โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“ประมูลแหล่งก๊าซครั้งใหม่” ผลประโยชน์จะตกเป็นของใคร? “คนไทย” หรือ “นายทุน”!

Another View

อัพเดต 26 พ.ย. 2561 เวลา 04.59 น. • เผยแพร่ 25 พ.ย. 2561 เวลา 05.00 น.

“ประมูลแหล่งก๊าซครั้งใหม่”  ผลประโยชน์จะตกเป็นของใคร? คนไทยหรือนายทุน”!

อีกหนึ่งมหากาพย์ของประเทศชาติที่ต้องถูกจารึก คือการแย่งชิงพื้นที่ปิโตรเลียมในอ่าวไทย ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งโดยปกติจะมีการให้สัมปทานเอกชนเข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรของชาติ ทุกๆ 30 ปี ซึ่งจะมีการประมูลล่วงหน้า 5 ปี เพื่อให้บริษัทที่ชนะการประมูลมีเวลาเตรียมความพร้อมในการสำรวจและผลิต โดยพื้นที่ที่น่าจับตาที่สุดเห็นจะเป็นแหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช อันเป็นสองแหล่งที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีการประเมินว่า แหล่งบงกชเพียงแหล่งเดียวสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้วันละกว่า 900 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือราว 20% ของปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ หรือประมาณ 30% ของปริมาณก๊าซที่ผลิตได้ภายในประเทศ สามารถป้อนโรงไฟฟ้าขนาด 800 เมกะวัตต์ได้มากถึง 6 โรงต่อวัน มีส่วนสร้างรายได้ให้ประเทศมานานนับ 20 กว่าปี โดยการส่งเงินค่าสัมปทาน ค่าภาคหลวง ภาษีและเงินสมทบอื่นๆ ให้แก่รัฐบาลไปแล้วกว่า 2.4 แสนล้านบาท

60% ของไฟฟ้าในประเทศมาจากก๊าซ

สิ่งที่คนไทยควรทราบคือ ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 42,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมากกว่า 60% หรือราว 28,129 เมกะวัตต์ ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ อีกประมาณ 15% ผลิตจากถ่านหิน ที่เหลือเป็นไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อน พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล แสงอาทิตย์ ลม และรับซื้อจากต่างประเทศ ได้แก่ ลาวและมาเลเซีย อีกเพียง 10% เท่านั้น

การประมูลครั้งนี้จึงสั่นคลอนความมั่นคงทางพลังงานของไทยเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าหากมีการยุติการผลิตก๊าซจากแหล่งบงกชเพียงแหล่งเดียว ก็สามารถทำให้ไฟดับไปถึง 1 ใน 3 ของประเทศ!! ผู้ที่จะได้สัมปทานจึงต้องเชี่ยวชาญกับพื้นที่ปิโตรเลียมในอ่าวไทย บริษัทเดิมที่ครอบครองอยู่จึงมีภาษีดีกว่าผู้เล่นหน้าใหม่ๆ เพราะคร่ำหวอดกับพื้นที่มาเป็นสิบๆ ปี สามารถสำรวจและผลิตไปต่อเนื่อง โดยไม่สะดุด หากมีการสะดุดเกิดขึ้น นั่นหมายความว่าประชาชนจะต้องขาดไฟฟ้าใช้

ระบบสัมปทานแบบใหม่วัดใจความซื่อสัตย์

ก่อนหน้านี้รัฐบาลใช้ระบบสัญญาสัมปทานมาตลอด ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบประมูลในรูปแบบของระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต การประมูลสัมปทานครั้งนี้ กล่าวง่ายๆ คือ แทนที่จะจ่ายเป็นค่าสัมปทานตามสัญญา ก็เปลี่ยนมาแบ่งเงินกับภาครัฐตามเม็ดเงินที่ได้จากการขายผลผลิตนั่นเอง โดยกรมพลังงานเชื้อเพลิงก็ให้เหตุผลมาหลายประการ ที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่คนไทยมากที่สุด ดูจะเป็นเรื่องราคาที่จะเหมาะสมขึ้น เนื่องจากบริษัทที่ได้สัมปทานไม่ต้องแบกรับค่าสัมปทานอันมหาศาล เพียงแค่บริหารกำไรให้คุ้มค่ากับการลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนคนไทยคงต้องจับตาดูกันดีๆ ว่าทั้งภาครัฐและผู้ได้รับสัมปทานจะแสดงความบริสุทธิ์ใจและความโปร่งใส ในการชี้แจงปริมาณผลผลิตและรายได้ออกมาได้มากแค่ไหน

ไทยหรือเทศดีเดย์25 ธันวา

การพิจารณาครั้งนี้มีทั้งบริษัทไทยและต่างชาติที่ผ่านเกณฑ์การเข้าคัดเลือก ซึ่งแม้จะเป็นผู้เล่นหน้าเดิมๆ แต่ก็มีบริษัทร่วมทุนกับต่างประเทศหน้าใหม่ๆ เข้ามาให้ลุ้นบ้าง แต่ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดที่ได้รับสิทธ์ ก็ล้วนมีความน่ากังวลไม่แพ้กัน หากเป็นบริษัทไทยก็อาจถูกแทรกแซงจากอิทธิพลหรืออำนาจในประเทศได้ หรือแม้แต่หากเป็นบริษัทต่างชาติ ก็อาจถูกแทรกแซงได้ไม่แพ้กัน หากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยจะมีการประกาศผลในวันที่ 25 ธันวาคม 2561 

ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร แต่เมื่อเข้ามามีผลประโยชน์กับทรัพยากรของชาติแล้ว ก็ต้องคนในชาติทุกคนนี่แหละ ที่ต้องร่วมกันเป็นหูเป็นตาของประเทศ ช่วยกันสอดส่องเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

https://www.khaosod.co.th/economics/news_1613677

http://news.ch7.com/detail/304772

https://www.thairath.co.th/content/1204020

https://www.thairath.co.th/content/1387020

https://workpointnews.com/2018/08/07/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99/

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/799688

http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/48003 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0