โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ผื่นแดง ลมพิษ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อาการแบบนี้อันตรายไหมนะ?

PPTV HD 36

อัพเดต 22 พ.ค. 2565 เวลา 03.17 น. • เผยแพร่ 22 พ.ค. 2565 เวลา 03.30 น.
ผื่นแดง ลมพิษ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อาการแบบนี้อันตรายไหมนะ?
วัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจก่อผลข้างเคียงเล็กน้อยให้กับร่างกายได้ เช่นเดียวกับผื่นคันและลมพิษ

อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด อาจทำให้หลายคนสับสนว่า แบบไหนอันตราย แบบไหนสามารถดีขึ้นเองได้ ซึ่งนอกจากมีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด การเกิดผื่นแดงหรือลมพิษ…ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด แล้วอาการที่เกิดขึ้นนี้อันตรายหรือไม่ หากเกิดผื่นคันควรดูแลตนเองยังไง เรามีคำตอบจากคุณหมอมาฝากกัน

สาเหตุของการเกิด “ผื่น” หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

รู้ทัน “โรคลมพิษ” เกิดจากอะไร รักษา และป้องกันอย่างไร

ไขข้อสงสัย ผู้ป่วยมะเร็งควรฉีดวัคซีนโควิด-19อย่างไร

  • ผื่นที่เกิดจากการแพ้วัคซีน
  • ผื่นที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นหลังได้รับวัคซีน
  • ผื่นของโรคผิวหนังอื่น ในคนที่มีประวัติเคยมีโรคทางผิวหนังหรือติดเชื้อไวรัสอื่นมาก่อน เช่น เริม งูสวัด สะเก็ดเงิน โรคตุ่มน้ำพุพอง

ฉีดปุ๊บ…เกิดผื่นลมพิษปั๊บ! สัญญาณแพ้วัคซีน อันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง

สำหรับกลุ่มอาการผื่นแดงแบบลมพิษที่ถือว่าอันตรายร้ายแรงที่สุด คือเกิดจากการแพ้วัคซีน โดยมักเป็นผื่นทั่วทั้งตัว ร่วมกับความดันตก และอาจมีภาวะช็อกได้ ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดผื่นแพ้วัคซีนรุนแรงนั้น จะเป็นกลุ่มคนที่มีประวัติเคยเป็นลมพิษชนิดรุนแรงมาก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน ทำให้มีโอกาสถูกกระตุ้นจากวัคซีนได้

คุณหมอยังได้อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า.. “อาการผื่นรุนแรงหลังได้รับวัคซีนป้องกันโควิดนั้นพบได้น้อยมาก แต่เพื่อความปลอดภัยและอุ่นใจของตัวคนไข้เอง ควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยแนะนำให้เลือกเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิดที่โรงพยาบาล เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้การดูแลกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะปกติแล้ว อาการแพ้รุนแรงมักจะเกิดขึ้นภายใน 30 นาทีหลังรับวัคซีน”

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วแพ้รุนแรง…แบบนี้ควรฉีดเข็มต่อไปหรือไม่?

หากเข้ารับวัคซีนแล้วมีอาการแพ้รุนแรง แน่นอนว่าคนไข้จะมีความวิตกกังวล และลังเลว่าควรรับวัคซีนเข็มต่อไปดีไหม? ซึ่งคุณหมอแนะนำว่า “สามารถเข้ารับวัคซีนเข็มต่อไปได้ เพียงแต่ไม่ควรเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิดชนิดเดิม เช่น กรณีเกิดอาการแพ้รุนแรงหลังรับวัคซีนชนิด mRNA วัคซีนเข็มต่อไปควรเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย อย่าง ซิโนแวค หรือกลุ่ม Viral Vector อย่าง แอสตราเซเนก้า”

นอนน้อย-ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยง "งูสวัด" กำเริบ

ภูมิแพ้ โรคยอดฮิตคนไทย รู้เท่าทันหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการ

แล้วผื่นแดงแบบไหน ไม่น่ากังวล…เพราะสามารถหายเองได้

นอกจากผื่นแดงที่เกิดจากการแพ้วัคซีนป้องกันโควิดแล้ว คุณหมอยังอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า “หลังการรับวัคซีนป้องกันโควิด 1 - 14 วัน คนไข้บางรายก็อาจเกิดผื่นลมพิษ หรือผื่นที่มีลักษณะเป็นผื่นแดงเม็ดเล็กๆ ทั่วตัวได้ เรียกว่าเป็น “อาการไม่พึงประสงค์” โดยเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกระตุ้นหลังได้รับวัคซีน ซึ่งสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์”

“งูสวัด” อีกกลุ่มอาการทางผิวหนัง…ที่พบได้หลังการฉีดวัคซีน

การเกิดโรคงูสวัดหลังฉีดวัคซีนไม่ใช่การแพ้วัคซีน แต่พบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดอาจมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดโรคงูสวัดได้!!

เนื่องจากงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใสที่หลายคนเคยเป็นตอนเด็กๆ แม้จะหายจากโรคแล้ว แต่เชื้อดังกล่าวจะยังคงหลงเหลือและซ่อนตัวอยู่ในปมประสาทของเรา เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือมีปัจจัยไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เชื้อที่ซ่อนอยู่ก็จะกำเริบขึ้นมา

โดยคุณหมอได้อธิบายว่า.. “จากการรวบรวมข้อมูลในปัจจุบัน พบว่าคนไข้จำนวนหนึ่งจะเกิดโรคงูสวัดหลังรับวัคซีนป้องกันโควิดประมาณ 3-4 สัปดาห์ ซึ่งหากเทียบในกลุ่มวัคซีน mRNA แล้วนั้น ตัวเลขของผู้ที่ฉีด Pfizer จะมีมากกว่า แต่ในผู้ที่ฉีด Moderna ก็สามารถเกิดโรคงูสวัดได้เหมือนกัน เลยอาจยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าวัคซีนยี่ห้อใดส่งผลต่อการเกิดโรคงูสวัดสูงกว่า เพราะนี่เป็นเพียงข้อมูลสถิติในระยะสั้นๆ เท่านั้น ยังต้องใช้เวลาในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป”

หากเกิดผื่นแดง ลมพิษ หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด…ควรดูแลตัวเองยังไง

สำหรับผู้ที่เข้ารับวัคซีนป้องกันโควิดแล้วเกิดลมพิษ หรือ ผื่นแดงทั่วตัว คุณหมอแนะนำให้ทานยาแก้แพ้ได้เลย เพราะไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพวัคซีน สามารถทานได้ปกติ พร้อมทาโลชั่นบำรุงผิว เติมความชุ่มชื้นเพื่อลดอาการคัน พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ และหากปฏิบัติตามนี้แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์ผิวหนังเพื่อปรับแนวทางการรักษา

ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0