โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เมื่อแฟชั่นเฟื่องฟู มนุษย์เปิดประตูสู่การทรมานสัตว์

WWF-Thailand

เผยแพร่ 05 ก.ย 2562 เวลา 17.01 น.

จากความจำเป็นที่ต้อง "ล่า" เพื่อความอยู่รอด มนุษย์ผ่านวิวัฒนาการตามเวลา และความก้าวหน้ามาสู่ยุคที่ต้องล่า เพื่อความมั่งคั่ง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของสมดุลย์ที่ธรรมชาติสูญเสียไป

ยุโรปตอนบนคือพื้นที่แห่งความหนาวเหน็บ การประคองชีวิตฝ่าความหนาวสุดขั้วด้วยการใช้ขนสัตว์จำพวก มิงค์ วีเซิล ชินชิลล่า เซเบิล จิ้นจอก บีเวอร์ ไปจนถึงหมีขั้วโลก เป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันบนวิถีแห่งความพอดีมานานหลายศตวรรษ

ความเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 11 ขนของตัวมิ้ง ชินชิลล่า และเซเบิล ได้ถูกนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อโค้ต ผ้าคลุม และเครื่องประดับเพื่อแสดงฐานะทางสังคม โดยเฉพาะในสังคมชนชั้นสูง อีกทั้งในบางพื้นที่ ขนสัตว์ยังเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อกลายในการต้านภัยร้ายให้กับมนุษย์

ความนิยมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้ในช่วงศตวรรษที่ 14-16 ขนสัตว์หรือขนเฟอร์มีราคาสูงมาก เราอาจต้องใช้ไก่มากถึง 6,000 ตัว หรือข้าวสาลีกกว่า 1,200 ปอนด์ เพียงเพื่อที่จะซื้อเสื้อโค้ชขนสัตว์เพียงแค่ตัวเดียว

และนั่นคือที่มาของอุตสาหกรรมแห่งการทรมานสัตว์ มีการฆ่ากระทิงเพื่อใช้หนัง จนกระทิงแทบจะสูญพันธุ์ไปจากยุโรป หลายประเทศจึงเริ่มต้นจำกัดจำนวนการล่า และบางประเทศเริ่มมีบัญญัติการจำกัดการใช้ขนสัตว์เฉพาะในบางชนชั้น

ฟาร์มขนสัตว์ในช่วงปี ค.ศ.1870 เป็นผลิตผลของสายโซ่แห่งความต้องการซื้อที่มีมาอย่างยาวนาน เมื่อปี ค.ศ. å1950 ขนสัตว์ก็ได้กลายมาเป็นสินค้าที่จับต้องได้มากขึ้น เรามักจะได้เห็นภาพยนตร์ที่มีนักแสดงที่สวมใส่ขนสัตว์สุดหรู และเมื่อมีสัตว์ในฟาร์มมากพอต่อการทำขนมาใช้ ราคาในท้องตลาดที่ลดลง ก็ทำให้ขนสัตว์กลายเป็นสินค้าที่คนทั่วไปมีโอกาสได้สัมผัส

ช่วงปี 1970 - 1980 ก็ได้เกิดการรณรงค์เพื่อการพิทักษ์สัตว์จากความโหดร้ายภายในฟาร์มขนสัตว์ จวบจนมาถึงปัจจุบันที่หลากหลายกลุ่มทั่วโลกเองก็เริ่มต้นตื่นตัวต่อการต่อต้านอุตสาหกรรมอันแสนโหดร้าย

ในปี ค.ศ. 2002 สหราชอาณาจักรก็ได้ผ่านร่างกฏหมายให้ฟาร์มขนสัตว์กลายเป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศ แต่อุตสาหกรรมดังกล่าวก็ยังคงดำเนินต่อไปเช่น ในรัสเซีย ที่มีฟาร์มผลิตขนสัตว์กว่า 70 แห่ง ประเทศจีนที่ผู้คนยังคงนิยมความหรูหราของขนสัตว์ รวมถึงในสหรัฐอเมริกาที่ยังมีฟาร์มขนสัตว์เหลืออยู่ราว 200 แห่ง โดยข้อมูลในปี 2014 ระบุว่า ตัวมิงค์กว่า 3.76 ล้านตัวได้ถูกฆ่าและถลกหนังจากฟาร์มในสหรัฐอเมริกา และความจริงอันน่าโหดร้ายคือในการผลิตเสื้อโค้ตหนึ่งตัว จะต้องสังเวยชีวิตของมิงค์ถึง 40 ตัว

มีความเคลื่อนไหวจากรัฐบาลในหลายประเทศ เพื่อต่อต้านอุตสาหกรรมขนสัตว์เรื่อย ๆ เช่นในนอร์เวย์ ที่เคยเป็นผู้ผลิตขนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยฟาร์มขนสัตว์กว่า 20,000 แห่งในช่วงสงครามโลก ก็ได้ตัดสินใจผลักดันการปิดฟาร์มจิ้งจอกและมิงค์ ตามข้อตกลงว่าด้วยการต่อต้านการใช้ขนสัตว์ ภายในปีค.ศ. 2025

ขณะที่เทศบาลเมืองลอสแอนเจลิส ได้ลงมติเอกฉันท์เพื่อทำการหยุดสนับสนุนการขายเครื่องแต่งกายประดับขนสัตว์ และได้ลงมือร่างกฎหมายเพื่อห้ามการใช้ขนสุนัขจิ้งจอก มิงค์ เซเบิล และชินชิลล่า ส่วนประเทศเดนมาร์ค ออสเตรีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย และโคเอเชีย เองก็ได้เริ่มต้นมาตราการยุติการใช้ขนสัตว์แล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ประเทศในทวีปยุโรปอย่างยูเครน ไอร์แลนด์ โปแลนด์ เอสโตเนีย ลิทัวเนีย เยอรมนี สาธารณรัฐเชค และเบลเยี่ยม มีการผลักดันกฎหมายว่าด้วยเรื่องอุตสาหกรรมขนสัตว์ ขณะที่สเปน สวิสเซอร์แลนด์ และสวีเดนเองก็ไม่นิ่งนอนใจ โดยพร้อมผลักดันนโยบายที่รัดกุมมากขึ้นในอุตสาหกรรมขนสัตว์เช่นเดียวกัน รวมถึงประเทศญี่ปุ่นเองก็ได้ยุติธุรกิจฟาร์มขนสัตว์ตั้งแต่ปี 2016

ไม่ใช่แค่ในภาครัฐเท่านั้นที่กำลังตื่นตัวกับเรื่องราวความโหดร้ายของอุตสาหกรรมขนสัตว์ แบรนด์แฟชั่นและดีไซน์เนอร์ก็เริ่มต้นออกมาประกาศเลิกใช้ขนสัตว์ในธุรกิจของตน เช่น Burberry, Michael Kors, Gucci, Calvin Klein, Stella McCartney, Vivienne Westwood, Tommy Hilfiger, Coach, Jimmy Choo, Versace, DKNY, Giorgio Armani, Ralph Lauren, The Kooples, Hugo Boss, DVF, 3.1 Phillip Lim และ Prada

---‐-----------------------------

WWF ประเทศไทยเดินหน้าทำงานด้านการอนุรักษ์และรักษาสมดุลย์ของสภาพแวดล้อม รวมทั้งคงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพเราขอชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานอนุรักษ์ไปพร้อมกับเรา ด้วยการอุดหนุนโครงการ Chat2Change เปลี่ยนแชตเป็นช่วย พร้อมดาวโหลดสติ๊กเกอร์ชุดใหม่ล่าสุด Fur Journey ผลงานจาก Mindmelody World ที่บอกเล่าเรื่องราวของสัตว์น้อยเจ้าของขนเฟอร์อันอบอุ่น

โหลดสติ๊กเกอร์ได้แล้ววันนี้ที่

https://store.line.me/stickershop/product/8672584

#WWFThailand #TogetherPossible #Chat2Change

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0