โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิสดอม นกป่าที่แก่ที่สุดในโลก เริ่มความรักใหม่อีกครั้ง หลังเสียคู่ที่อยู่กินกันมา 60 ปี

Environman

เผยแพร่ 23 เม.ย. เวลา 13.00 น.

‘วิสดอม’ นกป่าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มความรักใหม่อีกครั้ง หลังจากสูญเสียคู่ที่อยู่กินด้วยกันมานานกว่า 60 ปี ดูเหมือนว่าวิสดอมจะมูฟออนได้บ้างแล้ว

วิสดอม หรือ Wisdom นั้นเป็นนกอัลบาทรอสเลย์ซานเพศเมีย มันถูกระบุตัวครั้งแรกโดยนักชีววิทยาจากหน่วยงานด้านปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกา (USFWS) ในปี 1956 ซึ่งสังเกตจากสายรัดที่ติดอยู่ตรงขาขวาจนถึงปัจจจุบัน

แต่บางคนเชื่อว่าจริง ๆ แล้ว วิสดอมอาจฟักออกมาจากไข่ตั้งแต่ปี 1951 ไม่ว่ายังไงก็ตาม วิสดอมก็มีราว ๆ 70 ปีแล้ว ทำให้นกอัลบาทรอสเลย์ซานตัวนี้กลายเป็นนกป่าที่แก่ที่สุดในโลก ซึ่งแก่กว่าอายุขัยเฉลี่ยของสายพันธุ์ถึง 2 เท่า สิ่งที่พิเศษก็คือวิสดอมได้จับคู่กับนกเพศผู้อีกตัวหนึ่งที่ชื่อ Akeakamai ตั้งแต่เธออายุได้ 10 ปี

ทำให้ทั้งคู่ครองรักกันมากว่า 60 ปีแล้ว ทว่าในปี 2021 นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าพวกเขาไม่พบเห็น Akeakamai กลับมายังที่ทำรังในปีนั้น ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติเพราะเพศผู้มักจะกลับมาที่รังก่อนเพศเมียเสมอ จนปี 2022,2023 ก็ยังไม่มีวี่แววของ Akeakamai ทำให้เชื่อกันว่าอาจจะเสียชีวิตไปแล้ว

นั่นทำให้วิสดอมต้องอยู่โดดเดี่ยวในปีดังกล่าว และด้วยความที่เป็นนกอัลบาทรอสที่มักจะจับคู่เดียวตลอดชีวิต ทำให้คนคิดว่าวิสดอมคงไม่มีคู่อีกต่อไปแล้ว แต่การสำรวจครั้งล่าสุดของ USFWS เผยให้เห็นว่า วิสดอมกำลังพยายามที่จะเริ่มความรักครั้งใหม่

“วิสดอม นกป่าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถูกถ่ายภาพอีกครั้งเมื่อเดือนที่แล้วที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติมิดเวย์อะทอลล์ (สถานที่ทำรังของนกอัลบาทรอส) โดยกำลังเต้นรำกับคู่ที่เป็นไปได้” USFWS ภูมิภาคแปซิฟิก เขียนบนเฟซบุ๊ค “ยังไม่มีใครพบเห็น Akeakamai คู่ครองระยะยาวของเธอ และก็ไม่ได้ทำรังในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์สองฤดูกาลที่ผ่านมาด้วย”

ในการจับคู่ นกอัลบาทรอสจะ ‘จีบ’ กันด้วยการเต้นรำ หากทั้งคู่ถูกใจซึ่งกันและกัน พวกเขาก็จะสร้างครอบครัว ซึ่งโดยปกติแล้วนกอัลบาทรอสจะมาถึงสถานที่ทำรังช่วงเดือนพฤศจิกายน แล้วก็วางไข่ในเดือนธันวาคม ดังนั้นวิสดอมจึงดูเหมือนจะช้าไปสักนิด เพราะเต้นรำในเดือนมีนาคม หลายคนจึงพูดติดตลกว่าเพราะห่างหายจากการจีบมานานจนลืมวันเวลา

“เธอยังคงคิดตามนกตัวอื่น ๆ อย่างจริงจังในเดือนมีนาคม” Jonathan Plissner นักชีววิทยาของ USFWS กล่าว “เราคิดกันว่าเธอไม่น่าจะทำรังในปีนี้” แต่อย่างน้อยวิสดอมก็พยายาม

ทาง ดร. Beth Flint กล่าวเสริมว่า “อย่างน้อยใน 70 ปีนี้ เราเชื่อว่าวิสดอมมีเพื่อนตัวอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าอัลบาทรอสจะผสมพันธุ์กับคู่เดียวตลอดชีวิต แต่พวกมันก็อาจหาคู่ใหม่ได้หากจำเป็น เช่น ตัวใดตัวหนึ่งมีอายุยืนยาวกว่าคู่ของมัน”

นกอัลบาทรอสเป็นนกที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่ามันสามารถบินได้ระยะทางมากถึง 5.6 ล้านกิโลเมตรในตลอดช่วงชีวิต ซึ่งเทียบกับการเดินทางไปดวงจันทร์ 7 รอบ พวกมันใช้ชีวิตในท้องทะเลเป็นเวลาครึ่งปีในทุก ๆ ปี ทะยานข้ามท้องฟ้าและมหาสมุทรเป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยไม่ต้องกระพือปีก พวกมันร่อนไปพร้อมกับกินหมึก ปลา และสัตว์จำพวกครัสเตเชียนเป็นอาหาร

ที่มา

https://www.facebook.com/USFWSPacific/posts/804874761663804?ref=embed_post

https://www.iflscience.com/wisdom-worlds-oldest-wild-bird…

https://www.livescience.com/…/worlds-oldest-wild-bird…

Photo : USFWS

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0