โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กัมมันตรังสีคืออะไร? สรุปปลาดิบจากฟุกุชิมะกินได้ไหม? มาหาคำตอบกัน!

LINE TODAY

เผยแพร่ 07 มี.ค. 2561 เวลา 09.19 น. • Chanatcha

สองสามวันมานี้ มีข่าวออกมาเกี่ยวกับปลาที่นำเข้ามาจากเมืองฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ที่เคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวแล้วเกิดสึนามิถล่ม เมื่อปี 2554 ทำให้กัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รั่วไหลลงไปในทะเล จนทำให้เกิดความสงสัยว่าปลาที่นำเข้ามานั้นอาจมีการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีหรือไม่ ล่าสุด นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมงได้ชี้แจงว่า ก่อนนำเข้ามาจากเมืองฟุกุชิมะ จะมีการตรวจสอบจากด่านศุลกากรและ วัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีจาก อย. ก่อนทุกครั้ง ถ้าเกินจากที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ก็จะไม่สามารถนำเข้ามาได้และไทยก็นำเข้าปลาจากฟุกุชิมะมานานแล้ว! 

นอกจากนี้นายแพทย์วินัย สัตยา เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาก็ได้กล่าวไว้ว่า ที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจตลอด แต่ไม่พบการปนเปื้อนที่เกินมาตรฐานแต่อย่างใด ก่อนยืนยันว่า “การบริโภคปลาที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นในประเทศไทยนั้นปลอดภัยแน่นอน”

แล้วกัมมันตภาพรังสีคืออะไร?​ ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้? ถ้ากินเข้าไปจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา? วันนี้เรามาหาคำตอบเรื่องนี้กัน

กัมมันตรังสีและกัมมันตภาพรังสีคืออะไร

กัมมันตรังสีคือธาตุที่สามารถปล่อยรังสีออกมาได้ และกัมมันตภาพรังสีคือการแผ่รังสีในขบวนการสลายตัวของธาตุๆนั้น รังสีที่ปล่อยออกมาได้แก่ รังสีอัลฟา เบต้า และแกมมา

กัมมันตรังสีมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ แม้แต่ในอากาศที่เราหายใจ หรือในอาหาร หรือแม้แต่ในร่างกายของเรา แต่เราก็สามารถสร้างให้กัมมันตรังสีเกิดขึ้นได้ เช่น จากระเบิดนิวเคลียร์ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น

ประโยชน์ของกัมมันตรังสี

ใช้ในการรักษาโรค เช่น X-Ray ,บำบัดโรคมะเร็ง ใช้ในการเกษตร ใช้ถนอมอาหาร ใช้ตรวจอายุวัตถุโบราณ ฯลฯ

โทษของกัมมันตรังสี

เมื่อได้รับกัมมันรังสีเข้าไปในร่างกายมากเกินไป รังสีที่แผ่ออกมาจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง โดยอาจมีอาการเริ่มแรกตั้งแต่ คลื่นไส้ เวียนหัว ท้องเสีย เบื่ออาหาร ตกเลือด อวัยวะทำงานผิดปกติ ทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ อาจส่งผลให้เป็นมะเร็งได้ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม กัมมันตรังสีบางชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกาย สามารถถูกขับออกออกได้ทางเหงื่อและปัสสาวะ แต่บางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไขกระดูก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของกัมมันตรังสี และระยะเวลาที่ได้รับรังสีเหล่านั้นด้วย 

การป้องกันตัวเองจากกัมมันตรังสี

1. หากมีความจำเป็นต้องเข้าใกล้สถานที่ที่มีกัมมันตภาพรังสี ใช้เวลาอยู่ในที่ที่กัมมันภาพรังสีให้สั้นที่สุด

2. อยู่ไกลจากสถานที่ที่มีกัมมันตภาพรังสี เพราะปริมาณความเข้มข้นของกัมมันตภาพรังสีจะลดลงไปเรื่อยๆ

3. ตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหาร หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีโอกาสเสี่ยงต่อสารพิษ

สุดท้ายนี้จงเลือกกินอย่างมีสติ ตรวจสอบแหล่งอาหาร ติดตามข่าวอย่างมีวิจารณญาณและหาความรู้อยู่เสมอ เท่านี้ก็สามารถกินได้อย่างสบายใจแล้ว!

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0