สอบ กสพท เป็นข้อสอบสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ หรือคณะสัตวแพทยศาสตร์ กสพท จะเข้าการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ๆ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรหรือกำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและคาดว่าจะจบการศึกษาก่อนเดือนกรกฎาคม ปี 2566 โดยแต่ละปีกำหนดการจะไม่เหมือนกัน สามารถติดตามได้ที่ กสพท ได้เลย มีสัญชาติไทย ยกเว้นผู้ที่สมัครเข้าศึกษาในสถาบันเอกชนที่เข้าร่วมกับ กสพท กสพทเเบ่งออกเป็น 3 พาร์ท เชาวน์ปัญญา จํานวนข้อ 45 ข้อ เวลาทําเฉลี่ย 1.6 นาที/ข้อ เรื่องที่ออก - คํานวณเชิงตรรกะ - อนุกรม - มิติสัมพันธ์ - เหตุผล - ภาษา - จับใจความสําคัญ จริยธรรม จํานวนข้อ 75 ข้อ เวลาทําเฉลี่ย 1 นาที/ข้อ เรื่องที่ออก พาร์ทนี้จะเป็นการยกเหตุการณ์ ในชีวิตประจําวัน หรือเหตุการณ์ที่เป็นข่าวในช่วงนั้นมาถามว่าเรามีความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร เชื่อมโยง จํานวนข้อ 20 ข้อ เวลาทําเฉลี่ย 3.7 นาที/ข้อ เรื่องที่ออกคล้ายๆ GAT เชื่อมโยง แต่สําหรับ กสพท จะเป็นแบบ 20 คําเชื่อมโยง และไม่มีการระบายตัวหนาให้ในบทความ *ข้อสอบ TPAT1 (กสพท) จะจัดสอบในรูปแบบกระดาษเท่านั้น : ตัวอย่างข้อสอบปีที่แล้ว คลิก เดือนกันยายน 2566
สอบ TGAT / TPAT 2-5 จะต้องเป็นนักเรียนชั้นม.6 หรือเทียบเท่า (ปวช. ปวส. หรือนักเรียนที่เรียนจบจากต่างประเทศ) ที่ต้องการสอบเพื่อยื่นคะแนนเข้ามหาลัยฯ เท่านั้น สำหรับเด็กซิ่วที่มีคะแนน PAT ของปีเก่า ไม่สามารถยื่นคะแนนเดิมได้แล้ว ต้องใช้คะแนน TGAT/TPAT ใหม่ ซึ่งคะแนนจะมีอายุเพียง 1 ปี TGAT จะมี 3 พาร์ทด้วยกัน คือ พาร์ท TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ คือ ข้อสอบเน้นการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก (ไม่มีสอบพูดตัวต่อตัว ใช้วิธีสอบแบบกระดาษ/คอมพิวเตอร์ทั้งหมด) รวมทั้งหมด 60 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ทักษะการพูด 30 ข้อ
การถาม–ตอบ (Question-Response) 10 ข้อ
เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) 10 ข้อ
เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) 10 ข้อทักษะการอ่าน 30 ข้อ
เติมข้อความให้สมบูรณ์ (Text completion) 15 ข้อ
อ่านจับใจความ (Reading comprehension) 15 ข้อ
พาร์ท TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล
คือ ข้อสอบที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เน้นความเข้าใจ โดยข้อสอบเป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก รวมทั้งหมด 80 ข้อ ใช้เวลาสอบ 90 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- ความสามารถทางภาษา (ภาษาไทย) 20 ข้อ
- ความสามารถทางตัวเลข (คณิตศาสตร์) 20 ข้อ
- ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) 20 ข้อ
- ความสามารถทางเหตุผล (ภาษาไทย + คณิตศาสตร์) 20 ข้อ
พาร์ท TGAT3 สมรรถนะการทำงาน
คือ ข้อสอบวัดทัศนคติ โดยการตอบคำถาม มีทั้งแบบเลือกตอบ 1 คำตอบ และ เลือกตอบแบบหลายคำตอบ ซึ่งทุกคำตอบจะมีคะแนนตั้งแต่ 0-1 คะแนน (บางคำตอบเป็น 0.25 หรือ 0.50) โดยข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก รวมทั้งหมด 60 ข้อ ใช้เวลาสอบ 90 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ
- การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ
- การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ
- การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ
TPAT จะมี พาร์ทด้วยกัน คือ
TPAT 1 ความถนัดเฉพาะ กสพท
TPAT 1 ความถนัดเฉพาะ กสพท คือ ข้อสอบสำหรับน้องๆ ที่จะสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในกลุ่ม กสพท
TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์
TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ คือ ข้อสอบสำหรับน้องๆ ที่จะสอบเข้าคณะสายศิลปกรรมศาสตร์ มีทั้งหมด 150 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 พาร์ท (สามารถเลือกสอบได้) คือ TPAT21 ทัศนศิลป์, TPAT22 ดนตรี, TPAT23 นาฏศิลป์ แต่บางมหาลัยฯ เลือกใช้ข้อสอบที่ทางมหาลัยฯ ออกเอง
โครงสร้างข้อสอบ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์
TPAT1 ทัศนศิลป์
พื้นฐานทางทัศนศิลป์ 30 ข้อ
ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน 20 ข้อTPAT2 ดนตรี
องค์ประกอบดนตรี 25 ข้อ
บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี 25 ข้อTPAT3 นาฏศิลป์
พื้นฐานการใช้ร่างกานด้านนาฏศิลป์ 10 ข้อ
การสื่อสารด้วยท่าทาง 15 ข้อ
หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์ 15 ข้อ
ปฏิภาณไหวพริบสำหรับผู้แสดงนาฏศิลป์ 10 ข้อ
TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ คือ ข้อสอบ ที่ต้องการยื่นสมัครเข้าคณะสายวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ มีทั้งหมด 70 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย 2 พาร์ท คือ การทดสอบความถนัด และ การทดสอบความคิดและความสนใจ
โครงสร้างข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
- การทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 45 ข้อ
- การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 25 ข้อ
TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม คือ ข้อสอบที่จะสอบเข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีทั้งหมด 40 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง แบ่งเนื้อหาของข้อสอบออกเป็น 4 หมวด
โครงสร้างข้อสอบ TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
- ความรู้ทั่วไปด้านศิลปะและการออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน 12 ข้อ
- ความรู้ทั่วไปด้านทฤษฎีสีและทฤษฎีด้านความงามทางศิลปะและงานสถาปัตยกรรม 8 ข้อ
- ความรู้พื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม และงานระบบพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม 12 ข้อ
- การรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง 8 ข้อ
TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์
TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ คือ ข้อสอบที่ต้องการยื่นสมัครเข้าคณะครูต่างๆ มีทั้งหมด 100 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย 2 พาร์ท คือ ความสามารถพื้นฐานทางวิชาชีพครู และ คุณลักษณะความเป็นครู
โครงสร้างข้อสอบ TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์
- ความสามารถพื้นฐานทางวิชาชีพครู 50 ข้อ
- คุณลักษณะความเป็นครู 50 ข้อ*ข้อสอบ TGAT/TPAT 2 - 5 ทุกวิชามีการจะสอบทั้งรูปแบบกระดาษ และรูปแบบคอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบคอมพิวเตอร์ จะประกาศผล สอบ หลังจากสอบเสร็จทุกวิชาประมาณ 1 สัปดาห์ : ตัวอย่างข้องสอบปีที่เเล้ว คลิก เดือนตุลาคม 2566 - เดือนมกราคม 2567
สอบ A-Level เป็นหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของอังกฤษโดยมักจะได้เรียนและสอบในช่วง Year 12 – 13 หรือช่วงอายุ 16 – 19 ปี ซึ่งการเรียนหลักสูตร GCE A Level นี้ เป็นเหมือนกับการเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่มหาวิทยาลัย GCE A Level แบ่งออกเป็น 2 ส่วน A Level แบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีวิชาสอบให้เลือกมากกว่า 50 วิชา แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มได้แก่ การสอบ A level มีทั้งหมดประมาณ 66 วิชา โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มวิชา ได้แก่
- กลุ่มวิชาภาษา (Language)
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities & Social Science)
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (Science)
- กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
- กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ (Creative, Technical and Vocational) GCE A Level หรือ General Certificate of Education (GCE) Advanced Level เป็นหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของอังกฤษโดยมักจะได้เรียนและสอบในช่วง Year 12 – 13 หรือช่วงอายุ 16 – 19 ปี ซึ่งการเรียนหลักสูตร GCE A Level นี้ เป็นเหมือนกับการเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่มหาวิทยาลัย GCE A Level แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ AS Levels (Advance Subsidiary Levels) จะเป็นช่วงปีแรก คือ Year 12 (เทียบเท่า ม.5) ส่วนใหญ่จะเรียนในระดับ Year 12 โดยปกติแล้วทางโรงเรียนจะให้นักเรียนเลือกสอบประมาณ 4 วิชา เกรดสูงสุดที่จะได้คือ A ไล่ระดับลงไปจนถึงเกรด E และเมื่อสอบผ่านในแต่ละวิชา จะได้วิชาละ 1 เครดิต (Credit) การสอบผ่านเพียงระดับ AS Levels จะถือว่าจบแค่ครึ่งหนึ่งของหลักสูตร GCE A Level เท่านั้น A Level (Advance Levels) จะเป็นการเรียนในช่วง Year 13 โดยทั่วไปมักเรียนในระดับ Year 13 เนื้อหาที่ออกสอบจะมีความยากกว่า AS Level ซึ่งการเรียนในระดับนี้โดยส่วนใหญ่แล้วนักเรียนจะเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่จำเป็นต้องใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัยเพียง 3 วิชา จาก 4 วิชา ที่น้องได้สอบผ่านมาแล้วในระดับ AS Level ส่วนระดับเกรดของ A Level เกรดสูงสุดที่จะได้เลยคือ A* ไล่ระดับลงไปจนถึงเกรด E และเมื่อสอบผ่านในแต่ละวิชา จะได้วิชาละ 2 เครดิต (Credit) ค่ะ *ปีนี้ข้อสอบ A-Level จะมีการจัดสอบทั้งรูปแบบกระดาษ และรูปแบบคอมพิวเตอร์ แต่รูปแบบคอมพิวเตอร์จะจัดสอบใน 9 รายวิชาเท่านั้น คือ คณิตศาสตร์ประยุกต์2, วิทยาศาสตร์ประยุกต์, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเกาหลี, ภาษาจีน, ภาษาบาลี และภาษาสเปน โดยจะประกาศผลสอบ หลังจากสอบเสร็จทุกวิชาประมาณ 5 วัน : ตัวอย่างข้อสอบปีที่เเล้ว คลิก เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน 2567
ความเห็น 0