โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นิสิต วิศวฯ จุฬาฯ โชว์ นวัตกรรม AI จับผิดท่านั่ง กันปวดกล้ามเนื้อต้นเหตุออฟฟิศซินโดรม

Manager Online

เผยแพร่ 13 ก.ย 2566 เวลา 13.51 น. • MGR Online

จากปัญหาการใช้ชีวิต ของหนุ่มสาววัยทำงาน โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ที่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังได้

ด้วยเหตุนี้ นิสิตทีม Midnightdev Extended จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้คิดค้นนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตรวจจับการนั่งผิดท่า ป้องกันต้นเหตุการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

นายธนกฤษ สายพันธ์ ตัวแทนกลุ่มนิสิตทีม Midnightdev Extended ผู้คิดค้นนวัตกรรม เปิดเผยว่า การทำงานของนวัตกรรมนี้ เป็นแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งอยู่หน้าเดสก์ท็อปของคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เปิดใช้งาน แอพพลิเคชั่นก็จะคอยตรวจจับการนั่งของผู้ใช้ผ่านกล้อง เพื่อดูลักษณะการนั่งของผู้ใช้ว่านั่งถูกท่าหรือไม่ เพื่อเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนการปรับท่านั่ง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ในการพาทำกายบริหาร ซึ่งถ้าหากทำครบก็จะสามารถรับรางวัล และนำไปแลกเป็นส่วนลดสำหรับสินค้าและบริการต่างๆ ที่ร่วมกับทางแอพฯ อีกด้วย โดยการทำงานของ เอไอตรวจจับการนั่งผิดท่า ทีมผู้คิดค้นได้นำข้อมูล เกี่ยวกับองศาการนั่งที่ถูกต้อง ตามหลักกายภาพ จากข้อมูลทางการแพทย์มาป้อนข้อมูลเข้าระบบ ซึ่งหากผู้ใช้นั่งผิดท่า ที่ส่งผลให้ปวดหลัง ก็จะมีการแต้งเตือนทันที ผลงานนี้จึงเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม ทำให้ช่วยป้องการปวดหลังได้

ผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ทางทีมนิสิตผู้คิดค้นใช้ชื่อว่า Offix ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันคอยตรวจจับการนั่งผิดท่า และทำกายบริหารเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้จริง จนโดนใจคณะกรรมการคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Digital Youth Network Thailand ภายใต้งาน HACKA THAILAND 2023 จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

โดยมีสมาชิกในทีมนิสิตจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย นายธนกฤษ สายพันธ์, นายศุภโชค บุตรดีขันธ์, นายนนทพรรษ วงษ์กัณหา, นายรัชชานนท์ มุขแก้ว, นายเทพบดินทร์ ใจอินสม และนายทัศน์พล สวัสดี

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0