นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กล่าว สุนทรพจน์เปิดการสัมมนา “90 ปี แห่งความยั่งยืน เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย” วันนี้ 90 ปี หอการค้าไทย ได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ประสบความสำเร็จด้วย 3 ด้านอย่างเป็นที่ประจักษ์ สร้างความเชื่อมั่น ร่วมกันสร้างสรรค์ ช่วยกันผลักดัน เราช่วยกันสร้างหอการค้าให้มีความเป็นปึกแผ่นจากรุ่นสู่รุ่น ภายใต้แนวทาง “Connect the Dots”
หอการค้าอยู่คู่เศรษฐกิจไทยมา 90 ปี บทบาทหน้าที่ไม่ได้มีเพียงสร้างและส่งเสริมผู้ประกอบการเท่านั้น แต่มีส่วนในการสร้างสังคมไทย ลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับขีดความสามารถ ให้เติบโตอย่างยืนและทั่วถึง ดังนั้น เราจึงชูแนวทางการทำงานเป็น 3 ด้าน CONNECT, COMPETTITIVE, SUSTAINABLE
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “The time to act is now พลิกวิกฤต ฟื้นเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน” เศรษฐกิจไทย เผชิญกับผลกระทบจากสถานการณ์โลกต่าง ๆ ทั้งจากการดำเนินมาตรการการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน (Geopolitics) รวมทั้งภาวะความตึงตัวในตลาดการเงินโลก แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งส่งผลเป็นวงกว้างต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ต่อความเป็นอยู่ของประชาชน หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ดี รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยให้ความสำคัญกับ “การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส” อาทิ นโยบายด้านการต่างประเทศ การพัฒนาเมืองรอง การเดินทางไปเจรจากับบริษัทขนาดใหญ่ชั้นนำของโลก มาตรการปกป้องผู้ประกอบการ SMEs เสริมจุดแข็งของประเทศไทยด้านความพร้อมของ International School นโยบายแก้ปัญหาหนี้สิน นโยบายภาคการเกษตร และนโยบายเรื่อง “ไม่ท่วม ไม่แล้ง” เป็นต้น
รัฐบาล พร้อมสนับสนุนการ Business Matching ให้กับผู้ประกอบการไทยได้พบกับคู่ค้าต่างประเทศ และยินดีแก้ไขกฎหมาย ระเบียบที่เป็นอุปสรรค เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ให้กับผู้ประกอบการไทยทั่วประเทศ “ประเทศไทย เปิดแล้ว ภาคเอกชนพร้อม จับมือไปด้วยกัน”
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “90 ปีหอการค้าไทย กับ การพัฒนาของเศรษฐกิจไทย” บทบาทการดำเนินงานของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยตลอด 90 ปี ถือเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่ง ก้าวผ่านทุกวิกฤตมาอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมั่นว่าหอการค้าไทยจะเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งนี้ ขอให้หอการค้าไทย ภาครัฐและเอกชนต้องมองประโยชน์ชาติและประชาชนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต และควรต้องสื่อสารและสร้างความเข้าใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และเชื่อมั่นวินัยการเงินการคลังของประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ตลอดจน ประเทศไทยภายใต้รัฐบาลปัจจุบันจะมีความก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรือง
สุดท้ายนี้ การขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจยุคใหม่ ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทัน มีระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พาณิชย์ยุคใหม่ การค้าไทยเชื่อมโลก” พาณิชย์ยุคใหม่ จำเป็นต้องมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทยในเวทีโลก รวมทั้งต้องคำนึงกติกาการค้าของโลกยุคใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย Green Economy
แนวทางในการขับเคลื่อนพาณิชย์ยุคใหม่ของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 1.การเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ 2.การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน 3.การส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาคและตลาดโลก ทั้งนี้ การจะขับเคลื่อนให้การค้าพาณิชย์ของประเทศไทยเชื่อมกับโลกได้ จำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด ถือว่ามีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะทำให้กระทรวงพาณิชย์สามารถบริหารและวางแผนการทำงานให้เกิดความสมดุลทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน ผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รางวัล “สำเภาทอง” จะเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะทำให้เศรษฐกิจของไทยไปสู่ยุคแห่งความเจริญรุ่งเรือง
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และคนทุกกลุ่มเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ปัญหาทางสังคมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ดังนั้น การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพคนในทุกช่วงวัย ซึ่งต้องการความร่วมมือจากภาคธุรกิจ (สมาชิกของหอการค้าไทย) เป็นหุ้นส่วนในการร่วมพัฒนาสังคม พัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานหลักด้านสังคมในประเทศไทย ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย ผ่านวิสัยทัศน์ “ประชาชนเข้าถึงโอกาส และการคุ้มครองทางสังคม มีความมั่นคงในชีวิต”
ท้ายที่สุด เศรษฐกิจจะเติบโตได้ สังคมต้องดี ภาคธุรกิจ คือ หุ้นส่วนสำคัญในการพัฒสังคมศักยภาพคนทุกช่วงวัยและคนทุกกลุ่ม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน “Together Possible”
นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์
เสวนาเรื่อง “Connect The Dots for Competitiveness” ประเทศไทยมี GDP Per Capita ในอันดับที่ 91 ของโลก แต่ว่ากรุงเทพฯ ถูกจัดเป็นอันดับ 1 ของจุดหมายปลายทาง เมืองที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุด ซึ่งมีตัวอย่าง Soft Power ของประเทศไทยสำคัญ อาทิ 1.เกมเมอร์ 2.ผัดกระเพรา 3.มวยไทย และ 4.ประเพณีสงกรานต์ สำหรับประเทศไทย ในปี 2023 อยู่ในอันดับที่ 41 ซึ่งประเทศไทยมีต้นทุนทางวัฒนธรรม แต่ขาดการพัฒนาอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดี Soft Power กับโอกาสของประเทศไทย ควรมีการดำเนินการดังนี้ 1.บรรจุในยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐ 2.มีหน่วยงานกลางที่รวบรวมข้อมูลและให้ข้อมูล 3.สนับสนุนกิจกรรมให้เกิดการระดมทุนและเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4. ประสานงาน ทำการตลาดกับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง 5.แก้ปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรค พร้อมกันนี้ หอการค้าไทย มีบทบาทสำคัญเพื่อปลุก Soft Power สนับสนุนหอการค้าจังหวัด ได้แก่ Collaboration, Sourcing Local knowledge และ Expertise, Strategies, Capability Development
Soft Power สามารถเป็น New Growth Engine ของประเทศ หากเราสามารถเปลี่ยน “คุณค่า สู่มูลค่า” โดยการใช้นวัตกรรมต่อยอดภูมิปัญญาไทย ให้เกิดเป็นอาชีพที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างยั่งยืน
นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย
เสวนาเรื่อง “Connect The Dots for Competitiveness” Beyond Borders Competitiveness Redefined with Stylish Insights into the Future การดำเนินธุรกิจจะต้องใช้ข้อมูลที่รอบด้านประกอบการวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของ Gen ที่พบว่า Gen Z และ Gen Alpha จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในฐานะลูกค้าในอนาคต โดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมายต่อจากนี้ พบว่า Gen Alpha ถือเป็น 36% ของ Population ในอีก 10 ปีข้างหน้า ที่จะเป็นลูกค้าหลักของ E Commerce และธุรกิจนี้จะโตขึ้นอีกกว่า 4 เท่า
The Next Billion Consumer แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1.ผู้ที่ดูและซื้อของออนไลน์ 2.ผู้ที่ดูออนไลน์แต่ซื้อออฟไลน์ 3.ผู้ที่ใช้ดิจิทัลมากขึ้นในชีวิตประจำวันและมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต และ 4.Digital Alpha Influencer
ท้ายสุด ประเทศไทยต้องมี Platform กลางเป็นของตัวเอง และต้อง Security ที่ดี มี Shared Service ให้ลูกค้า และต้องการรีเซ็ตเพื่อการเติบโต (Resetting for growth) ดังนี้ 1.Gain forensic, real-time visibility with advanced analytics 2.Start at zero and redesign the business for growth and resilience 3.Bring everyone along for the journey 4.Make the transformation count
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์
เสวนาเรื่อง “Connect The Dots for Sustainability” Sustainability เป็นกระแสหลักสร้างความยั่งยืนต่อระบบเศรษฐกิจโลก โดยมีปัจจัยที่ท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงในช่วงปี 2023-2030 ที่สำคัญ ได้แก่ 1.ความเหลื่อมล้ำ 2.การปฏิรูปดิจิทัล 3.ความผันผวนภูมิอากาศ 4.ขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ 5.พฤติกรรมผู้บริโภค 6.สุขภาพมนุษย์
เป้าหมายภายใต้ 17 SDGs Goals ท้าทายเพื่อก้าวสู่ยุค 5.0 ที่สำคัญ คือ Climate Change จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร และในขณะที่ด้าน Education จะมีการพัฒนาหรือสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างไร หากปราศจาก “นวัตกรรม” จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความท้าทายต่อความยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ การสร้างความยั่งยืนในทางเศรษฐกิจได้นั้น ต้องคำนึงถึงการนำพลังงานสะอาดมาใช้ นักลงทุนจะให้ความสำคัญกับการนำพลังงานสะอาดมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ในการพัฒนาองค์กรเพื่อไปสู่เป้าหมายได้นั้น CP ให้ความสำคัญกับ Transparency, Market Mechanism, Leadership &Talents, Empowerment, Technology เป็นโมเดล
Sustainable Intelligence Formation : SI สิ่งสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในปี 2050 ต้องปรับตัว ผู้ที่อยู่รอดได้ไม่ใช่ผู้ที่ฉลาดหรือแข็งแรงที่สุด แต่คือผู้ที่ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด การเริ่มต้นไปสู่ความยั่งยืนที่ดีที่สุด คือ การหันหน้าเข้าหากัน ซึ่งจะทำให้บรรบลุเป้าหมายความยั่งยืนได้
นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP
เสวนาเรื่อง “Connect The Dots for Sustainability” Global Warming ได้สิ้นสุดแล้วกำลังเข้าสู่ช่วง Global Boiling อุณหภูมิโลกล่าสุดเฉลี่ยสามเดือนในปี 2023 เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งกำลังกลายเป็นวิกฤติของโลก ทุกประเทศต้องมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutral และ Net Zero ในปี 2065
กลุ่มธุรกิจ TCP ให้ความสำคัญ (purpose) การสร้างความยั่งยืน 4 ด้าน ได้แก่ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ (Product Excellence) , การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) , การส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Water Sustainability) และการมุ่งเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy)
เป้าหมายในการดำเนินงานสู่ความยั่งยืนในปี 2024 ได้แก่ Zero Carbon Beverage ส่วนผสมที่ได้มาต้องเป็น Net Zero Carbon ตอบสนองความต้องการผู้บริโภค Supply chain มีระบบการตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจนได้ Water Stress Mitigation นอกจากการทำ carbon footprint ให้มีการทำ water footprint เพื่อเป็นเป้าการลดปริมาณใช้น้ำ Health and Nutrition Focus ลดปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน อ.ย
การสร้าง Awareness ให้กับบริษัทขนาดเล็กสามารถดำเนินการได้โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. การปรับตัวและเตรียมความพร้อมไปสู่เป้าหมาย Sustainability (Adapt and set potential goals)
2. การวัด และประเมินผล (Measure and evaluate)
3. ความมุ่งมั่นและการลงทุนไปสู่เป้าหมาย (Make a commitment and investment)
4. การทำงานร่วมมือหน่วยงานต่างๆ (Collaborate with partners)
5. ลงมือปฏิบัติทันที (Take action today)
“Sustainability” คือ สิ่งที่ต้องช่วยกันทำ ซึ่งไม่ใช่การทำเพื่อประโยชน์อื่นใด หากตระหนักรู้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบความเดือนร้อน คือ คนรุ่นต่อไปและคนที่เรารัก
นายสมบัติ ชินสุขเสริม ประธานหอการค้าภาคเหนือ
นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เสวนาเรื่อง “90 ปี หอการค้าไทย : เคลื่อนเศรษฐกิจไทยทุกภูมิภาค” โครงการเร่งด่วน (Flagship Projects) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีแนวทางกาพัฒนาที่สำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้
1. การค้า การลงทุน ค้าชายแดน : เร่งส่งเสริมการลงทุน 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ NEC-CREATIVE LANNA
2. เกษตรและอาหาร : ส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูง ในพื้นที่ SEZ เชื่อมโยงการค้าชายแดน(ตาก,เชียงราย), ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วย BCG ภาคเหนือ (Northern BCG Economy) เชื่อมโยงการบริหารจัดการน้ำ
3. ท่องเที่ยวและบริการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง : โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว Happy Model ภาคเหนือ, การอำนวยความสะดวกในการขอและติดตามการทำ VOA
4. โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ : โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่, โครงการรถไฟรางคู่นครสวรรค์-แม่สอด, โครงการมอเตอร์เวยเชียงราย-เชียงใหม่
5.การบริหารจัดการ PM 2.5 : เร่งรัดการออก พรบ.อากาศสะอาด ในการดำเนินการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
นายธวัชชัย เศรษฐจินดา ประธานหอการค้าภาคกลาง
เสวนาเรื่อง “90 ปี หอการค้าไทย : เคลื่อนเศรษฐกิจไทยทุกภูมิภาค” โครงการเร่งด่วน (Flagship Projects) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้
1. เกษตรและอาหาร : โครงการ Food Valley and Logistics Hub ผลักดันให้มีศูนย์กระจายสินค้าในพื้นที่ของการทางรถไฟแก่งคอย ซึ่งมีนโยบายแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ ปี 2560-2579 และแผนแม่บทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล ปี 2561-2580 ที่จะมีเส้นทางคมนาคมผ่านมาในพื้นที่ของจังหวัดสระบุรีที่ไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก, โครงการ “นครปฐมเมืองอาหารปลอดภัยศูนย์กลางนำครัวไทยสู่ครัวโลก”, โครงการ “สมุทรปราการเปิดประตูสู่ฮาลาลไทย”
2. ท่องเที่ยวและบริการ : การจัดงาน “มหกรรมเจ้าพระยา – ป่าสัก EXPO” ต่อยอดเป็น Soft Power จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580, โครงการทัวร์อาหารเชิงวัฒนธรรมด้าน Gastronomy จังหวัดเพชรบุรีเป็นมรดกด้านอาหารและความมหัศจรรย์ของเมืองเพชรบุรี, การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการพาณิชย์และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
3. โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ : โครงการศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ ช่วงกาญจนบุรี – สุพรรณบุรี – ชุมทางบ้านภาชี, การเร่งรัดโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายนครปฐม – ปากท่อ – ชะอำ หรือ (M8)
นายปรัชญา สมะลาภา ประธานหอการค้าภาคตะวันออก
เสวนาเรื่อง “90 ปี หอการค้าไทย : เคลื่อนเศรษฐกิจไทยทุกภูมิภาค” โครงการเร่งด่วน (Flagship Projects) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้
1. เกษตรและอาหาร : ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร และพัฒนาความเป็นเลิศพืชสมุนไพรและพืชมูลค่าสูงภาคตะวันออก “นวัตกรรมนำ การผลิต”, ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหานครผลไม้เมืองร้อนภาคตะวันออกเป็นฮับผลไม้โลก โดยปรับแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่ โครงการแผนการตลาดและสื่อสาร และโครงการจัดงาน Fruit Innovation Fair FIF 2023 รวมทั้งโครงการเปิดตลาดใหม่ๆในประเทศอื่นๆ โดยใช้กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น (Japan Fruits), ปลดล็อดให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวข้ามเขตในฤดูเก็บเกี่ยวผลไม้ของภาคตะวันออก
2. ท่องเที่ยวและบริการ : มุ่งยกระดับการท่องเที่ยวภาคตะวันออกสู่การท่องเที่ยวคุณภาพสูง ได้แก่ โครงการสร้างเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ภาคตะวันออก และโครงการส่งเสริมกีฬาเรือใบให้เป็นกีฬาทางน้ำระดับนานาชาติ, ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน และการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว ได้แก่ โครงการจัดตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ บริเวณหน้าด่านชายแดนไทย – กัมพูชา และการอนุญาติจัดทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass) เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว, โครงการใช้ประโยชน์จากท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ โดยผลักดันการยกระดับท่าเรือคลองใหญ่ให้เป็นด่านสากลทางทะเล รองรับการเดินเรือท่องเที่ยวระหว่างประเทศโดยมีระบบบริการเกี่ยวเนื่องรองรับ ณ จุดเดียว และการปรับลดค่าเช่าท่าเรือเพื่อจูงใจให้เอกชนหรือองค์กรปกครองส่วนท่องถิ่นเข้ามาบริหารท่าเรือ
3. การค้า การลงทุน และการค้าชายแดน : โครงการเปิดตลาด SMEs (SMEs Fair) ที่จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างเครือข่ายและการจับคู่ธุรกิจ, ยกระดับจุดผ่านแดนเพื่อเปิดประตูการค้า ได้แก่ จุดผ่อนปรนการค้าบ้านมะม่วง เป็นจุดผ่านแดนถาวรและ ช่องทางธรรมชาติบ้านท่าเส้น จังหวัดตราด เป็นจุดผ่อนปรนพิเศษ
4. การบริหารจัดการน้ำ : เร่งรัดการดำเนินงานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ภายใต้แผนการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานในจังหวัดจันทบุรี โดยมีอ่างเก็บน้ำรวม 4 แห่ง ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 3 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ (water tank) สำหรับการอุปโภค บริโภค ภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และการสนับสนุนน้ำในพื้นที่ EEC
5. โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ : เร่งรัดโครงการพัฒนาถนนท่องเที่ยวเลียบชายทะเลถนนเฉลิมบูรพาชลทิตระยะที่ 2 : ถนนที่เชื่อมโยงพื้นที่ภายในเขต EEC ตั้งแต่สนามบินอู่ตะเภาจนถึงลานสุนทรภู่ และต่อขยายโครงการถนนเฉลิมบูรพาชลทิตจากจังหวัดจันทบุรีมายังจังหวัดตราด, เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในจังหวัดพื้นที่ EEC, ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรถที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงสู่พลังงานสะอาดในระบบโลจิสติกส์
นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานหอการค้าภาคใต้
เสวนาเรื่อง “90 ปี หอการค้าไทย : เคลื่อนเศรษฐกิจไทยทุกภูมิภาค” โครงการเร่งด่วน (Flagship Projects) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้
1. โครงการสะพานมิตรภาพ ไทย – มาเลเซีย สตูล – เปอร์ลิส โดยภาคเอกชน มีความคาดหวัง เรียกร้อง และการขับเคลื่อนโครงการนี้มาตลอดจนกลายเป็นโครงการในตำนาน เพราะเชื่อว่า หากโครงการสะพานสตูล – เปอร์ลิส แล้วเสร็จ จะทำให้การสัญจรไปมาของสองประเทศ (ไทย – มาเลเซีย) สะดวกมากขึ้น ส่งผลการเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวจากเดิม อีก 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ จะมีนักท่องเที่ยวเข้าจังหวัดสตูลแตะที่ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน อย่างแน่นอน
2. โครงการสะพานสุไหงโก – ลก แห่งที่ 2 เป็นโครงการภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ IMT – GT เพื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอีก 1 สะพาน คู่ขนานกับสะพานเดิม เนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำโก – ลก แห่งที่ 1 มีความคับแคบไม่สะดวกต่อการตอบสนอง การเติบโตทางเศรษฐกิจและการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศ ที่ในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันในห้วงวันหยุดหรือเทศกาลจะมีประชาชนเดินทางค่อนข้างแออัด คับคั่ง โดยสะพานแห่งใหม่นี้จะช่วยลดความแออัดของปริมาณจราจร อำนวยความสะดวกในการเดินทาง และกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดนระหว่างสองประเทศมากขึ้นในอนาคต
3. โครงการ Land Bridge จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม สร้างงาน 280,000 ตำแหน่ง และคาดว่า GDP ของไทยจะเติบโต 5.5% ต่อปี หรือเทียบเท่ากับ 6.7 แสนล้านดอลลาร์เมื่อดำเนินโครงการอย่างเต็มรูปแบบ
สอบถามการเข้าร่วมงานหรือติดต่อเข้าร่วมคอมมูนิตี้ธุรกิจจาก O2O
เข้าร่วมคอมมูนิตี้ของเรา
Website : o2oforum
Facebook : o2oforum
Community : o2oforum
Line : @o2oforum
Subscribe : o2oforum
Tel : 0970344225, 0970347554, 0970343220, 0952156145
ความเห็น 0