โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

มนุษย์เงินเดือนต้องระวัง! พฤติกรรมที่จะทำให้ถูกไล่ออก

Rabbit Finance

เผยแพร่ 09 ส.ค. 2560 เวลา 10.00 น. • Rabbit Finance Blog
มนุษย์เงินเดือนต้องระวัง! พฤติกรรมที่จะทำให้ถูกไล่ออก
มนุษย์เงินเดือนต้องระวัง! พฤติกรรมที่จะทำให้ถูกไล่ออก

สมัยนี้ใครๆ ก็รู้ว่าการจะหางานทำเป็นพนักงานบริษัทกับเขาได้ มันยากจริงๆ อาจเพราะว่านักศึกษาจบใหม่เยอะ เศรษฐกิจไม่ค่อยดี หรือด้วยเหตุผลอะไรก็ช่าง เอาเป็นว่าเมื่อมีโอกาสได้งานได้การทำแล้ว ก็ต้องรักษาหน้าที่การงานเอาไว้ให้ดี เพราะมันอาจส่งผลถึงความมั่นคงระยะยาวของเราได้เลยทีเดียวเชียว

เพื่อไม่ให้เป็นการเสี่ยงตกงานอีก เรามาทำความเข้าใจกันสักหน่อยดีกว่า ว่าคนที่เป็นหัวหน้าเขาคิดและมองว่าคนแบบไหนสมควรโดนไล่ออกมากที่สุด!

พฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานบริษัท ที่อาจทำให้คุณถูกไล่ออก

ไล่ออก
ไล่ออก
  • **ขาด ลา มาสาย เป็นประจำ

พนักงานบริษัทหลายคนมักคิดว่ามีวันหยุดทั้งทีต้องใช้ให้คุ้ม! เราคงต้องขอให้ลองเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เพราะพฤติกรรมแบบนี้คือหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณไม่ได้เลื่อนขั้น แถมบ่อยๆ เข้าอาจถูกไล่ออกได้อีกด้วย

  • **เข้าสังคมมากเกินไป

การจับกลุ่มพูดคุยซุบซิบนินทา แบบที่ชาวพนักงานบริษัทมักทำกันบ่อยๆ อาจทำให้คุณดูเหมือนคนที่ชอบเรื่องสนุกปากมากกว่าการทำงาน ยิ่งการพูดคุยเป็นการว่าร้ายคนอื่นบ่อยๆ ด้วยแล้ว ตัวคุณเองก็จะยิ่งดูแย่มากขึ้นไปอีกด้วย

  • **เช้าชาม เย็นชาม

เรามักพบเห็นได้ทั่วไปในการทำงานของราชการ รวมถึงพนักงานบริษัทต่างๆ ที่มักหาเวลาแอบอู้ แล้วค่อยทำงานเมื่อใกล้ถึงกำหนดส่ง ถือเป็นการทำงานที่ไม่มีสไตล์เอาเสียเลย

  • **รับงานนอก ในเวลางาน

ต้องขอชื่นชมในความขยัน เพียงแต่เป็นการขยันที่น่าหมั่นไส้สุดๆ เพราะคุณจะทำงานหลายชิ้นในเวลาเดียวกัน แล้วคาดหวังให้ผลลัพธ์ออกมาดีได้อย่างไร สุดท้ายงานนั้นก็ไม่ดี งานนี้ก็ไม่สุด นอกจากจะเสี่ยงต่อการถูกไล่ออกแล้ว ยังทำให้คุณเหน็ดเหนื่อยมากเกินไป เนื่องจากการที่ต้องรับบทเป็นพนักงานบริษัทพร้อมกับงานฟรีแลนซ์อีกด้วย

  • **ทะเลาะวิวาทในบริษัท

อันที่จริงไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ไม่ควรมีการทะเลาะวิวาทกันเกิดขึ้น ยิ่งกับภายในบริษัทที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานด้วยแล้ว คุณจะถูกไล่ออกได้ง่ายๆ เลยเชียวนะ

  • **การล่วงละเมิดทางเพศ

เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน มีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่ยังไง ก็ไม่ควรทำเด็ดขาด! เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน คุณอาจมีความผิดทางกฎหมาย และเกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงระยะยาวอีกด้วย

  • **ชี้นิ้วสั่งเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท

ความจริงจังในการทำงานเป็นสิ่งที่ดี แต่หากคุณกดดันคนรอบข้างมากเกินไปก็อาจส่งผลในทางตรงกันข้ามได้ แทนที่ทุกคนจะได้ตั้งใจทำงาน กลับกลายเป็นว่าต้องรู้สึกรำคาญ กดดัน และอาจทำให้เกิดความขัดแย้งภายในขึ้นได้

  • **ขายข้อมูลของบริษัท

อย่าหวังจะหาเงินก้อนโต โดยการขายข้อมูลของบริษัทเด็ดขาด เพราะเป็นการกระทำที่ผิดทั้งศีลธรรมและกฎหมาย นอกจากคุณจะโดนไล่ออกอย่างแน่นอนแล้ว อาจได้ของกำนัลเป็นการเยี่ยมชมคุกฟรีอีกด้วย

พนักงานบริษัทบางคนอาจคิดว่าการโดนไล่ออกไม่ได้น่ากลัวสักเท่าไหร่ เพราะเมื่อถูกไล่ออกจะได้รับค่าชดเชยไม่ใช่น้อยๆ จะเอาเงินก้อนนั้นไปเที่ยวเล่นให้หนำใจก่อน พอเงินใกล้จะหมดค่อยหางานทำใหม่ก็ได้

ใครจะคิดแบบนี้ก็ถือว่าไม่ผิด เพียงแต่ยังไม่ถูกต้องทั้งหมดเท่านั้นเอง เพราะในความเป็นจริงนายจ้างมีสิทธิทำการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ด้วยนะ แถมยังเป็นการกระทำที่ถูกต้องตาม กฎหมายแรงงาน อีกด้วย

ถึงเวลาแล้วที่พนักงานบริษัทอย่างเรา ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในการเลิกจ้างอย่างจริงจัง เพราะถ้าหากเราพลาดทำความผิดร้ายแรงลงไป อาจถูกไล่ออกโดยไม่รู้ตัว แถมไม่ได้รับเงินชดเชยอีกต่างหาก!

กรณีที่จะทำให้คุณถูกเลิกจ้าง โดยไม่ได้รับแม้แต่ค่าชดเชย

คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่ากฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง ในเรื่องของเวลาพักผ่อน ขอบเขตการทำงาน รวมถึงค่าตอบแทนที่ลูกจ้างควรจะได้รับ เพื่อเป็นการป้องกันการเอาเปรียบจากเหล่านายจ้างทั้งหลาย แน่นอนว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่ใช่การคุ้มครองทั้งหมดของกฎหมายแรงงาน

เพราะในความเป็นจริงเราจะเห็นอยู่บ่อยครั้ง ที่ลูกจ้างกลับเป็นฝ่ายเอาเปรียบนายจ้างเสียเอง กฎหมายแรงงานจึงมีการคุ้มครองอีกด้านหนึ่ง คือ การให้ “สิทธินายจ้าง” ในการเลิกจ้าง สามารถไล่ลูกจ้างออกได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ หากลูกจ้างมีการทำผิด ดังต่อไปนี้

  • **ทุจริตต่อหน้าที่

ตามความหมายของคำว่า “ทุจริต” นั่นละครับ คือ การที่คุณทำสิ่งที่ไม่ดี ฉ้อโกง ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อนายจ้างและองค์กร

  • **การทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง

กรณีแบบนี้เราคงไม่ต้องอธิบายให้ซับซ้อน เพราะเป็นความผิดที่มีข้อกฎหมายรองรับอย่างชัดเจนทำให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ทันที ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำโดยเจตนาหรือความประมาท

  • **จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

ซึ่งคำว่า ความเสียหาย ในกรณีนี้ครอบคลุมทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้อย่างเงินทอง ร่างกายและทรัพย์สิน หรือแม้แต่สิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างชื่อเสียงเกียรติยศก็ด้วยเช่นกัน

  • **ประมาทเลินเล่อจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

ถึงแม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเป็นเหตุจากความประมาท แต่หากความเสียหายนั้นเป็นสิ่งที่ร้ายแรงจริงๆ นายจ้างก็มีสิทธิ์ทำการเลิกจ้างได้เช่นกัน

  • **ฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงาน หรือขัดคำสั่งของนายจ้างตามชอบด้วยกฎหมาย

กฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรคือสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนนายจ้างจะทำการออกหนังสือเตือนได้ และหากยังมีการทำผิดซ้ำซากอยู่ นายจ้างจะมีสิทธิ์เลิกจ้างได้ทันที

  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 **วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผล

การขาดงานโดยไม่มีเหตุสมควร หรือไม่ได้ทำการขอลาอย่างเป็นทางการ จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานในองค์กรอย่างแน่นอน ในกรณีแบบนี้นายจ้างจึงสามารถทำการเลิกจ้างได้ทันที

  • **ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

นายจ้างสามารถทำการเลิกจ้างได้ทันที เมื่อลูกจ้างได้รับตัดสินโทษจำคุก แต่ต้องเป็นการทำความผิดโดยเจตนาที่มีการพิพากษาอันถึงที่สุด ไม่ได้อยู่ในขั้นตอนของการยื่นอุทธรณ์เท่านั้น ถ้าหากเป็นความผิดที่เกิดจากความประมาท หรือไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรง นายจ้างจะไม่มีสิทธิ์ทำการเลิกจ้างได้

ตกงาน
ตกงาน

เห็นไหมครับว่าการเลิกจ้างโดยไม่มีเงินชดเชยเกิดขึ้นได้หลายกรณี ใครที่เป็นพนักงานลูกจ้างก็ระวังตัวไว้ให้ดี อย่าปล่อยให้ตัวเองทำความผิดเหล่านี้เด็ดขาด เพราะนอกจากจะถูกไล่ออกจากงานแล้ว อาจทำให้มีความผิดทางกฎหมายติดตัวไปอีกด้วย!

การสูญเสียหน้าที่การงาน อาจเรียกได้ว่าเป็นการสูญเสียความมั่นคงในชีวิต ที่จะนำมาซึ่งปัญหามากมายอย่างเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต ครอบครัว และความมั่นคงของอนาคตระยะยาว

ในเมื่อรู้แบบนี้แล้ว เราทุกคนควรรักษาตำแหน่งหน้าที่การงานของตัวเองเอาไว้ให้ดี รวมถึงการวางแผนป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตเราในอนาคต ก็ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจเช่นกัน เพราะนอกเหนือจากเรื่องการงานแล้ว การใช้ชีวิตของเรายังเต็มไปด้วยปัญหาอีกมากมายที่คาดไม่ถึงจริงไหมละครับ?

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0