สำหรับการที่ EEC จะพิจารณาให้สิทธิประโยชน์นักลงทุนจำเป็นต้องตอบ 13 คำถาม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์
1.ประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ พ.ร.บ.EEC
2.ความสำคัญของกิจการต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ
3.การเป็นผู้บุกเบิกกิจการในอุตสาหกรรมไทย
4.แผนการลงทุน รวมถึงกำหนดเวลาที่จะเริ่มการประกอบกิจการ
5.มูลค่าเงินลงทุนสุทธิ รวมถึงมูลค่าการลงทุนจริงที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่
6.การใช้ทรัพยากรในประเทศ (Local Content) หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมในประเทศไทย
7.ระดับเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจการ 8.แผนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
9.กิจกรรมด้านการวิจัยและพัฒนา
10.การจ้างงาน หรือการมีส่วนร่วมของแรงงานไทยทักษะสูง
11.ความยั่งยืนของการดำเนินกิจการ
12.การมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
13.การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสนับสนุนชุมชนในพื้นที่
ข้อ 14 โบนัสเฉพาะราย
ข้อ 14 พิเศษสุด เป็นการเจรจาให้สิทธิประโยชน์เฉพาะราย ประกอบด้วย ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 15 ปี, ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราไม่เกิน 50% สูงสุด 10 ปี, ผลขาดทุนประจําปีที่เกิดขึ้นนำไปหักออกจากกําไรสุทธิภายหลังได้, เงินที่ใช้ไปในการลงทุนหักออกจากกําไรสุทธิได้ 1-70% ของเงินที่ลงทุนแล้วในกิจการนั้น, สามารถหักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าประปาได้ 2 เท่า, นําเงินลงทุน 1-25% ของเงินที่ลงทุนแล้วมาหักจากกําไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีได้, ไม่ต้องนําเงินปันผลจากกิจการมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ยกเว้นการนําค่าแห่งกู๊ดวิล ค่าแห่งลิขสิทธิ์มารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้, ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับเครื่องจักร, ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับของที่ผู้ประกอบกิจการนําเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา, ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบที่ต้องนําเข้ามาเพื่อใช้ผลิต ผสม เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก, ลดหย่อนอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบที่นําเข้ามาเพื่อใช้ผลิต ผสม ในอัตราไม่เกิน 90% ของอัตราปกติ, ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับของที่นําเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป, ยกเว้นอากรขาออกสําหรับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลตามเงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาที่กําหนด
และสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี คือสิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ, สิทธิถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดภายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สิทธิในการนําคนต่างด้าวที่เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ผู้บริหาร หรือผู้ชํานาญการ ตลอดจนคู่สมรส และบุคคลในอุปการะเข้ามาและอยู่อาศัยในราชอาณาจักรได้ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ และคนต่างด้าวที่เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ผู้บริหาร และผู้ชํานาญการ ที่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษนําเข้ามาสามารถทํางานได้ภายใต้ EEC Work Permit
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : คัมภีร์ 13 ข้อของ EEC
ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net