โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ทำไมเราถึงโดนหลอกแชร์ลูกโซ่..ซ้ำแล้วซ้ำอีก

ทันข่าว Today

อัพเดต 19 มิ.ย. 2563 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2563 เวลา 00.00 น. • ทันข่าว Channel

Highlight

คนไทยเราโดนแชร์ลูกโซ่หลอกกันง่ายๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก โดนมานาน หลายสิบปีแล้ว
หลากหลายชื่อ หลากหลายโมเดล …แต่สุดท้าย คือ แชร์ลูกโซ่ ที่คุ้นเคยนั้นแล

แต่สงสัยกันไหมว่าทำไม ถึงโดนหลอก กันบ่อยจัง เจ็บแล้ว เจ็บอีก?
คุณเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มักตั้งคำถาม 2 ข้อนี้ หรือเปล่า?

1. ผลตอบแทนเท่าไหร่? (อยากได้ผลตอบแทนสูงมากๆๆๆ)
2. การันตีเงินต้นต้องอยู่ครบใช่ไหม? (กลัวเงินต้นหาย)

พร้อมปิดท้ายคำตอบว่า อยากลงทุนนะ แต่ “ขอไม่เสี่ยง และ ขอผลตอบแทนเยอะๆ”

ถ้าใครที่ถือเงินสดพร้อมกับความคิดแบบนี้
คุณ คือ เหยื่อชั้นดี ของแชร์ลูกโซ่

นอกจากเรื่อง สติ แล้ว การรู้เท่าทันเรื่องการเงิน รู้จักคำว่า Risk (ความเสี่ยง) Return (ผลตอบแทน) นั้นเป็นสิ่งที่ต้องนึกถึง ก่อนกำเงินไปร่วมลงทุนกับใคร

แล้วถ้าอย่างนั้น จะสังเกตจากอะไร ว่าเราอาจโดนชวนเข้าโมเดลแชร์ลูกโซ่ เข้าแล้ว

6 ข้อสังเกต นี่คือแชร์ลูกโซ่
1. ระดมทุนไม่อั้น
2. การันตีผลตอบแทนสูงมาก
3. ตรวจสอบข้อมูลการเงินไม่ได้
4. เชียร์ให้รีบตัดสินใจลงทุน
5. จัดอบรมสัมมนาใหญ่โต
6. อ้างว่ามีบุคคลที่มีชื่อเสียงร่วมลงทุนด้วย

กลายเหยื่อแชร์ลูกโซ่แล้ว ทําอะไรได้บ้าง?

ข้อแนะนำจาก “กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI “แนะนำว่า

1. เก็บรวบรวมหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไว้ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือสัญญา หลักฐานการโอนเงิน เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่สํานักงาน หรือรูปถ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. รีบเข้าแจ้งความร้องทุกข์ เพื่อดําเนินคดีเอาผิดตามกฎหมาย โดยสามารถเข้าแจ้งความร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสที่น่าสงสัยได้ที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หรือโทร. 1202

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้แอปพลิเคชั่นบนมือถือของดีเอสไอที่ ชื่อว่า “DSI (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)” ทั้งระบบ Android และ iOS เพื่อใช้ในการร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส ได้อีกทาง

ถ้าไม่มั่นใจว่าธุรกิจไหนมีความเสี่ยง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานเหล่านี้

  • สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โทร. 1166
  • กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โทร. 1202
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 1570
  • สํานักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 1207
  • ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213

Credit ข้อมูล
รู้ทัน แชร์ลูกโซ่ ไม่ตกเป็นเหยื่อ (http://songpeuy.go.th/public/news_upload/backend/files_143_1.pdf)
ถูกแชร์ลูกโซ่หลอก จะทำอย่างไร (https://www.dsi.go.th/th/Detail/ถูกแชร์ลูกโซ่หลอก-จะทำอย่างไร)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0