โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ดูดวง

อยากรู้ต้องอ่าน! ยามอุบากอง ฤกษ์งามยามดี กับความศักดิ์สิทธิที่มีมาเป็น ๑๐๐ ปี

TOJO NEWS

อัพเดต 11 เม.ย. 2565 เวลา 21.01 น. • เผยแพร่ 12 เม.ย. 2565 เวลา 03.00 น. • Admin TOJO_YS

โดย อ่าย ณัฏฐา

“ฤกษ์งามยามดี” คำคุ้นเคยที่เราได้ยินอยู่เป็นประจำ ที่ผู้ใหญ่จะคอยบอกเราเสมอว่าให้ดูฤกษ์ยามก่อนตัดสินใจหรือเริ่มคิดทำอะไร ทั้งนี้เป็นเพราะคนโบราณถือเรื่องจังหวะในการเริ่มทำสิ่งต่างๆ เป็นอย่างมากนั่นเองค่ะ หากเราเริ่มทำสิ่งใหม่ด้วยฤกษ์ที่ดีแล้วนั้นก็เชื่อว่าจะส่งผลให้สิ่งที่เราเริ่มทำนั้น ประสบความสำเร็จอย่างใจหวัง ในทางกลับกันหากฤกษ์ยามนั้นเป็นช่วงเวลาที่ไม่ดี ก็อาจส่งผลให้ความตั้งใจทั้งหลายของเรานั้นไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นได้ค่ะ การดูฤกษ์ยามจึงถูกผูกเข้ากับกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงาน การเริ่มกิจการ หรือการเริ่มต้นทำงาน จากตำราที่ถูกอ้างถึงตั้งแต่สมัยโบราณมีการพูดถึงฤกษ์ยามเหล่านี้ เราไปดูกันค่ะว่าฤกษ์ยามไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร

ยามอุบากอง

ฤกษ์ยามที่คนไทยสมัยก่อนใช้เพื่อตรวจดูฤกษ์ยามก่อนออกเดินทางเพื่อไปทำสิ่งต่างๆ โดยยามอุบากองนี้จะมีทั้งฤกษ์ยามที่เป็นเวลาที่ดี และฤกษ์ยามที่ไม่ควรเริ่มกระทำสิ่งใด ดังคำกล่าวที่ว่า

“ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา

ศูนย์สองเร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี

ปลอดศูนย์พูนสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี

กากบาทตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา

สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา

มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย”

โดยความหมายของคำกล่าวข้างต้น จะถูกแปลได้ดังนี้

ศูนย์หนึ่งตัว หมายถึง อย่าพึ่งออกเดินทางจะเกิดอันตรายและทำสิ่งใดก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

ศูนย์สองตัว หมายถึง ฤกษ์ที่ดีให้รีบออกเดินทาง และจะมีโชคลาภจากการเดินทางครั้งนี้

ไม่มีศูนย์ หมายถึง ฤกษ์ปกติไม่มีโชคแต่ก็ไร้เคราะ จึงสามารถใช้ออกเดินทางได้

กากบาท หมายถึง ฤกษ์อัปมงคลและเชื่อว่าห้ามออกเดินทางโดยเด็ดขาดมิฉะนั้นอาจเกิดเรื่องไม่ดีได้

ศูนย์สี่ตัว หมายถึง ฤกษ์งามยามดีให้เริ่มทำสิ่งนั้นได้หรือเริ่มออกเดินทางได้จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

*ศูนย์ หมายถึงเครื่องหมาย • ในตาราง

โดยการกำหนดความหมายของ “ศูนย์” ในจำนวนต่างๆ จะเป็นดังที่แสดงในตารางที่จะแบ่งออกเป็นช่วงเวลา ออกเป็น 5 ช่วง คือ เช้า-สาย-เที่ยง-บ่าย-เย็น โดยแบ่งออกเป็นตามวันในหนึ่งอาทิตย์ของเราอีกด้วยค่ะ

ตามความเชื่อแล้วนั้นก่อนทำกิจกรรมใดใด หรือก่อนออกเดินทางคนโบราณจะมาตรวจสอบความเป็นมงคล และความเป็นอัปมงคลตามฤกษ์ยามที่ระบุเอาไว้

ปัจจุบันยามอุบากองไม่ได้ใช้เป็นเพียงแค่ฤกษ์ยามในการออกเดินทางดั่งเช่นในอดีตเท่านั้น หากยังถูกประยุคเข้าไปกับฤกษ์ยามของการซื้อรถ ออกรถ หรือเริ่มใช้รถวันแรก ทั้งนี้เพราะวันเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเดินทางด้วยเช่นเดียวกันค่ะ ใครที่กำลังจะมีแผนอยากซื้อรถใหม่หรือกำลังจะได้รถใหม่ อย่าลืมมาเช็ควันออกรถกับตารางของเราเพื่อความเป็นสิริมงคลนะคะ


อ่านบทความอื่น ๆ

Pick A Card : เช็คความสัมพันธ์ที่มี ยังดีอยู่มั้ยนะ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น