.49 น. • HonestDocs
รวมราคาอุดฟัน ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก
อุดฟัน ราคาถูกมีไหม? ราคาแพงหรือเปล่า? ราคาที่โรงพยาบาลรัฐ เอกชน คลินิก อนามัย ต่างกันมากน้อยแค่ไหน? อัตราค่ารักษาเป็นอย่างไร? ใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่?

ฟัน เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญบนร่างกายที่ต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี เราควรตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน และเมื่อเกิดฟันผุขึ้น "การอุดฟัน" ก็เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ 

การอุดฟันคืออะไร?

การอุดฟันคือการทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไปจากกรณีต่างๆ เช่น ฟันผุ ฟันสึก ฟันแตก เพื่อให้ฟันกลับมามีรูปทรงเดิม และสามารถใช้งานได้ตามปกติ

การอุดฟันนั้น สามารถช่วยป้องกันการผุเพิ่มขึ้นด้วยการปิดช่องทางที่แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ และช่วยให้ฟันกลับมามีรูปร่างตามปกติ สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้ โดยขณะอุดฟัน ทันตแพทย์จะเอาเนื้อฟันที่ผุออก และทำความสะอาด จากนั้นจึงเติมวัสดุอุดฟันลงไป

วัสดุที่ใช้อุดฟันมีอะไรบ้าง?

วัสดุในการอุดฟันหลักๆ มี 4 ประเภท ได้แก่ 

1. ทอง

ทองที่ใช้อุดฟันทำขึ้นในห้องปฏิบัติการ โดยการอุดฟันขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "อินเลย์" ที่ทำจากทองมักจะไม่ค่อยระคายเคืองเหงือก และอาจอยู่ได้นานถึง 20 ปี ด้วยเหตุนี้เอง หลายๆ คนจึงเลือกทองให้เป็นวัสดุอุดฟันที่ดีที่สุด 

อย่างไรก็ตาม การอุดฟันชนิดนี้มีราคาแพงที่สุด และต้องใช้เวลาพบทันตแพทย์หลายครั้ง

2. อะมัลกัม

อะมัลกัมเป็นวัสดุทำจากโลหะเจือ หรือโลหะผสม ที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่คือเงิน ดีบุก ทองแดง สังกะสี ผสมกับปรอท เป็นการอุดฟันที่ค่อนข้างคงทน และราคาไม่แพง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัสดุนี้มีสีเข้ม จึงมองเห็นได้เด่นชัดกว่าพอร์ซเลน (Porcelain) และคอมโพสิต (Composite) จึงไม่ถูกเลือกใช้กับบริเวณที่เห็นได้ง่าย เช่น ฟันหน้า 

หากอุดฟันด้วยวัสดุนี้ ไม่ควรเคี้ยวอาหารด้านที่อุดฟันเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง เนื่องจากในระยะแรกฟันยังแข็งแรงไม่เต็มที่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย แต่หลังจากครบ 24 ชั่วโมงก็สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ

3. คอมโพสิต (พลาสติก)เรซิน

เป็นวัสดุที่ใช้สีที่เหมือนฟัน จึงมักใช้สำหรับบริเวณที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ

วัสดุคอมโพสิตนี้อาจไม่สามารถใช้อุดฟันในบริเวณกว้างได้ เนื่องจากไม่คงทนเท่ากับวัสดุอื่นๆ โดยอยู่ได้ประมาณ 10 ปี นอกจากนี้ยังเป็นคราบจากชา กาแฟ หรือยาสูบได้

4. พอซเลน (Porcelain)

นิยมนำมาใช้อุดฟันแบบที่เรียกว่า อินเลย์ (อุดตรงกลาง ส่วนในเนื้อฟัน) หรือ ออนเลย์ (อุดด้านบนของฟัน) ทำขึ้นภายในห้องปฏิบัติการ และนำมาเชื่อมต่อกับฟัน สามารถทำสีให้เข้ากับสีฟันของคุณได้ และทานต่อคราบชา กาแฟ หรือยาสูบ

การอุดฟันด้วยพอซเลนมักจะครอบคลุมเนื้อที่ฟันส่วนใหญ่ มีราคาเท่ากับการอุดฟันด้วยทอง

การอุดฟันต้องทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ทันตกรรมหลายแห่งให้บริการแก่บุคคลที่สนใจ ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน รวมถึงคลินิกทันตกรรมหลายแห่ง ซึ่งระยะเวลาในการรอคิวและราคาจะแตกต่างกันออกไป

เปรียบเทียบราคาอุดฟันของโรงพยาบาลและคลินิก

หากเป็นโรงพยาบาลของรัฐจะมีข้อดีในด้านของราคา ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า แต่ข้อเสียคือจะรอคิวนาน ส่วนในด้านของโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกนั้นจะมีข้อดีคือ ไม่ต้องรอคิวนาน สะดวกรวดเร็ว สามารถทำได้ทันที แต่มีข้อเสียคือ ราคาแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐมาก ดังตัวอย่างราคาต่อไปนี้

1. โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม ด้านละ 400-1,800 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ด้านละ 500-1,400 บาท

2. โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 500-1,200 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (ฟันหน้า) 700-1,300 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (ฟันหลัง) 700-1,300 บาท

3. โรงพยาบาลศิริราช

  • อุดฟันด้วยวัสดุสีโลหะ 1 ด้าน 270-420 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 1 ด้าน 350-550 บาท

4. โรงพยาบาลบางใหญ่

  • อุดฟันชั่วคราว 250 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 1 ด้าน 350 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 2 ด้าน 450 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 3 ด้าน 550 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม 4 ด้าน 550 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 1 ด้าน 450 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 2 ด้าน 550 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 3 ด้าน 650 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 4 ด้าน 650 บาท

5. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกทันตกรรม

6. SIAMDENT DENTAL CLINIC

  • อุดฟันชั่วคราว 300 บาท
  • อุดฟันสีโลหะ ด้านแรก 600 บาท ด้านต่อไป 300 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ด้านแรก 700 บาท ด้านต่อไป 300 บาท

7. Skytrain dental group

  • อุดฟันชั่วคราว 300-400 บาท
  • อุดฟันด้วยอะมัลกัม ด้านละ 500 บาทขึ้นไป
  • อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ด้านละ 600 บาทขึ้นไป
  • รองพื้นก่อนอุด 100 บาท

8. Veranda dental clinic

  • อุดฟันสีเงิน เริ่มต้น 600 บาท
  • อุดฟันสีเหมือนฟัน เริ่มต้น 700 บาท
  • อุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน 2,000-3,000 บาท

 

นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการอุดฟันยังสามารถใช้สิทธิเบิกประกันสังคมได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน รวมถึงคลินิกที่มีรายชื่ออยู่ในสิทธิประกันสังคมอีกด้วย 

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการจัดฟันสามารถขอติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรงกับทางโรงพยาบาล และคลินิก เพื่อประเมินการรักษา และสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้

ดูแพ็กเกจอุดฟัน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @hdcoth หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0