เงินไม่ถึง…ไม่มีสิทธิ์ป่วย? “คนป่วย”ถูกรักษาด้วย“ยา”แต่ถูกฆ่าด้วย“ใบเสร็จ”
เมื่อความแพงคือปัญหา
เคยไหม? นอนโรงพยาบาลสามคืนหมดเกือบแสน ป่วยเป็นไข้หวัดหมดราวสามพันบาท หากคุณร่ำรวยระดับเศรษฐีแล้ว การจะจ่ายราคาค่างวดสำหรับการรักษาพยาบาลเหล่านี้ ดูไม่เป็นที่น่าสะทกสะท้านอะไรนัก และมันก็เป็นสิทธิในการใช้เงินของคุณเอง ทว่าความแพงในการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน กลับกลายเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เช่น การที่โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งงดเข้าร่วมให้บริการผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม ก็ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากต้องไปกองรวมกันอยู่ที่โรงพยาบาลรัฐ ตัดโอกาสการเข้าถึงการรักษาของผู้คนมากมายนท
ไม่มีเงินก็ไม่ได้รักษา
การเอาเงินและผลกำไรเป็นตัวตั้งไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไรในโลกธุรกิจ ทว่าในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคน ก็คงจะต้องคิดหนักหน่อย ยิ่งมีข่าวฉาวออกมาให้เห็นอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรักษาผู้ป่วยจากอุบัติเหตุเฉพาะที่มีประกันสุขภาพ รวมไปจนถึงกรณีการปฏิเสธผู้ป่วย ชี้ให้เห็นชัดว่า ความแพงที่ใครจะพึงจ่ายก็ได้ กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลเสียหายต่อสังคมในวงกว้าง
โรงพยาบาลในตลาดหุ้น
เหตุผลหนึ่งที่บรรดาโรงพยาบาลเอกชนต้องโขกราคาแบบมหาโหด เนื่องจากหลายเครือโรงพยาบาลมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การจะทำให้เหล่าผู้ถือหุ้นได้ยิ้มออก ก็หนีไม้พ้นการทำกำไรให้ได้มากขึ้นๆ ทุกๆ ปี เพื่อประคองราคาหุ้นและจ่ายปันผลได้ตามเป้า แม้หลักการด้านการรักษาพยาบาล ที่ยังคงขัดแย้งกับหลักการทางธุรกิจและการลงทุน จะยังตามหลอกหลอนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอยู่ก็ตาม
‘รัฐ’ เต้น/ ‘เอกชน’ ต้าน/ ‘ประชาชน’ ตาย
ท่ามกลางกระแสข่าวที่ซัดโถมโรงพยาบาลเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐที่นำโดยกระทรวงสาธารณสุข ก็มีการหารือกับกระทรวงพาณิชย์ โดยหวังกำหนดให้ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลเป็นสินค้าและบริการควบคุม เนื่องจากมีการทำราคาสูงเกินจริงไปมาก ด้านผู้นำเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน ก็ออกมาต้านด้วยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีรายจ่ายที่ต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรตราคายาที่ได้มาในราคาที่สูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ แม้จะดูเป็นการโต้กันไปโต้กันมาและยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ก็พอเป็นความหวังให้กับประชาชนได้บ้าง ว่าในอนาคต ราคาค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชน จะถูกปรับลงมาจนพอเอื้อมถึงได้บ้าง
จะได้ไม่ต้องนอนเจ็บนอนปวดรอคิวรักษาอยู่หน้าโรงพยาบาลรัฐบาลอย่างทุกวันนี้.
อ้างอิง
https://www.ryt9.com/s/iq05/2914924
https://thaipublica.org/2017/03/bdms-prasert-prasarttong-osoth/
https://www.khaosod.co.th/economics/news_1803564
ภาพประกอบ
https://pantip.com/topic/32483024
https://www.tcijthai.com/news/2015/15/scoop/5889
ความเห็น 106
BEST
เรียนจบมาจากทรัยยากรบุคล/เงินภาษีของประเทศแต่จบมาออกไปทำงานให้เอกชน/ต้องคิดค่าลาออกสักสิบล้านต่อหมอ1คน/แต่ถ้าอยู่ รพ.รัฐให้เงินเดือนเท่านักบินไปเลยสามสี่แสนก็สมควรให้อาชีพหมอ รับรองเงินเดือนสักสามแสนไม่มีใครลาออกแน่นอน
19 พ.ย. 2561 เวลา 00.28 น.
pim
BEST
ควรกำหนดกฏหมายเรื่องการควบคุมราคายาให้เป็นมาตรฐาน ทั้งรัฐทั้งเอกชนดีกว่า ส่วนอย่างอื่นเป็นทางเลือกให้กับคนที่ต้องการความสะดวกในการรับบริการ
19 พ.ย. 2561 เวลา 00.26 น.
Tu..Tu...ตู้
BEST
จริง เป็นหวัดทีหมด สามพัน นี่คือเหตุผลนึงที่คนไม่ไปหาหมอ รอให้หนักๆยาหมอตี๋เอาไม่อยู่ค่อยไปเพราะกลัวไม่มีเงินจ่าย
19 พ.ย. 2561 เวลา 00.28 น.
Alex
ขึ้นราคาเร็วจนเงินเดือนตามไม่ทัน
19 พ.ย. 2561 เวลา 00.58 น.
ubon
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
19 พ.ย. 2561 เวลา 00.30 น.
ดูทั้งหมด