โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ปัญหาหนักอก! วิกฤตขยะท่วมทะเล

WWF-Thailand

เผยแพร่ 13 ม.ค. 2563 เวลา 05.01 น.

.

.

เราเชื่อกันว่า ขยะพลาสติกที่ถือกำเนิดขึ้นจากประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ ทั้งจากออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเหนือในทุกวัน ถูกจัดเก็บ และนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี

.

.

แต่ส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ล่ะ?

.

ปลายทางของขยะพลาสติกที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายและทำลายได้ถูกส่งต่ออย่างลับๆ ออกมายังประเทศเพื่อนบ้าน โลกที่สอง โลกที่สามที่อยู่ห่างไกล และเอเชีย คือจุดหมายปลายทางนั้น!

.

.

ภาพของตู้คอนเทนเนอร์ที่เต็มไปด้วยก้อนขยะบรรจุไว้ภายในจนเต็มกว่า 9 ล้านตันต่อปีที่ถูกขนมาทิ้งในอินโดนิเซีย เป็นภาพคุ้นตาที่กำลังเปลี่ยนวิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อมของหมู่เกาะที่ได้ชื่อว่าคงสภาพความสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ้งของโลกไปตลอดกาล

.

.

ชาวอินโดนิเซียบางส่วนเข้ามาประกอบธุรกิจกับเศษซากขยะพลาสติกเหล่านี้ ที่บางส่วนถูกนำเข้าไปเข้ากระบวนการนำออกมาใช้ใหม่ในโรงงานพลาสติก ส่วนขยะพลาสติกที่ไม่ได้คุณภาพก็อาจนำไปหลอมละลายและใช้เป็นพลังงานในภาคอุตสาหกรรม ดูเหมือนจะเป็นการรีไซเคิลที่น่าจะมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่หลายคนมองไม่เห็นนั้นคือต้นทุนแฝง ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนพลังงาน การใช้เชื้อเพลิง และสภาวะมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเก็บกำจัดเหล่านี้

.

.

ปัจจุบัน อินโดนิเซียเป็นถังขยะใบยักษ์ของโลกที่รับทิ้งขยะพลาสติกที่ไม่มีใครต้องการ หลังจากที่จีนปิดประตู ยกเลิกการนำเข้าขยะพลาสติกเป็นการถาวรตั้งแต่ปี ค.ศ.2018 ที่ผ่านมา ปริมาณการนำเข้าขยะพลาสติกจากยุโรป ออสเตรเลียและอเมริกาเหนือมายังประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว มาอยู่ที่กว่า 320,000 ตัน

.

.

นักวิจัยจาก เครือข่ายการกำจัดมลพิษนานาชาติ ระบุว่ามีการตรวจพบสารเคมีที่เป็นอันตรายปนเปื้อนมาถึงวงจรห่วงโซ่อาหาร ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือถูกทำลาย ในขณะเดียวกัน ที่หมู่เกาะชวาตะวันออก หมู่บ้านโทรโปโก มีรายงานว่าโรงงานกำจัดขยะพลาสติกมีการเผาทำลายสร้างฝุ่นควันดำปกคลุมไปทั่วเมืองตลอดเวลา นักวิจัยลงพื้นที่สำรวจสินค้าอุปโภคและบริโภค พบว่ากระทั่งไข่ไก่นั้นยังมีการปนเปื้อนของสารพิษ โดยปริมาณค่าความเป็นพิษนั้นสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ในเอเชีย ซึ่งมากกว่าค่ามาตรฐานที่หน่วยงานด้านอาหารปลอดภัยของยุโรปกำหนดไว้ถึง 70 เท่า

.

.

อินโดนิเซียกำลังเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษครั้งใหญ่ ธนาคารโลกถึงกับระบุว่า 1 ใน 5 ของพลาสติกที่บริโภคกันอยู่ในประเทศนั้นมีปลายทางอยู่ที่แม่น้ำ และพื้นที่ชายฝั่ง! แม้รัฐบาลจะพยายามผลักดันให้ขยะเดินทางไปที่อื่นที่ไม่ใช่อินโดนิเซีย แต่ปัญหาก็ไม่ได้คลี่คลายลง เพราะขยะเหล่านี้ก็จะเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม หรือกระทั่งไทย!!

.

.

จากการเก็บสถิติทั่วโลก พบว่าขยะพลาสติกเพียง 9% จากปริมาณทั้งสิ้น 9000 ล้านตันี่ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมาได้รับการรีไซเคิล ในขณะที่พลาสติกีก 13 ล้านตันรั่วไหลลงสู่ท้องทะเลทุกปี สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและกำลังทำลายระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างหนักจนประเมินมูลค่าความเสียหายไม่ได้

.

.

ตัวเลขที่น่ากลัวที่สุด คือการคาดการณ์จำนวนพลาสติกที่จะถูกผลิตออกมาในปี ค.ศ.2050 ที่กว่า 26,000 ล้านตัน เพื่อสนองความสะดวกสบายของผู้บริโภค ภาพของขยะใต้ทะเล และไมโครพลาสติกในร่างกายมนุษย์คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

.

.

ปีใหม่นี้ มาช่วยกันลด ละ เลิก การใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพื่อโลกของเรากันนะคะ

#WWFThailand

#TogetherPossible

#NoPlasticInNature

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0