“มลพิษทางอากาศ” ถ้าคิดไม่ออกลอกเค้าก็ได้! ดูซะบ้างทั่วโลกเค้าแก้ยังไงกัน?
ปริมาณฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ เพิ่มสูงขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐานอีกครั้งภายในรอบไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษเองก็ได้ออกมาเตือนให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว เพราะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปัญหาฝุ่นละอองนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพฯ แต่ที่แตกต่างไปในปีนี้ คือมันเกิดขึ้นเร็วและนานกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา
แต่ถึงอย่างไรสภาพอากาศที่เลวร้ายเช่นนี้ ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยประเทศเดียว ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ประสบปัญหาแบบเดียวกับเรา และบางประเทศก็หนักกว่าที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ “กรีนพีซ ไทยแลนด์” ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีจัดการมลพิษทางอากาศของประเทศต่าง ๆ ในโลกที่เคยหรือกำลังประสบอยู่แบบเดียวกับเรา ออกมาเปิดเผยเพื่อแสดงให้เห็นว่าในต่างประเทศเขาจัดการปัญหามลพิษได้ด้วยความร่วมมือจากประชาชนบวกกับนโยบายที่จริงจังของภาครัฐ
https://www.wired.co.uk/article/diesel-emissions-urban-pollution-study
กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ
กิจกรรมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดฝุ่นละลองขนาดเล็กในอังกฤษคือการเผาเชื้อเพลิงทั้งไม้และถ่านหิน ทั้งกลางแจ้งและที่ใช้กันในครัวเรือน การทำเกษตรก็ยังเป็นอีกปัจจัยนึงที่เป็นสาเหตุของฝุ่นละลอง เนื่องจากการระเหยของก๊าซแอมโมเนียที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น ก๊าซชนิดนี้เมื่อทำปฏิกิริยากับสารเคมีชนิดอื่นในชั้นบรรยากาศจะก่อให้เกิดอนุภาคมลพิษที่จะถูกลงพัดพาไปยังบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
ดังนั้นรัฐบาลอังกฤษจึงได้ประกาศห้ามขายเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษสำหรับใช้ในครัวเรือนและตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป เตาหุงอาหารที่ใช้จะเป็นประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และนอกจากนี้รัฐบาลยังอยู่ระหว่างปรึกษาหารือว่าจะค่อย ๆ เลิกขายเชื้อเพลิงถ่านหินที่ใช้ในบ้านและจำกัดการขายไม้เปียกที่ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลงด้วย
สำหรับภาคการเกษตรนั้น รัฐบาลได้ออกมาตรการกำหนดให้ใช้วิธีทำเกษตรที่ส่งผลให้มีการปลดปล่อยก๊าซแอมโมเนียน้อยลง โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือในการลงทุนในเทคโนโลยีที่จะจำกัดการปลดปล่อยก๊าซแอมโมเนียได้
www.tnamcot.com
กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อต้นปี 2017 รัฐบาลเกาหลีใต้ใช้มาตรการฉุกเฉินแก้ปัญหามลพิษในกรุงโซลด้วยการจัดให้บริการขนส่งมวลชนฟรีในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ปัญหามลพิษทางอากาศของกรุงโซลเป็นผลมาจากการใช้ถ่านหินและน้ำมันดีเซล ประกอบกับการได้รับหมอกควันจากประเทศเพื่อบ้านอย่างจีน
นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว รัฐบาลเกาหลีใต้ยังใช้วิธีแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอื่น ๆ เช่น การจำกัดการใช้รถยนต์รุ่นเก่า การจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลของลูกจ้างรัฐ การปิดลานจอดรถตามหน่วยงานรัฐ 360 แห่ง และการลดการก่อสร้างของโครงการที่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ
ปี 2018 ที่ผ่านมากระทรวงสิ่งแวดล้อมของเกาหลีใต้ได้ประกาศใช้โครงการนำร่องโดยใช้โดรนติดกล้องบินตรวจตราพื้นที่แถบกรุงโซล เพื่อตรวจสอบว่าโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ได้ลักลอบปล่อยควันเสียซึ่งเป็นที่มาของฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
foreign.kachon.com
กรุงนิวเดลีประเทศอินเดีย
ในปี 2018 อินเดียได้ประสบกับวิกฤติคุณภาพอากาศอย่างมาก เพราะค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานถึง 2 เท่า จนเกิดแฮชแท็ก #smong เรียกร้องให้ภาครัฐแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง รัฐบาลอินเดียจึงออกนโยบาย “ห้ามรถยนต์” ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่, รถ SUV ที่มีเครื่องยนต์แรงม้ามากกว่า 2000 cc, ให้รถแท็กซี่เครื่องยนต์ดีเซลหลายพันคันหยุดวิ่ง, ทดลองการให้รถยนต์หยุดวิ่งวันคี่หรือวันคู่, กระตุ้นการใช้รถสาธารณะ รถตู้อูเบอร์ให้มากขึ้น แต่ไม่มีมาตรการจัดการทางอากาศกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งการเผาทำลายผลผลิตจากเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ภาพจากPaul Hanna / Reuters
กรุงมาดริดประเทศสเปน
เมื่อปลายปี 2018 รัฐบาลสเปนได้เริ่มใช้มาตรการจำกัดรถยนต์ที่จะวิ่งเข้าไปในเขตควบคุมคุณภาพอากาศย่านใจกลางกรุงมาดริด โดยหวังว่าจะช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ถึง 40% และกระตุ้นให้ผู้คนใช้รถจักรยาน และระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น มาตรการนี้ ผู้ใช้รถจะต้องนำรถไปตรวจวัดการปล่อยไอเสีย ซึ่งรถยนต์รุ่นเก่าที่ก่อมลพิษมากที่สุดจะถูกห้ามขับเข้าไปในเขตควบคุมที่อยู่ใจกลางกรุงมาดริด ขณะที่รถยนต์ไฮบริดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับอนุญาตให้สัญจรได้อย่างเสรี
ภาพจากPhilippe Wojazer / Reuters
กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ห้ามรถที่ผลิตก่อนปี 1997 ขับเข้าไปในย่านใจกลางเมืองช่วงวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00-20.00 รวมทั้งห้ามรถยนต์ดีเซลทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนก่อนปี 2001 ขับเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขณะเดียวกันก็ใช้มาตรการอุดหนุนให้ประชาชนเดินทางด้วยวิธีอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และวางแผนให้ย่านใจกลางเมืองเป็นเขตถนนคนเดิน
voicetv.co.th
กรุงสต็อกโฮล์มประเทศสวีเดน
รัฐบาลสวีเดนใช้มาตรการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรถที่ขับรถเข้าไปในพื้นที่การจราจรหนาแน่นย่านใจกลางเมืองหลวง รวมทั้งจัดจุดให้ประชาชนจอดรถส่วนบุคคลในย่านชานเมืองแล้วขึ้นรถโดยสารเข้าเมืองแทน นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้แผนการคมนาคมในเขตเมือง Urban Mobility Strategy โดยเพิ่มการลงทุนในระบบรถโดยสารประจำทาง รถราง และรถไฟใต้ดิน
จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นนอกจากนโยบายของภาครัฐที่จะต้องเข้มงวดและจริงจังแล้วประชาชนคนทั่วไปก็ต้องให้ความร่วมมือด้วยอาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปบ้างเพื่อให้นโยบายของภาครัฐประสบผลสำเร็จได้มากที่สุด
อ้างอิง
https://www.sanook.com/news/7642102/
https://www.bbc.com/thai/features-39203754
https://www.bbc.com/thai/international-46861285?ocid=socialflow_facebook
ความเห็น 99
bunkymr.deejay!
แล้วแต่เวรกรรมใครทนได้มากก้เปนโรคช้ากว่าไม่มีใครมารับหรอกครับอยุ่ที่นี่สิทธิ์มีให้แค่บางจำพวกป่วยตายก่อนก้แค่โชคร้าย
23 ม.ค. 2562 เวลา 02.26 น.
J@ck Rock
รถ(ยนต์)เก่าห้ามวิ่ง?หรือยกเลิก? แล้วพวกที่เค้ายังไม่อยากเป็นหนี้ หรือไม่มีกำลังพอที่จะสร้างหนี้
เพื่อซื้อรถใหม่ล่ะ? รถเก่าแต่ปี แต่เครื่องยนต์
ดี ควันไม่ดำ ตรวจสภาพผ่าน ผมว่าไม่น่ามีปัญหานะครับ รัฐอยากให้ซื้อรถใหม่ก็ให้เค้า เอารถเก่ามาแลกสิ แล้วรัฐก็ทำโครงการก็ช่วยสิ เช่นรถใหม่ 8แสน ใครเอารถเก่า(ไม่จำกัดรุ่นและปี)มาเข้าโครงการรับเลย1แสน(เอาไปดาวน์)และผ่อนเอง
จับมือกับค่ายต่างๆที่อยากเข้าร่วม เช่น โตโยฯ
ฮอนฯ/นิสฯ/อีซู/ฯลฯ กล้าไหมคับ? รัดทะบาน
😀😀😀
21 ม.ค. 2562 เวลา 15.07 น.
Sorn
เห็นควันดำพ่นออกจากท้ายรถเมล์ เห็นทุกวัน
ไปแก้ตรงนี้บ้างนะ รถกระบะเก่าๆ รถบรรทุกอีก
ขี่มอไซค์ ตามตูด ต้องชลอรถ รอให้รถใหญ่ขับไปก่อน
ไม่งั้น แดรก..ควันเต็มๆ
21 ม.ค. 2562 เวลา 13.40 น.
Prasan
ทำแบบนี้กับคนไทยไม่ได้เข้าใจนะ
21 ม.ค. 2562 เวลา 11.11 น.
Oh
จะให้รัฐแก้ไง ถ้าไม่ให้รถวิ่ง เดี๋ยวก็มีคนออกมาด่า มาประท้วงอีก คนไทยไม่เหมือนชาติอื่นหรอก ยอมรับเหอะ ไม่สามัคคี ไม่ช่วยกันเลย
21 ม.ค. 2562 เวลา 10.46 น.
ดูทั้งหมด