โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แนะนำ 7 วิธีใช้แอปฯ ธนาคารให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ในยุคสังคมไร้เงินสด

PPTV HD 36

อัพเดต 13 มี.ค. เวลา 11.03 น. • เผยแพร่ 13 มี.ค. เวลา 10.16 น.
แนะนำ 7 วิธีใช้แอปฯ ธนาคารให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ในยุคสังคมไร้เงินสด
ตำรวจสอบสวนกลาง ออกคำแนะนำ 7 วิธีใช้แอปฯ ธนาคารอย่างไร ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ในยุคสังคมไร้เงินสด

ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้สะดวกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น-วัยทำงาน ที่นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งก็มีตัวเลือกในการจ่ายเงินมากมายทั้งแบบตัดบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต และการใช้โมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) ที่โอนง่าย จ่ายสะดวก และรวดเร็ว ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ดี แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วก็เปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะเมื่อช่องทางต่าง ๆ สามารถดำเนินการง่ายขึ้น มิจฉาชีพก็เข้าถึงเราง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน

ทางตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงออกคำแนะนำวิธีใช้แอปฯ ธนาคารหรือโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) ให้ปลอดภัยในยุคสังคมไร้เงินสด โดยมี 7 คำแนะนำ ดังนี้

เลี่ยงติดตั้งแอปฯ น่าสงสัย

หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้แหล่งที่มา หรือดูน่าสงสัย ควรดาวน์โหลดแอปจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่น Apple Store, Play Store และ Google Play เพื่อป้องกันไม่ให้มีลิงก์แปลกปลอมอยู่ในเครื่อง เสี่ยงต่อการโดนมิจฉาชีพรีโมทจากทางไกลมาเพื่อดูดเงิน ทางที่ดีควรติดตั้งแอปฯ จากแหล่งน่าเชื่อถือ หรือแอปฯ ที่ติดมากับโทรศัพท์เท่านั้น

ตั้งรหัสให้คาดเดายาก

ตั้งค่ารหัสต่าง ๆ ให้ยากต่อการคาดเดา และหมั่นเปลี่ยนรหัสอย่างสม่ำเสมอ รหัสที่ดีไม่ควรใช้ตัวเลขเรียงกัน และไม่ควรมีแต่ตัวเลข ควรมีทั้งตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ ตัวอักษรพิมพ์เล็ก ตัวเลขหรือแม้กระทั่งอักขระพิเศษต่าง ๆ เช่น ! @ _ เป็นต้น หากตั้งรหัสได้ครบทั้งหมดนี้ จะทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงแอปฯ ธนาคารของเราได้ยากขึ้น

เช็กลิงก์ก่อนกด

ก่อนกดลิงก์ต้องเช็กให้แน่ใจว่า ส่งมาจากธนาคารจริงหรือไม่ และไม่ควรกดลิงก์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือน่าสงสัย เพราะอุบายของมิจฉาชีพที่ชอบใช้เป็นประจำ คือ การส่งลิงก์ธนาคารหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐมาให้ทาง SMS หากไม่ไตร่ตรองให้ดี เผลอกดลิงก์ไปอาจทำให้โดนฝังไวรัส มัลแวร์ต่าง ๆ หรือถูกใช้เป็นรีโมทเพื่อดูดเงินจากทางไกลได้

เปิดแจ้งเตือนแอปฯ

เปิดการแจ้งเตือนที่ได้รับจากธนาคารอยู่เสมอ ในปัจจุบันธนาคารต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะมีระบบส่งการแจ้งเตือนผ่านทาง SMS อีเมล์ หรือทางแอปพลิเคชันไลน์ การเปิดรับการแจ้งเตือนจะทำให้เรารู้ว่าตอนนี้มีเงินเข้า-เงินออกเท่าไหร่ หากตัวเลขผิดไปจากที่เราใช้จ่ายจะได้โทรแจ้งให้ธนาคารตรวจสอบที่มาที่ไปของตัวเงินได้ หากมีการเรียกเก็บเงินแบบไม่ทราบสาเหตุหรือโดนมิจฉาชีพดูดเงินจะได้ยับยั้งปิดบัญชีได้ทัน

เลี่ยงเชื่อม WiFi สาธารณะ

หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อ WiFi สาธารณะขณะใช้ Mobile Banking เพื่อป้องกันข้อมูลการใช้งานรั่วไหล

มีสติ-รอบคอบทุกครั้ง

อ่านข้อมูลให้ละเอียด ดูให้ถี่ถ้วน มีสติและรอบคอบทุกครั้งที่ทำธุรกรรมออนไลน์ หลายคนอาจเบื่อเวลาที่ต้องอ่านตัวอักษรยาว ๆ จากการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่เราควรอ่านทุกอย่างให้ถี่ถ้วน เพื่อกันความผิดพลาดหรือความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

เลี่ยงทำธุรกรรมน่าสงสัย

พยายามหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมการเงินที่น่าสงสัย หรือไม่ผูกข้อมูลบัตรเครดิตกับร้านค้าออนไลน์เพื่อป้องกันการเรียกเงินเก็บเงินแบบไม่ทราบสาเหตุ รู้ตัวอีกทีอาจทำให้สูญเงินจนหมดบัญชีได้

ที่มา : Anti-Fake News Center Thailand

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กองปราบฯ เตือนภัย ระวัง 5 กลโกงมิจฉาชีพจากโลกออนไลน์

ภัยออนไลน์หน้าร้อน มิจฉาชีพหลอก“ขายแอร์-พัดลม-ทัวร์ทิพย์-ลดหย่อนค่าไฟ”

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย! ระวังเงินหายจากการเล่นแอปฯ TikTok

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0