โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

มาฟังคำตอบ โรคนิมโฟมาเนีย VS โรคฮีสทีเรีย ต่างกันอย่างไร?

MThai.com - Health

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2561 เวลา 11.00 น.
มาฟังคำตอบ โรคนิมโฟมาเนีย VS โรคฮีสทีเรีย ต่างกันอย่างไร?
หลายคนอาจจะเข้าว่าโรคฮีสทีเรีย คือ โรคที่ขาดผู้ชายไม่ได้ แท้จริงแล้วมันคือตัวตนของ โรคนิมโฟมาเนีย มาดูกันดีกว่าว่าทั้ง 2 โรคแตกต่างกันอย่างไ

เป็นที่พูดถึงมากในโลกโซเชียล สำหรับละครเรื่อง เมีย 2018 ที่นางเอกถูกน้องสาวแย่งสามีของตัวเองไป แล้วนางเอกก็มารู้ทีหลังว่าน้องของตัวเองป่วยเป็นโรคจิตเภทอย่างหนึ่ง ทำให้ชาวเน็ตตั้งข้อสงสัยว่า น้องเมีย หรือกันยา เป็นโรคนิมโฟมาเนีย หรือ โรคฮีสทีเรีย กันแน่ เราลองมาดูความต่างของทั้ง 2 โรคนี้กัน

ความต่างระหว่าง โรคนิมโฟมาเนีย และ โรคฮีสทีเรีย

หลายคนคงเข้าใจว่า “โรคฮีสทีเรีย” คือ “โรคขาดผู้ชายไม่ได้” มีความต้องการทางเพศสูง ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด แท้จริงแล้วมันคือตัวตนของ “โรคนิมโฟมาเนีย (Nymphomania)” ต่างหาก แถมยังไม่ได้เป็นแค่เฉพาะผู้หญิง ผู้ชายก็สามารถเกิดขึ้นได้อีกด้วย

โรคนิมโฟมาเนีย

โรคนิมโฟมาเนีย จัดอยู่ในอาการป่วยขั้นรุนแรง สามารถเกิดได้ทั้งชายและหญิง แต่ผู้ป่วยชายมักจะถูกเรียกว่า “สไตเรียซิส (Satyriasis) มักพบได้ในผู้ชายที่อยู่ในกลุ่มรักร่วมเพศ

สาเหตุของโรคนิมโฟมาเนีย

  1. กรรมพันธ์ : คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคนี้อยู่แล้ว

  2. เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) : มีทั้งในเพศชายและหญิง มันจะก่อให้เกิดความผิดปกติด้านการควบคุมอารมณ์ทางเพศ ขาดการยับยั่งชั่งใจ

  3. บาดแผลทางด้านจิตใจ : เจอเหตุการณ์ที่ร้ายแรงมากในชีวิต โดยเฉพาะปมเรื่องเพศในวัยเด็ก

  4. ปัญหาครอบครัว : การขาดความรักความอบอุ่นจากคนในครอบครัว ทำให้ต้องออกไปหาความรักนอกบ้าน ยิ่งถ้าได้คบเพื่อนไม่ดี ก็จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงขึ้น

  5. สภาพแวดล้อม : สังคมที่อยู่อาศัยแออัด เต็มไปด้วยความเครียด จะยิ่งเป็นตัวเร่งอาการ

  6. ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต : อาการคลั่ง ความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นผิดปกติ สำส่อนทางเพศ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงการขาดสมดุลทานด้านอารมณ์ และจิตใจ จนเกิดเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์

  7. ได้รับยาบางชนิดมากเกินไป : เช่น แอมเฟตามีน หรือเสพยาเสพติดมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อระบบประสาท การควบคุมตัวเอง

ลักษณะผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย

  1. มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้

  2. มักจะสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง

  3. แสดงออกทางเพศผิดปกติ เช่น ชอบความเจ็บปวด (Masochistic) ชอบความรุนแรง (Sadistic) รวมถึงพฤติกรรมอื่นๆ

  4. ชอบโชว์ และใช้บริการทางเพศจากการแชท เสพภาพลามก ใช้บริการทางเพศออนไลน์

  5. พูดจาลามก หรือแสดงกริยาส่อไปในทางเพศ ว่ามีความต้องการตลอดเวลา

โรคฮีสทีเรีย

ลักษณะของผู้ที่เป็นโรคฮีสทีเรีย

ผู้ป่วยมักจะมีอาการชอบทำตัวเด่น เรียกร้องความสนใจ คือพยายามแสดงออกมากจนเหมือนกับเล่นละครอยู่ ทำให้ดูเป็นคนเสแสร้งไม่จริงใจ แล้วพอแสดงอาการแบบนี้ออกไปให้เพศตรงข้ามเห็น ก็เลยดูเหมือนคนยั่วยวน คนภายนอกมองเข้ามาก็จะคิดว่า เขายั่วยวนเพศตรงข้ามอยู่ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ฮิสทีเรีย คือ โรคของคนที่มีความต้องการทางเพศสูง พร้อมจะมีอะไรกับใครทั้งนั้น ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ ที่เขาแสดงออกแบบนั้น เพราะคนเป็นฮิสทีเรียจะมีความเป็นเด็กสูงมาก ชอบเรียกร้องความสนใจ พยายามจะแสดงออกเพื่อหวังให้คนอื่นหันมาสนใจตัวเองบ้าง เวลาอยู่เฉยๆไม่มีใครสนใจก็จะรู้สึกไม่สบายใจ ขาดความมั่นใจ ถ้าอาการหนักหน่อยก็อาจถึงขั้นข่มขู่เพื่อเรียกร้องความสนใจได้เลย

สาเหตุของโรคฮิสทีเรีย

ที่ผู้ป่วยฮิสทีเรียเกิดอาการแบบนี้ขึ้น เพราะสาเหตุมาจากการขาดความรักนั่นเอง อาจจะมีบางช่วงชีวิตของเขาที่ เขาต้องการความรักอย่างมาก แต่สุดท้ายก็ไม่สมหวังเลย ทำให้เกิดการฝังใจและโหยหามันอยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็แค่เพียงความต้องการ “ความรัก” เท่านั้น ไม่ใช่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับใคร อย่างที่หลายคนเข้าใจผิดไป

โรคฮิสทีเรียมีวิธีการรักษาอย่างไร?

การรักษาอาการนี้เรียกได้ว่าค่อนข้างยาก เพราะคนที่เป็นโรคนี้ เขาไม่ค่อยอยากรักษาและมักคิดว่า “ก็ฉันไม่ได้ผิดปกติอะไรนี่ ทำไมฉันต้องไปหาหมอด้วย” ในหัวเขาจะคิดแต่แบบนี้ ดังนั้นการจะพาไปพบแพทย์ต้องอาศัยคนที่เขารัก หรือคนในครอบครัวช่วยกันชักชวนให้มาลองปรึกษาหาทางแก้ปัญหา โดยเทคนิคหลักๆ ที่ใช้ในการรักษาก็มีอยู่ 3 ทางด้วยกันนั่นก็คือ

  1. จิตบำบัดอย่างลึก

  2. จิตบำบัดเฉพาะตัว การรักษาจะมุ่งเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดปกติมากกว่าจะมุ่งที่ความขัดแย้งภายในจิตใจ

  3. จิตบำบัดกลุ่ม

คนที่เป็นโรคฮิสทีเรียเขาไม่รู้หรอกว่าตัวเองผิดปกติยังไง ต่อให้เขาไม่ได้คิดจะไปทำอันตรายกับใคร แต่ก็ไม่ปลอดภัยสำหรับตัวเขาอยู่ดี เพราะอาจจะมีคนอื่น ที่คิดร้ายและหวังใช้ประโยชน์จากความผิดปกตินี้อยู่ก็ได้ ดังนั้นพยายามชักชวนให้ไปรักษาให้หายจะดีกว่า

คลิป > เทคนิคออรัลเซ็กส์ ให้สะท้านถึงใจ

https://seeme.me/ch/women/kpRAVM

ที่มา : www.uniserv.buu.ac.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 1

  • Ake
    เพิ่งเข้าใจว่าใครคนนั้นมีอาการคล้ายโรคฮีสทีเรียแต่อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลยขอให้เราเข้าใจผิด
    18 ก.ค. 2561 เวลา 12.04 น.
ดูทั้งหมด