โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

การค้นพบอันเหลือเชื่อ! พบสิ่งมีชีวิตหายาก 700 ชนิดในป่าชายเลนกัมพูชา

PPTV HD 36

อัพเดต 15 เม.ย. เวลา 05.43 น. • เผยแพร่ 15 เม.ย. เวลา 05.00 น.
การค้นพบอันเหลือเชื่อ! พบสิ่งมีชีวิตหายาก 700 ชนิดในป่าชายเลนกัมพูชา
นักสำรวจพบส่งมีชีวิตหายากในป่าชายเลนกัมพูชามากกว่า 700 ชนิด เน้นย้ำความสำคัญการอนุรักษ์ป่าชายเลน

ปัจจุบัน โลกของเรามีพื้นที่ทที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพน้อยเต็มที โดยเฉพาะ “ป่าชายเลน” ซึ่งเป็นลักษณะพื้นที่ที่มักพบบนชายฝั่งในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มีความสำคัญเนื่องจากประกอบด้วยต้นไม้ที่ปรับตัวให้เติบโตได้ในแหล่งน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย ซึ่งพืชชนิดอื่นส่วนใหญ่ไม่สามารถทนได้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โลกได้สูญเสียป่าชายเลนไปประมาณ 40% เพื่อสร้างรีสอร์ทริมชายหาดหรือพื้นที่เกษตรกรรม

ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการปกป้องผืนดินและผู้อยู่อาศัย น้ำในบริเวณนี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่มีความสำคัญ ร็อกบอกว่า “เราพบปลาบาราคูดา ปลากะพง และปลาเก๋าในน่านน้ำที่นี่ มันเป็นสถานที่เพาะพันธุ์ปลาที่สำคัญอย่างชัดเจน และเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการประมงเชิงพาณิชย์”

ป่าชายเลนยังปกป้องพื้นที่ภายในประเทศจากสึนามิและพายุ ดักจับคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าป่าประเภทอื่น ๆ และทำหน้าที่เป็นที่หลบภัยของสัตว์ที่น่าทึ่งมากมาย

ล่าสุด การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากกลุ่มอนุรักษ์ Fauna & Flora International (FFI) บริเวณพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศกัมพูชา ได้พบสิ่งมีชีวิตหายากถึงกว่า 700 ชนิด ทั้งค้างคาว นก ปลา ไปจนถึงแมลง

ทีมสำรวจศึกษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าปีมกระซอบ (Peam Krasop) และเขตอนุรักษ์เกาะกะปิก (Koh Kapik) และพบสัตว์หายากหลายชนิด เช่น นากจมูกขน นากขนเรียบ ชะมดลายจุดขนาดใหญ่ ลิงแสมหางยาว เสือปลา รวมถึงค้างคาวหลากหลายสายพันธุ์

สเตฟานี ร็อก หัวหน้าทีมสำรวจ กล่าวว่า “เราพบสิ่งมีชีวิต 700 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันในป่าชายเลนเหล่านี้ แต่เราสงสัยว่านี่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น หากเรามองดูพื้นที่นี้ให้ลึกกว่านี้ เราจะพบมากกว่านี้ 10 เท่า ฉันแน่ใจ”

ตัวอย่างที่สำคัญของสายพันธุ์หายากที่พบในป่าชายเลนกัมพูชาคือ “เสือปลา” (Prionailurus viverrinus) เป็นแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่าแมวบ้านเล็กน้อย แต่ทรงพลังกว่า มีขาสั้นและลำตัวที่แข็งแรง และแตกต่างจากแมวอื่น ๆ ส่วนใหญ่ คือชอบว่ายน้ำ โดยนิ้วเท้าหน้ามีพังผืดบางส่วนและมีกรงเล็บยื่นออกมา ช่วยให้จับเหยื่อได้ โดยเฉพาะปลาและหนู ซึ่งมันจะแอบย่องซ่อนอยู่ตามรากต้นไม้ในป่าชายเลน

“มันหายากมากที่จะเห็นเสือปลา และเราเพิ่งรู้ว่าพวกมันอยู่ในป่าจากรูปถ่ายที่ถ่ายด้วยกล้องดักถ่ายของเรา … ป่าชายเลนเป็นสถานที่เต็มไปด้วยรากไม้และโคลน และยากสำหรับมนุษย์ที่จะเข้าไปได้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมป่าชายเลนจึงเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอันมีค่าสำหรับสัตว์ที่อ่อนแอเหล่านี้” ร็อกกล่าว

สัตว์ที่หายากยิ่งกว่านั้นคือ “นากจมูกขน” (Lutra sumatrana) หรือนากใหญ่หัวปลาดุก ก็ถูกถ่ายภาพด้วยกล้องดักในบริเวณเก่าแก่บางแห่งของป่าชายเลน มันจะใช้ขนรอบ ๆ จมูกเพื่อตรวจจับเหยื่อ ซึ่งประกอบด้วยสัตว์จำพวกกุ้งกั้งปู หอย และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

มันเป็นนากที่หายากที่สุดในเอเชียและใกล้จะสูญพันธุ์ และนั่นเป็นปัญหาที่น่ากังวลอย่างแท้จริง ร็อกบอกว่า “ป่าชายเลนอาศัยความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆ และหากคุณเริ่มกำจัดสายพันธุ์เหล่านั้นออกไป คุณจะสูญเสียการทำงานของป่านั้นอย่างช้า ๆ”

พวกเขายังค้นพบปลาอีก 74 สายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำของป่า และนก 150 สายพันธุ์ โดย 15 สายพันธุ์อยู่ในสถานะใกล้ถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ระบบนิเวศเนื่องจากทำหน้าที่เป็นกำแพงกั้นสองทางระหว่างแผ่นดินและทะเล ช่วยชะลอการพังทลายของดินลงสู่มหาสมุทรและปกป้องชุมชนชายฝั่งจากน้ำท่วมและพายุ

ร็อกกล่าวว่า “ปาชายเลนเป็นมากกว่าระบบนิเวศที่ให้บริการดูดซับคาร์บอนหรือปกป้องชายฝั่ง พวกเขามีความสวยงามในตัวเองจริง ๆ สำหรับฉัน ไม่มีความรู้สึกใดที่จะดีไปกว่าการได้อยู่ในป่าในตำนานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ โดยรู้ว่ายังมีอะไรให้สำรวจอีกมากมาย ว่ามีอีกโลกหนึ่งที่รอการค้นพบเพิ่มเติม”

อ่านรายงานการค้นพบฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก The Guardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดือนเมษายน 2024 สเปนร้อนกว่าปกติถึง 10 องศาฯ

โคลอมเบียแล้งจัด ทางการวอนคู่รักอาบน้ำด้วยกัน-งดอาบถ้าไม่ได้ออกจากบ้าน

“เจมส์ เว็บบ์” เปิดภาพ “M82” กาแล็กซีสุดขั้ว สร้างดาวฤกษ์อย่างบ้าคลั่ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0