โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

สัญญาณอันตรายของโรคไหลตาย

Health Daily

เผยแพร่ 01 เม.ย. 2565 เวลา 11.30 น. • สุขภาพดีดี

สัญญาณอันตรายของโรคไหลตาย

 

             เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ วงการบันเทิงไทยได้สูญเสียนักแสดงหนุ่มมากความสามารถอย่าง “บีม ปภังกร” และยังคงสร้างความโศกเศร้าเสียใจต่อเพื่อนๆในวงการบันเทิง แฟนคลับ เป็นอย่างมาก สำหรับการเสียชีวิตของนักแสดงหนุ่มชื่อดังพระเอกเรื่องเคว้ง เสียชีวิตปริศนา หลังนอนหลับปลุกไม่ตื่น  สุขภาพดีดี.com ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของ “บีม ปภังกร” อย่างสุดซึ้ง

 

             สุขภาพดีดี.com เป็นห่วงสุขภาพทุกท่าน ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ โรคไหลตาย และ สัญญาณอันตรายของโรคไหลตาย มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันโรคไหลตายคืออะไร และเกิดจากอะไร?

 

โรคไหลตาย คืออะไร?

 

 

             รศ.พญ. สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์ แพทย์ประจำสาขาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อาการไหลตาย หรือ หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการนำเกลือแร่โซเดียมเข้าออกเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรง และเสียชีวิตกะทันหันได โรคไหลตายเป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน ความน่ากลัวของโรคนี้คือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน และไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้า

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด โรคไหลตาย

             ปัจจัยส่งเสริมอาการใหลตายในผู้ที่มีความผิดปกติจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงจนอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ ได้แก่

  • มีไข้สูง

  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

  • ใช้ยานอนหลับ

  • ขาดแร่ธาตุโพแทสเซียมอาการและสัญญาณของ โรคไหลตาย

  • อึดอัด หายใจไม่ออก โดยเฉพาะช่วงกลางคืน

  • อาจมีอาการเป็นลม หมดสติ

  • ใจหวิวๆ เครียดง่าย ตื่นเต้นง่าย

  • เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก

  • วิงเวียนศีรษะวิธีการรักษา และป้องกัน โรคไหลตาย

  • หากในรายที่มีความเสี่ยงต่อภาวะใหลตายสูง ควรลดและเลี่ยงปัจจัยที่ส่งเสริมอาการให้เกิดขึ้นต่างๆ เช่น ถ้ามีไข้สูง ให้รับลดไข้ด้วยการรับประทานยาลดไข้ เช็ดตัว ลดหรือเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น

  • ฝังเครื่องกระตุกหัวใจเข้าไปในร่างกายเป็นวิธีที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และหากเกิดความผิดปกติใดๆ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถให้คำแนะนำได้ทันท่วงที

 

ที่มาข้อมูล : รู้จัก ‘โรคใหลตาย’ ภาวะ หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภัยร้ายคร่าชีวิตโดยไม่รู้ตัว

“โรคใหลตาย” ความตายที่คนตายไม่รู้ตัว

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0